ความวิตกกังวล เป็นสภาวะอารมณ์ ความคิด และความรู้สึกที่เชื่อว่าไม่มีใครไม่เคยประสบ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ตั้งแต่สอบเข้า เข้าเรียน ย้ายโรงเรียน พบเจอเพื่อนใหม่ สังคมใหม่ ๆ เผชิญการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทำงาน เรียนต่อ หรือช่วงเวลาใดก็ตามที่คนเราต้องปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างเพื่อพบเจอประสบการณ์ใหม่ เมื่อคนเรารู้สึกแปลกที่แปลกทางและแปลกสิ่งแวดล้อม หรือไม่คุ้นชินกับสภาวะเดิม ๆ เป็นธรรมชาติอยู่แล้วที่ทุกคนจะรู้สึกวิตกกังวลและไม่สบายอกสบายใจกับสภาวะอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นอยู่ตอนนั้น
ยามที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ เราจำเป็นต้องเอาตัวรอด ทฤษฎีของนักธรรมชาติวิทยาอย่างชาลส์ ดาร์วิน Survival of the Fittest กล่าวไว้ว่า ผู้ที่เหมาะสมหรือแข็งแกร่งกว่าเท่านั้นที่จะเป็นผู้อยู่รอด ซึ่งนับเป็นธรรมชาติและสัญชาตญาณส่วนตัวของสัตว์และมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ภาวะต้องการเอาตัวรอดเช่นนี้ จะส่งผลดีต่อการเอาชีวิตรอดจากภัยอันตรายต่าง ๆ แต่! ในบางครั้ง หากมีมากเกินไปอาจนำไปสู่ “ความเครียด” และ “ความวิตกกังวล” ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อคุณรู้จักความเครียดแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่า มันส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายอย่างไรบ้าง หากยังไม่รู้ วันนี้เราจะมาแชร์เกร็ดน่ารู้กัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1. กังวลมากแค่ไหนถึงเรียกว่ามากเกินไป
ทุกคนล้วนมีความวิตกกังวล แต่หากคุณไม่สามารถสลัดมันหลุดได้ภายในอาทิตย์หรือสองอาทิตย์ ความวิตกกังวลนั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และนั่นเป็นจุดที่คุณอาจต้องพบแพทย์ เนื่องจากมันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณและอาจนำไปสู่โรควิตกกังวลได้ในที่สุด
2. ระบบประสาท
ความเครียดและความกังวลที่มากเกินไปอาจทำให้สมองและร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งนั่นจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วขึ้น น้ำตาลในเลือดของคุณจะสูง หากปล่อยไว้นานเข้า สิ่งนี้อาจส่งผลถึงหัวใจ เส้นเลือด กล้ามเนื้อ และระบบอื่น ๆ ในร่างกาย
3. กล้ามเนื้อ
เมื่อคุณประสบปัญหาใด ๆ ก็ตาม กล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอจะตึงขึ้น และนั่นย่อมนำไปสู่อาการไมเกรนหรืออาการปวดศีรษะ ซึ่งการนวดผ่อนคลาย รวมถึงการหายใจเข้าลึก ๆ และการเล่นโยคะอาจช่วยคุณได้
4. การหายใจ
เมื่อคุณวิตกกังวล คุณจะหายใจเข้าออกลึกมาก ๆ มากจนคุณเองก็ไม่รู้ตัว มันดูไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรก็จริง แต่หากการหายใจเช่นนี้เกี่ยวข้องกับโรคหืด โรคปอด หรือภาวะอื่น ๆ แล้วล่ะก็ คุณควรระวังตัวเอาไว้จะดีกว่า
5. หัวใจ
ความเครียดและความวิตกกังวลทำให้ความดันเลือดสูง อาจเกิดอาการหัวใจวาย อาการเส้นเลือดในสมองแตก และดังที่กล่าวไปว่า ความกังวลส่งผลให้ร่างกายและสมองหลั่งฮอร์โมนความเครียดอันนำไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วและหนักเกินไป หากเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกจะนำไปสู่โรคผนังหลอดเลือดตีบ ระดับคอเลสเตอรอลไม่ดีเพิ่มสูงขึ้น และอื่นๆ
