กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System

รู้จักการทำงานของระบบในร่างกายที่มีความซับซ้อน และมีความสำคัญต่อชีวิตผู้หญิงทุกคน
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงมีตำแหน่งอยู่บริเวณกระดูกเชิงกรานซึ่งอยู่ต่ำสุดของช่องท้อง มีหน้าที่หลักๆ คือ ผลิตไข่ เพื่อสืบพันธุ์ หล่อเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิ และคลอดทารก
  • กล้ามเนื้อภายในมดลูกถือว่า มีความแข็งแรง และยืดหยุ่นมากๆ เพื่อรองรับทารกที่เจริญเติบโตตามระยะเวลา อีกทั้งช่วยให้สามารถคลอดออกมาทางช่องคลอดได้ด้วย
  • การปฏิสนธิจะเกิดขึ้นเมื่อไข่ผสมกับตัวอสุจิจากเพศชาย หากไข่ไม่ได้มีการปฏิสนธิ ไข่ก็จะแห้ง และเนื้อเยื่อตามผนังมดลูกก็จะหลุดออกมากลายเป็นประจำเดือน
  • ฮอร์โมนสำคัญที่อยู่ในระบบสืบพันธ์เพศหญิงและยังเป็นปัจจัยที่ช่วยดูแลห่อหุ้มตัวทารกในครรภ์ ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
  • การดูแลระบบสืบพันธุ์ให้ทำงานอย่างปกติจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนมีบุตรและร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ดูแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน ฝากครรภ์ คลอดบุตรได้ที่นี่)

สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกนี้ต่างต้องสืบพันธุ์ เพื่อรักษาสายพันธุ์ของตนเองให้ดำรงอยู่ต่อไป ซึ่งระบบสืบพันธุ์ของร่างกายมนุษย์นั้นแตกต่างจากสัตว์ เพราะไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะการสืบพันธุ์เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่เท่านั้น

แต่ระบบสืบพันธุ์ยังเป็นหนึ่งในระบบสำคัญที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงและทำงานมีประสิทธิภาพด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระบวนการสืบพันธุ์ของมนุษย์เกิดจากส่วนประกอบ 2  ส่วนของเซลล์เพศ หรือเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งได้แก่ 

  • เซลล์สืบพันธุ์เพศชาย หรือตัวอสุจิ 
  • เซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง หรือไข่ 

กระบวนการสืบพันธุ์ของมนุษย์จะเกิดขึ้นในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง โดยไข่ซึ่งอยู่ในมดลูกของผู้หญิงจะต้องได้รับการปฏิสนธิโดยตัวอสุจิของเพศชายเพื่อให้เกิดตัวอ่อนและพัฒนาเป็นทารกต่อไป

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงคืออะไร

สิ่งมีชีวิตเกือบทั้งหมดจะมี 2 เพศ คือ เพศหญิงและเพศชาย แต่ละเพศจะมีลักษณะเฉพาะของระบบสืบพันธุ์ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งโครงสร้างและรูปร่าง สำหรับเพศหญิงนั้นจะมีระบบสืบพันธุ์อยู่บริเวณกระดูกเชิงกรานซึ่งเป็นส่วนต่ำสุดของช่องท้อง มีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้

  • ส่วนภายนอกของอวัยวะเพศเรียกว่า "แคมช่องคลอด"หรือ "ปากช่องคลอด" ซึ่งอยู่บริเวณระหว่างขา ทำหน้าที่ปิดและปกป้องช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ภายในอื่นๆ 
  • ส่วนเนินเนื้อบริเวณเหนือช่องคลอดขึ้นมา เรียกว่า "เนินหัวหน่าว" เป็นเนื้อที่มีลักษณะเป็นกลีบสองข้างใกล้กับปากช่องคลอด เรียกว่า "แคม" แบ่งเป็นแคมเล็ก และแคมใหญ่ 
  • ส่วน "คลิตอริส (Clitoris)" เป็นอวัยวะเล็กๆ ทำหน้าที่รับความรู้สึกจะอยู่บริเวณเหนือรูเปิดของท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ล้อมด้วยแคมเล็กสองข้าง เมื่อเนินหัวหน่าวและแคมเริ่มปกคลุมไปด้วยขน นั่นหมายความว่า เด็กสาวเข้าสู่วัยพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์แล้ว 

อวัยวะภายในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง   

อวัยวะสืบพันธุ์ภายในหลักๆ ของผู้หญิงจะประกอบไปด้วย

ทำความรู้จักช่องคลอด

ช่องคลอดเป็นช่องยาวๆ ลึกลงไปจากปากช่องคลอดที่เห็นอยู่ระหว่างขา เป็นช่องทางสำหรับการคลอดลูกและการมีเพศสัมพันธ์ เวลามีเพศสัมพันธ์ อวัยวะเพศชายจะสามารถเข้าถึงได้แค่เพียงส่วนนี้ ไม่สามารถเข้าไปสู่มดลูกได้

ทำความรู้จักปากมดลูก

ช่องคลอดจะเชื่อมต่อกันกับมดลูก หรือครรภ์ผ่านปากมดลูก ซึ่งปากมดลูกมีผนังที่หนาและแข็งแรงมาก โดยรูเปิดปากมดลูกจะมีขนาดเล็กมาก อาจเล็กกว่าความกว้างของหลอดดูดด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผ้าอนามัยแบบสอดจึงไม่สามารถหลุดเข้าไปในร่างกายของเราได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ในขณะคลอดลูกปากมดลูกยังสามารถขยายกว้างเพื่อให้ทารกผ่านออกมาได้

ทำความรู้จักมดลูก

มดลูกของหญิงสาวที่เติบโตโดยสมบูรณ์แล้วจะมีขนาดประมาณ 3-5 นิ้ว หรือ 8-12 เซนติเมตร มดลูกมีหน้าที่หลายอย่าง ทั้งช่วยให้อสุจิที่ผ่านเข้ามาจากอวัยวะเพศชายเข้าไปผสมกับไข่ได้ เป็นทางออกของทารกในขณะทำคลอด และเป็นทางออกของประจำเดือน

บริเวณปากช่องคลอดนั้นมีเยื่อบางๆ อยู่ เรียกว่า "เยื่อพรหมจารี" หรือ "เยื่อพรหมจรรย์" ซึ่งเยื่อนี้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละคน ผู้หญิงส่วนมากจะรู้สึกได้ว่า "เยื่อพรหมจรรย์" ของตนมีการฉีกขาดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และจะพบว่า มีเลือดออกมาและมีอาการเจ็บเล็กน้อย 

อย่างไรก็ตาม เยื่อพรหมจรรย์อาจฉีกขาดได้จากกิจกรรมการใช้ชีวืตอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายบางประเภท โดยไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์ก็ได้

ทำความรู้จักผนังมดลูก

มดลูกมีรูปร่างคล้ายกับลูกแพร์คว่ำ มีผนังที่เคลือบไปด้วยเนื้อเยื่อและเมือกหนา เราเรียกผนังนี้ว่า "ผนังมดลูก" เป็นผนังที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถขยายและหดได้ ส่งผลให้เมื่อตั้งครรภ์ มดลูกจะสามารถโอบอุ้มทารกไว้ได้อย่างปลอดภัย 

นอกจากนี้ผนังมดลูกยังสามารถบีบรัดให้สามารถคลอดทารกออกมาได้ และยังทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้มดลูกอยู่ตลอด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผนังมดลูกยังเป็นที่อยู่ของ “เยื่อบุโพรงมดลูก” ซึ่งจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก เมื่อไข่สุกหากมีการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่ ตัวอ่อนจะฝังตัวลงบริเวณนี้ แต่หากไม่มีการผสมกันระหว่างอสุจิและไข่ เยื่อมบุโพรงมดลูกก็จะสลายออกมาเป็น “ประจำเดือน” นั่นเอง

ทำความรู้จักท่อนำไข่และรังไข่

บริเวณมุมด้านบนของมดลูกทั้งสองข้างมีท่อเชื่อมต่อไปยังรังไข่ เรียกว่า "ท่อนำไข่" โดยรังไข่มีลักษณะเป็นรูปวงรี ทำหน้าที่ผลิต เก็บ และปล่อยไข่ออกมาผ่านท่อนำไข่ และเข้าสู่มดลูก เรียกกระบวนการนี้ว่า "การตกไข่

