เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์

จิตแพทย์ไม่ใช่แค่รักษาคนบ้า แต่สามารถปรึกษาและรักษาปัญหาทางจิตอื่นๆ ได้ด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การไปพบจิตแพทย์ ไม่ได้หมายความว่า คุณมีความผิดปกติ หรือเป็นบ้า แต่เป็นการปรึกษาภาวะด้านอารมณ์ และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไป และส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
  • อาการเครียด ซึมเศร้า เป็น 2 อาการที่พบได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และสามารถส่งผลถึงสมาธิ การจดจ่อในการเรียน การทำงานต่างๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว นอนไม่หลับ ซึ่งควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษา
  • อาการทางจิตเวชมักทำให้บุคลิกภาพของผู้ป่วยเปลี่ยนไป เช่น พูดน้อยลง ก้าวร้าว เก็บเนื้อเก็บตัว หงุดหงิดง่าย ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยกว่าปกติ
  • ผู้ป่วยจิตเวช หรือมีปัญหาภาวะด้านอารมณ์หลายรายมักเลือกที่จะไม่ไปปรึกษาจิตแพทย์ แต่มักจะหันหน้าไปเสพยาเสพติด สูบบุหรี่ หรือดื่มสุรา ซึ่งจะยิ่งทำให้สภาวะร่างกายทรุดโทรมกว่าเดิมได้
  • อาการทางจิตเวช ภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไป อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ หากคุณรู้สึกไม่สบายใจ เครียด ซึมเศร้า วิกกังวล ก็ควรลองไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
  • เปรียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาจิตแพทย์ ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

ปรึกษาจิตแพทย์ในความรู้สึกของคนไทยเป็นเรื่องที่ไม่คุ้นเคยเท่าไหร่นัก เพราะเมื่อบุคคลใดก็ตามเมื่อไปปรึกษาจิตแพทย์ คนที่รู้ก็มักจะคิดว่า "เป็นบ้า" 

แต่ความจริงแล้ว จิตแพทย์เป็นวิชาชีพแพทย์สาขาหนึ่งที่เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต มีหน้าที่บำบัดรักษา วินิจฉัยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตและให้คำแนะนำสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีปัญหาเกี่ยวกับจิตใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

10 สัญญาณเตือนว่า คุณควรเข้าปรึกษาจิตแพทย์

ไม่ได้จำเป็นต้องรอให้มีอาการรุนแรง หากมีสัญญาณเตือนด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม 10 ข้อต่อไปนี้ คุณควรพิจารณาเข้าปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและหากต้องทำการรักษาจะได้เริ่มได้เร็ว

1. เครียด ซึมเศร้า

คนไทยบางส่วนไม่รู้ว่าอาการเครียดกับอาการซึมเศร้า เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน บางคนอาจเครียดน้อย บางคนอาจเครียดมาก ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และจิตใจของแต่ละบุคคล 

อาการทั้ง 2 อย่างนี้อาจจะเกิดขึ้นทั้งในวัยเรียน วัยทำงาน วัยสร้างเนื้อสร้างตัว วัยสร้างครอบครัว แม้แต่วัยสูงอายุ 

ดังนั้นเมื่อเกิดความเครียดขึ้นมามักทำให้เรารู้สึกแย่ ปวดหัว วิตกกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ บางรายถึงกับไปเรียนไม่ได้ ทำงานไม่ได้ เพราะเอาแต่นั่งคิดแก้ปัญหาไม่ตก หากมีอาการแบบนี้ควรรีบไปปรึกษาจิตแพทย์ในเร็ววัน

2. วิตกกังวล หวาดกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ

อาการนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกได้เอง เพราะเกิดจากสภาพภายในจิต และบุคคลภายนอกสังเกตเห็นได้ชัด มักเกิดขึ้นเมื่อคนไข้มีเรื่องคาดหวังสำคัญมากกับเรื่องในอนาคต และกลัวว่าจะไม่เป็นไปตามคาดไว้ ทำให้รู้สึกกังวลใจ และกลัวถึงผลลัพธ์ที่ตามมา

3. นอนไม่หลับหลายวันติดกัน เบื่ออาหาร

อาการนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางคน และมีอาการปวดศรีษะ ใจสั่น มือสั่น เหงื่อออกมาก ร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้ คือ ความผิดปกติของสารเคมีในสมองบางตัว ซึ่งอาจมีปริมาณมากน้อยจากสภาพทางจิตของผู้ป่วยเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