6. น้ำตาลในเลือด
เมื่อคุณกังวล ฮฮร์โมนความเครียดจะหลั่งสารที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นตัว ซึ่งนั่นย่อมส่งผลดียามคุณกำลังตกอยู่ในอันตรายและคุณจำเป็นต้องวิ่ง แต่หากคุณไม่ได้ใช้สารนั้นล่ะ? ร่างกายของคุณจะเก็บมันไว้ใช้ทีหลัง แต่ในบางครั้ง หากคุณมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือเป็นโรคอ้วน น้ำตาลในเลือดของคุณอาจมีสูงและอยู่นานเกินไป ซึ่งนี่นำไปสู่โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก และโรคไต
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
7. ระบบภูมิคุ้มกัน
หากร่างกายของคุณประสบกับความเครียด อาจทำให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ไม่ดีพอ ทั้งเชื้อไวรัส ไข้หวัด และอื่น ๆ เพราะพวกมันจะมีพลังเหนือกว่าสุขภาพร่างกายของคุณที่กำลังเผชิญกับความเศร้าและความวิตกอยู่
8. ท้อง
คุณจะรู้สึกเหมือนมีผีเสื้อบินอยู่ในท้องเมื่อคุณกำลังวิตกกังวล ในบางครั้ง คุณอาจถึงขั้นรู้สึกอยากอาเจียนเลยทีเดียว หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อาจนำไปสู่การปวดท้อง การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และยิ่งประกอบกับการที่คุณทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ร่างกายของคุณต้องทำงานอย่างหนักเพื่อย่อยมัน และนั่นทำให้เกิดกรดมากอย่างน่าเป็นห่วง ส่งผลต่อการเกิดอาการกรดไหลย้อนนั่นเอง
9. การมีเพศสัมพันธ์
ความวิตกกังวลอาจทำให้คุณสนใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ลดน้อยลง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ฮอร์โมนเพศชายอาจลดต่ำลง และส่งผลต่ออสุจิได้ในที่สุด ปฏิกิริยาการตอบสนองก็จะลดน้อยถอยลงไปด้วย และสำหรับผู้หญิงที่ผ่านพ้นช่วงวัยหมดประจำเดือน อาการที่รู้สึกร้อนวูบวาบและการนอนก็จะยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก
ผลร้ายต่อร่างกายจากความวิตกกังวลข้างต้น จะเห็นได้ว่า ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวทั้งสิ้น ในเวลานี้ คุณ ๆ ทั้งหลายอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แถมอายุของตนก็ยังไม่มากอีกต่างหาก แต่ทว่า แม้จะฟื้นตัวได้เร็ว แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะเพิกเฉยต่อมันได้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ความเครียดและความวิตกกังวลเหล่านี้สามารถสะสมพอกพูนอยู่ในตัวคุณมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อเนื่องไปไม่หยุด จริงไหม?
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่มีวิธีปล่อยวางเสียเลย อยู่ที่ว่า คุณจะลองนำมันไปใช้ดูไหม ซึ่งวิธีเบื้องต้นที่คุณสามารถลองนำไปปฏิบัติดูได้ อาทิ การทำสมาธิเพื่อให้ใจและอารมณ์สงบนิ่ง การเผชิญหน้ากับความจริง การไม่คาดหวังมากจนเกินไป (ให้ลองพิจารณาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของเหตุและผลแทน) การเรียนรู้การแผ่เมตตาให้แก่ปัญหารอบด้านและคนรอบข้าง และท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่จำเป็นที่สุดในการช่วยขจัดความเครียดและความวิกกังวล คือ “ตระหนักไว้เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง” ความสุขที่เกิดขึ้น เดี๋ยว ๆ มันก็จากเราไป และปัญหาที่เกิดขึ้นก็เช่นเดียวกัน...เดี๋ยวมันก็ผ่านพ้นไป