รังไข่ของหญิงสาวที่เติบโตสมบูรณ์แล้วจะมีขนาดประมาณ 1.5-2 นิ้ว หรือประมาณ 4-5 เซนติเมตร ส่วนท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างมีความยาวประมาณ 4 นิ้ว หรือ 10 เซนติเมตร มีความกว้างพอๆ กับเส้นสปาเก็ตตี้ ซึ่งขนาดของท่อจะกว้างพอที่จะให้เข็มสามารถลอดผ่านได้เท่านั้นเอง

ส่วนท้ายของท่อนำไข่มีพู่ลักษณะคล้ายกรวย พู่ดังกล่าวจะล้อมรอบรังไข่ไว้ แต่จะไม่ติดกับรังไข่ เมื่อมีไข่ 1 ฟองหลุดออกมาจากรังไข่ ไข่จะเดินทางผ่านท่อนำไข่ซึ่งภายในจะมีขนบางๆ ช่วยขับและดันไข่ไปยังมดลูกต่อไป

รังไข่ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อด้วย เนื่องจากทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงสำคัญอย่าง "ฮอร์โมนเอสโตรเจน" และ "ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน" 

การทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิงหน้าที่ดังต่อไปนี้

  • ทำหน้าที่ผลิตไข่
  • ทำหน้าที่เพื่อการสืบพันธุ์ (มีเพศสัมพันธ์)
  • ทำหน้าที่ปกป้อง และหล่อเลี้ยงไข่ที่ปฏิสนธิแล้วเพื่อให้สามารถพัฒนาต่อไปได้
  • ทำหน้าที่เพื่อคลอดทารก

การสืบพันธุ์จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีอวัยวะเพศที่เรียกว่า "อวัยวะสืบพันธุ์" แม้คนส่วนมากอาจเข้าใจว่า อวัยวะสืบพันธุ์นั้นหมายถึง "อัณฑะที่ผลิตอสุจิของผู้ชาย" เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ทั้ง 2 เพศต่างมีอวัยวะสืบพันธุ์ 

อวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง คือ "รังไข่" ที่สามารถผลิตไข่ได้ ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้ชายทำหน้าที่ผลิต "อสุจิ" และเมื่อไข่ได้รับการปฏิสนธิโดยอสุจิแล้วจะถูกเรียกว่า "ตัวอ่อน"

เมื่อเด็กทารกเพศหญิงคลอดออกมา รังไข่ในร่างกายของเด็กจะจัดเก็บไข่ไว้แล้วเป็นแสนๆ ฟอง แต่ไข่เหล่านี้จะยังไม่ทำงานจนกว่าเด็กจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อถึงเวลาดังกล่าว ต่อมใต้สมองที่อยู่ตรงส่วนกลางของสมองจะเริ่มสั่งให้มีการผลิตฮอร์โมนซึ่งกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศ

การมีประจำเดือน

ช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ร่างกายของผู้หญิงะเริ่มผลิตไข่เป็นประจำทุกเดือน และเรียกว่า "รอบเดือน" ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนละครั้ง โดยช่วงที่มีการตกไข่ รังไข่จะปล่อยไข่ 1 ฟองออกมาผ่านท่อนำไข่เพื่อรอให้มีการปฏิสนธิกับตัวอสุจิ 

หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิภายในท่อนำไข่ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ คุณไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ หรือมีเพศสัมพันธ์แล้วตัวอสุจิจากฝ่ายชายไม่สามารถผ่านเข้ามาผสมกับไข่ได้ ไข่ก็จะแห้ง และถูกขับออกจากร่างกายกลายเป็นประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากนั้น 

ประจำเดือนเกิดจากเลือดและเนื้อเยื่อที่เกาะอยู่ตามผนังมดลูกหลุดลอกออกมาเมื่อไข่ไม่มีการปฏิสนธิ ซึ่งรอบเดือนนั้นจะเกิดขึ้นประมาณ 3-5 วัน และเด็กผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกเรียกว่า "การเริ่มแรกมีระดู"

