กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

หน้าฝนนี้ต้องระวัง! 5 โรคติดต่อยอดฮิต ที่มาพร้อมกับหน้าฝน

ถ้าไม่อยากเป็นเหยื่อของเชื้อโรคที่มาพร้อมกับฤดูฝน ต้องรีบอ่าน
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 24 ต.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หน้าฝนนี้ต้องระวัง! 5 โรคติดต่อยอดฮิต ที่มาพร้อมกับหน้าฝน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฤดูฝนเป็นสภาพอากาศที่เหมาะต่อการแพร่กระจายเชื้อโรคมากกว่าฤดูอื่นๆ โดยเฉพาะโรคติดต่อต่างๆ 
  • กลุ่มโรคที่ติดต่อที่มากับหน้าฝน ได้แก่กลุ่มติดต่อทางเดินอาหารต่างๆ ระบบทางเดินหายใจ โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ โรคผิวหนัง และตาแดง
  • แต่โรคติดต่อที่พบบ่อยได้แก่โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก ซึ่งมีอาการไข้เหมือนกัน ไข้หวัดใหญ่มีวัคซีนป้องกันแล้ว แต่ไข้เลือดออกยังไม่มียาที่เฉพาะเจาะจง
  • วิธีป้องกันที่ดีคือรักษาความสะอาดให้ดี หมั่นดูแลแหล้งน่ำในบ้านไม่ให้มีน้ำขัง จะได้ไม่มียุงวางไข่ และฉีดวัคซีนตามโรคเสี่ยงตามแพทย์แนะนำ
  • ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ที่นี่

เมื่อฤดูร้อนอันสุดแสนทรมานผ่านพ้นไปก็ย่างเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ สภาพอากาศที่เย็นลงและความชื้นที่เพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงทำให้เรารู้สึกสบายตัวขึ้นเท่านั้น แต่ยังเหมาะสมต่อ "การเจริญเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเชื้อโรคหลายชนิด"  

นั่นจึงไม่แปลกเลยที่ในฤดูฝนเรามักจะเห็นผู้คนเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติ และมีโรคติดต่อที่มากับหน้าฝนมากมาย บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักกลุ่มโรคสำคัญที่มักจะมากับหน้าฝน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เรื่องสำคัญที่ควรรู้เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวคุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากโรคที่มากับหน้าฝน  

5 กลุ่มโรคติดต่อที่มากับหน้าฝน 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประกาศเตือน 5 กลุ่มโรคติดต่อที่มักเกิดขึ้นในหน้าฝน ได้แก่ 

  1. กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน  อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ บิด  เชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ และบี
  2. กลุ่มโรคติดต่อขอบระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ หวัด หลอดลมอักเสบ  ปอดอักเสบ  
  3. กลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจากยุง ได้แก่ ไข้เลือดออก  ไข้สมองอักเสบเจอี  โรคมาลาเรีย
  4. กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง ได้แก่ โรคไข้ฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิส 
  5. กลุ่มโรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง 

5 โรคติดต่อ โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน  

1. โรคไข้หวัดใหญ่

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เกิดจากเชื้อไข้หวัดชนิดเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากไวรัสชนิดเดิมมาก ที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า "สายพันธุ์ A สายพันธุ์ B" 

เชื้อกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนไปนี้เองที่ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกันจึงเกิดการระบาดได้ง่าย และบางส่วนก็มีอาการรุนแรง เช่น 

นอกจากรักษาตามอาการแล้วผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสด้วย เพราะหากอาการรุนแรงมาก มีภาวะแทรกซ้อนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

อย่างไรก็ดี  วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะผู้ที่อยุู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือน- 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคปอด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็ง ธาลัสซีเมีย ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และโรคอ้วน  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2. โรคไข้เลือดออก

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อที่มียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรค ไข้เลือดออกเกิดจาก "เชื้อไวรัสเดงกี่" ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ (DENV-1 / DENV-2 / DENV-3 / DENV-4) 

ในช่วงหน้าฝนจะมียุงลายเติบโตเป็นจำนวนมากจึงส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมักแพร่ระบาดในช่วงหน้าฝนมากที่สุด ผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น 

ดังนั้นหากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปก็ย่อมมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกได้อีก ที่สำคัญการติดเชื้อครั้งที่สองมักรุนแรงกว่าครั้งแรก บางรายหากมีอาการรุนแรงมากอาจเกิดภาวะไหลเวียนเลือดล้มเหลว หรือช๊อก ระดับความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และมีโอกาสเสียชีวิตได้  