4. ขาดการเอาใจใส่ตนเอง

ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่ดูแลสุขอนามัยตนเอง ไม่อาบน้ำสระผม ไม่เปลี่ยนเสื้อผ้า สามารถเกิดขึ้นได้จากความผิดหวังบางอย่างที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ หรือการล้มป่วยเป็นโรคร้ายจนไม่อยากดูแลตนเองอีกต่อไป

5. ย้ำคิดย้ำทำอยู่เสมอ

ย้ำคิดย้ำทำ เป็นอาการต่อเนื่องจากการวิตกกังวล หวาดกลัว การคิดแบบนี้คือ การคิดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมาอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความรำคาญใจให้ผู้ป่วยไม่น้อยจนบางรายอาจคิดฆ่าตัวตาย เพราะความทุกข์ทรมานในอาการนี้

6. ได้ยินเสียงแว่ว หรือเห็นภาพที่ผู้อื่นไม่เห็น

หรือเรียกอีกอย่างว่า อาการหลอนทางประสาท ได้ยินเสียงคนเรียกมาจากไกลๆ หรือได้ยินเสียงคนพูดคุยกัน เสียงคนสั่งให้ทำอะไรบางอย่าง เห็นภาพคนอื่นเข้ามาในบ้าน

7. ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยผิดปกติ 

ปกติเป็นคนไม่ชอบจับจ่าย อยู่ๆ ก็ชอบจับจ่าย ไม่ว่าจะทางออนไลน์ ร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้า 

8. บุคลิกภาพเปลี่ยนไป 

เมื่อพบเหตุการณ์สิ่งเร้าแบบเดิมๆ ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป บางรายอาจเก็บตัว ไม่เข้าสังคม เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ ในขณะที่บางรายอาจเริ่มหมกมุ่นและสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเป็นพิเศษ 

ดังนั้นหากใครมีบุคลิกภาพแบบนี้ ก็ควรไปปรึกษาจิตแพทย์ เพราะหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่ความผิดปกติ หรือโรคอื่นๆ ได้ในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

9. มีบุคคลใกล้ชิดตักเตือนบ่อยครั้ง

บางครั้งเราอาจไม่ทราบว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตนเอง จนกระทั่งบุคคลภายนอกสังเกตเห็นจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น จากที่เป็นพูดเก่ง ชอบแสดงออก ก็กลายเป็นคนเก็บตัวเงียบ ไม่พูดไม่จา เซื่องซึม และมีการแสดงออกไม่เหมาะสม เช่น หงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว   

10. ติดสุรา สารเสพติด

ผู้ป่วยบางคนไม่สามารถหาทางออกให้ปัญหาได้จึงพยายามเลี่ยงด้วยการดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติด เพื่อให้ขาดสติ ขาดการรับรู้จากปัญหาที่มีอยู่ 

เมื่อตัดสินใจปรึกษาจิตแพทย์ จิตแพทย์จะมีวิธีวินิจฉัยอาการจากการซักประวัติส่วนตัว สภาพครอบครัว หน้าที่การงาน ร่วมกับการรักษาตามอาการที่พบ จิตแพทย์อาจใช้วิธีให้คำแนะนำ แก้ไขพฤติกรรม รวมทั้งการใช้ยาบางตัวเพื่อระงับอาการผิดปกติทางจิต 

มีคำกล่าวที่ว่า สุขภาพใจเป็นนายสุขภาพ กายเป็นบ่าวเป็นเรื่องจริง เพราะจิตใจ คือ ส่วนสำคัญที่จะคอยสั่งให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ เมื่อจิตป่วย ก็จะส่งผลให้กายป่วยไปด้วย 

หากใครที่เคยมีทัศนคติไม่ดีกับการปรึกษาจิตแพทย์ ลองปรับเปลี่ยนทัศนคตินี้ใหม่ แล้วลองไปพบจิตแพทย์ดูสักครั้ง คุณอาจพบแนวทางการดำเนินชีวิตแบบใหม่ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน และจะได้หาทางป้องกันอาการผิดปกติเกี่ยวกับสภาพจิตใจที่อาจเกิดกับตัวเองก่อนจะสายเกินไป

อ่านต่อ: ตรวจสุขภาพจิตคืออะไร เมื่อไหร่ควรตรวจ ค่าใช้จ่ายแพงไหม?

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจปรึกษาจิตแพทย์ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล
วิธีการจัดการกับโรควิตกกังวล

คุณสามารถควบคุมโรคนี้ได้หากได้รับความช่วยเหลือ

อ่านเพิ่ม
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5
แนวทางการวินิจฉัยโรควิตกกังวลตาม DSM5

อาการของโรคนี้คืออะไรแล้วจะใช้การประเมินอย่างไร?

อ่านเพิ่ม