เป็นเรื่องปกติที่ก่อนมีประจำเดือนอาจทำให้สาวๆ รู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการทางจิตใจผิดแปลกไป อาการนี้ว่า "PMS" (Premenstrual Syndrome) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เช่น 

อาการ PMS จะเกิดขึ้นพีคสุดประมาณ 7 วันก่อนการมีประจำเดือน และเมื่อประจำดือนมาแล้วอาการดังกล่าวจะหายไป

ผู้หญิงหลายคนยังมีอาการปวดเกร็งท้องน้อยร่วมด้วยในช่วง 1-2 วันเรกของการมีประจำเดือน โดยมีสาเหตุมาจากสารเคมีที่เรียกว่า "โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)" อาการปวดจะมีลักษณะปวดตื้อๆ แน่นๆ หรือปวดแปลบ และอาจปวดรุนแรงได้

ทั้งนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปี นับจากการเริ่มแรกมีระดู กว่าที่ร่างกายจะเริ่มปรับให้รอบเดือนมาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอได้ ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับตัวกับฮอร์โมนที่เกิดขึ้นช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ 

โดยปกติแล้วในหญิงวัยผู้ใหญ่จะมีรอบเดือนทุกๆ 28 วัน อย่างไรก็ตาม รอบเดือนอาจปรับเปลี่ยนได้ระหว่าง 23-35 วัน ส่วนความยาวนานของการมีประจำเดือนในแต่ละครั้ง จะยาวนานประมาณ 3-7 วัน

การปฏิสนธิ และการตั้งครรภ์

หากชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่ฝ่ายหญิงอยู่ในช่วงไข่ตก โอกาสที่ไข่จะได้รับการปฏิสนธิจะสูงมาก เมื่อฝ่ายชายมีการหลั่งอสุจิ อสุจิจำนวนกว่า 75 – 900 ล้านตัวจะถูกปล่อยเข้าสู่ช่องคลอด และเดินทางอย่างรวดเร็วผ่านช่องคลอด ปากมดลูก และเข้าถึงมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับไข่

แต่จะมีเพียงอสุจิตัวเดียวเท่านั้นที่จะสามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ และหลังจากผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากอสุจิปฏิสนธิกับไข่แล้ว ไข่จะพัฒนากลายเป็นตัวอ่อนที่มีขนาดประมาณหัวเข็มหมุด มีลักษณะเป็นเซลล์กลมๆ ที่มีของเหลวภายใน 

ตัวอ่อนจะฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกบริเวณผนังมดลูก โดยฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเยื่อบุหนาขึ้น และสมบูรณ์ด้วยเลือด

ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาโดยรังไข่ จะกระตุ้นให้เยื่อบุหนาตัวขึ้นเพื่อให้เซลล์ตัวอ่อนสามารถฝังตัวและรับสารอาหารได้ กระบวนการนี้เรียกว่า "การฝังตัวของเซลล์ตัวอ่อน"

หลังจากเซลล์ตัวอ่อนได้รับการหล่อเลี้ยงจากร่างกายของมารดาแล้ว จึงเกิดการพัฒนาเซลล์เป็นระยะเริ่มแรกของการเป็นตัวอ่อน โดยเซลล์ภายในตัวอ่อนนั้นมีรูปร่างกลมแบน เรียกว่า "แผ่นของเซลล์ตัวอ่อน" ซึ่งจะพัฒนากลายเป็นทารกต่อไป 

ส่วนภายนอกเซลล์ตัวอ่อนจะเริ่มมีเยื่อบางๆ ห่อหุ้มทารกเอาไว้ตลอดการตั้งครรภ์ และเซลล์จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วหลายพันเท่าตัวจนกลายเป็นตัวอ่อนทารก 

พัฒนาการของตัวอ่อน

เมื่อผ่านไปประมาณ 8 สัปดาห์ ตัวอ่อนดังกล่าวจะมีขนาดโตขึ้นประมาณหัวแม่โป้งของผู้ใหญ่ และเริ่มมีอวัยวะเกือบครบสมบูรณ์ เช่น สมอง ระบบประสาท หัวใจ ระบบไหลเวียนเลือด กระเพาะ อวัยวะภายใน กล้ามเนื้อ และผิวหนัง