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวัสสำหรับโรคไข้เลือดออกโดยเฉพาะ  เป็นการรักษาตามอาการและรักษาแบบประคับประคองอาการ  วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก 

ด้วยการกำจัดแหล่งน้ำขังที่ต้องสงสัยว่า อาจเป้นแหล่งแพร่พันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้านให้หมด และอย่าลืมป้องกันยุงกัดด้วยการจุดยากันยุง หรือกางมุ้งนอน

3. โรคฉี่หนู  

อยู่ในกลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือเยื่อบุผิวหนัง  โรคฉี่หนู หรือแลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) จัดเป็นโรคที่ระบาดมากที่สุดในช่วงหน้าฝนเพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากทุกแห่งมารวมกันในจุดที่น้ำท่วมขังรวมถึงเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่าซึ่งมีชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำได้นานถึง 30 วัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เหตุที่เรียกว่า โรคฉี่หนู เนื่องจากเชื้อเลปโตสไปร่าอยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู 

นอกจากนี้ยังพบในหมู วัว ควาย สุนัข ด้วย ส่วนการติดต่อของโรค หากผู้มีบาดแผล หรือรอยขีดข่วนที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเปื่อยจากการแช่น้ำนานๆ ไปสัมผัสเชื้อนี้เข้าจะสามารถติดเชื้อนี้ได้ โดยอาจมีอาการดังนี้

  • ไข้สูงแบบทันทีทันใด 
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ  
  • คลื่นไส้อาเจียน  
  • ตาเหลือง 
  • ตัวเหลือง 
  • ระดับความดันโลหิตต่ำ   
  • ตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ 
  • บางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้   

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู หากมีบาดแผลที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ สัมผัสแหล่งน้ำที่ท่วมขัง โดยเฉพาะเกษตรกร หรืออาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำบ่อยๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น สวมรองเท้าบู๊ทยาง  ควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่สัมผัสน้ำท่วมขัง 

4. โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง

ติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นมือ แขน เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า หากสิ่งเหล่านี้ไปสัมผัสเชื้อไวร้สตามที่ต่างๆ หรือในน้ำสกปรก แล้วเผลอมาป้ายตาเข้า 

เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ดวงตาทันทีทำให้เกิดอาการเคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา น้ำตาไหล ตามมา และหากติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะทำให้มีขี้ตามากหลังตื่นนอน ทำให้แทบจะลืมตาไม่ขึ้น

วิธีป้องกันคือ หมั่นดูแลความสะอาดของร่างกาย ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัส หรือขยี้ตา หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าดวงตาควรล้างด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาล้างตา ไม่ใช้เสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ หรือว่ายน้ำในช่วงโรคตาแดงระบาด 

5. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

อยู่ในกลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร  เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือการใช้ภาชนะที่ไม่สะอาด หรือผู้ปรุงอาหารไม่รักษาความสะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝนที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนได้ง่าย 

ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนที่่ไหลลงมาจากชายคาร้านค้า น้ำที่ท่วมขังกระเด็นมาถูกอาหาร หรือภาชนะใส่อาหาร แม้แต่มือที่หยิบจับอาหารซึ่งอาจสัมผัสเชื้อโรคมาก่อน 

เชื้อโรคดังกล่าวก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่ลำไส้ทำให้มีอาการถ่ายเหลวกว่าปกติเกิน 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน อาการจะเกิดขึ้นเฉียบพลัน  อาจมีไข้ อาเจียน ปวดบิดในช่องท้อง

วิธีป้องกันคือ รักษาความสะอาดทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการปรุงอาหารและการรับประทานอาหาร เลือกซื้ออาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ใช้ภาชนะใส่อาหารที่สะอาด 

โรคระบาดทั้ง 5 โรคที่กล่าวมานี้ เป็นโรคที่มากับหน้าฝนยอดฮิต แต่ละโรคมีการติดต่อ อาการ การดำเนินโรค ความรุนแรงของโรค การรักษา และการป้องกันที่แตกต่างกันไป บางโรคก็วัคซีนป้องกัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ แต่บางโรคก็ไม่มี 

วิธีที่ดีที่สุดคือ การดูแลความสะอาดของตนเองและคนที่รักให้ดี  รักษาสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่สุขลักษณะ  หมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองบ่อยๆ หากพบความผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย รักษาโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมโรคให้ถูกวิธีเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปยังผู้อื่น   

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diarrhea: 15 Common Causes and How To Treat It. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-diarrhea)
19 red eye causes and how to treat red eyes. All About Vision. (https://www.allaboutvision.com/conditions/red-eyes.htm)
Leptospirosis: Treatment, symptoms, and types. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/246829)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)