ช่วงที่ตัวอ่อนสามารถเริ่มว่าเป็น "ทารก" ได้นั้น จะเริ่มขึ้นที่ 9 สัปดาห์หลังจากปฏิสนธิไปจนถึงคลอด ทารกจะมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยทารกจะลอยตัวภายในถุงน้ำคร่ำ รับออกซิเจน และสารอาหารจากแม่ผ่านรก และเชื่อมต่อกับตัวทารกด้วยสายสะดือ 

ส่วนน้ำคร่ำและเยื่อบุนั้น จะทำหน้าที่ปกป้องทารกในครรภ์ให้ปลอดภัยจากการเคลื่อนไหวร่างกายของแม่

การตั้งครรภ์จะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 280 วัน หรือประมาณ 9 เดือน เมื่อทารกพร้อมสำหรับการคลอดแล้ว หัวของทารกจะกลับและลดลงสู่ปากมดลูก 

ปากมดลูกจะเริ่มอ่อนตัวและยืดขยายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทารกที่จะคลอดผ่านออกไป 

นอกจากนี้เมือกที่ถูกสร้างขึ้นมาบริเวณปากมดลูกจะทำหน้าที่เป็นเหมือนสวิตช์ที่ปิด และป้องกันไม่ให้น้ำคร่ำไหลออกมา แต่หากมีน้ำคร่ำไหลออกมานั่นหมายความว่า คุณแม่พร้อมที่จะคลอดทารกแล้ว หรือเรียกภาวะนี้ว่า "น้ำเดิน" นั่นเอง

กระบวนการคลอดทารกและคลอดรก

เมื่ออาการเจ็บคลอดเริ่มขึ้น ผนังมดลูกจะมีการบีบรัดตัวซึ่งอาการเช่นนี้เกิดจากการกระตุ้นโดยฮอร์โมนออกซิโทซิน ส่งผลให้ปากมดลูกขยายและเปิดกว้าง 

จากนั้นอีกไม่กี่ชั่วโมง เมื่อปากมดลูกเปิดมากพอที่จะสามารถให้ทารกออกมาได้แล้ว ทารกจะถูกเบ่งออกมาจากมดลูกผ่านปากมดลูก และออกมาทางช่องคลอดในที่สุด 

โดยปกติแล้วหัวของทารกจะต้องเป็นส่วนที่ออกมาก่อนแล้วจึงตามมาด้วยตัวที่ออกมาพร้อมสายสะดือ จากนั้นสายสะดือจะถูกตัดเมื่อทารกคลอดออกมาเรียบร้อยแล้ว

ระยะสุดท้ายของกระบวนการคลอดคือ การคลอดรก ซึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังจากการคลอดทารกแล้วเสร็จ เมื่อรกหลุดจากผนังมดลูกแล้ว ผนังมดลูกจะบีบตัวขับรกออกมาพร้อมกับเยื่อหุ้มและน้ำคร่ำ

คุณจะเห็นได้ถึงความซับซ้อน และความมหัศจรรย์ของร่างกายผู้หญิงที่สามารถโอบอุ้มร่างกายของอีกหนึ่งชีวิตเอาไว้ได้ ทั้งยังสามารถส่งต่ออากาศและอาหารเข้าถึงกันได้อีก 

ทั้งนี้เพื่อให้ระบบสืบพันธุ์ของผ้หญิงทำงานได้อย่างปกติ และจะได้สามารถวางแผนมีบุตรได้โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ 

ผู้หญิงทุกคนจึงจำเป็นต้องดูแลตนเองให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ตรวจสุขภาพเป้นประจำ ตรวจภายในตามกำหนดของวัยเพื่อให้ระบบสืบพันธุ์แข็งแรงห่างไกลโรค

ดูแพ็กเกจตรวจก่อนแต่งงาน ฝากครรภ์ คลอดบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthline, Female Reproductive System Anatomy, Diagram & Function (https://www.healthline.com/human-body-maps/female-reproductive-system), 10 April 2020.
MedlinePlus, Female Reproductive System (https://medlineplus.gov/femalereproductivesystem.html),89 April 2020.
Nemours KidsHealth, Female Reproductive System (for Teens) (https://kidshealth.org/en/teens/female-repro.html), 8 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป