กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจสุขภาพจิตคืออะไร เมื่อไหร่ควรตรวจ ค่าใช้จ่ายแพงไหม?

การตรวจสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหรือน่ากังวล แต่เป็นหนทางที่จะบรรเทาความรุนแรงของโรคได้
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ตรวจสุขภาพจิตคืออะไร เมื่อไหร่ควรตรวจ ค่าใช้จ่ายแพงไหม?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสุขภาพจิต เป็นการตรวจประเมินสภาวะทางจิตใจที่ผิดปกติไปจากเดิมผ่านการพูดคุยกับจิตแพทย์ ซึ่ง หลายคนยังมองว่า เป็นเรื่องน่าอาย และผิดปกติ แต่ความจริงแล้ว การไปพบจิตแพทย์ก็เป็นการเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพชนิดหนึ่ง ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกประหลาดอย่างที่หลายคนคิด
  • โรคทางจิตเวชมีปัจจัยทำให้เกิดทั้งจากภายใน และภายนอก โดยตัวอย่างปัจจัยภายใน เช่น โรคทางสมอง สารเคมีในร่างกายหลั่งผิดปกติ ความเครียด ส่วนปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ความตาย
  • โรคทางจิตเชที่มักตรวจพบอยู่บ่อยๆ ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคแพนิก
  • ตัวอย่างอาการที่คุณควรไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา คือ นอนไม่หลับ วิตกกังวล โศกเศร้า หูแว่ว อยากฆ่าตัวตายซ้ำไปซ้ำมา
  • คุณสามารถไปเข้าพบจิตแพทย์ได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐ และเอกชน รวมถึงคลินิกจิตเวชหลายแห่ง แต่ค่าใช้จ่ายอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล และคลิกนิกนั้นๆ
  • เปรียบราคาและแพ็กเกจตรวจการนอนหลับ

โรคเกี่ยวกับสุขภาพจิตมักเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงไม่ไปพบแพทย์ เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้ป่วย สามารถเยียวตัวเองได้ หรือกังวลว่าหากไปตรวจสุขภาพจิตแล้วจะถูกมองว่า ผิดปกติ 

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้อัตราผู้ป่วยโรคทางสุขภาพจิตสูงขึ้น และอัตราการฆ่าตัวตายจากปัญหาทางสุขภาพจิตสูงก็ตามไปด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่จริงๆ แล้วการตรวจสุขภาพจิตเป็นหนึ่งในหนทางการรักษาภาวะทางจิต หรือโรคทางจิตเวชที่ดีที่สุด ที่จะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคม 

สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพจิตของคนไทย

จากสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วยจิตเวชทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในราว 2 ล้านราย และอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 16 คนต่อประชากร 1 แสนคน นับเป็นประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในอาเซียน และอยู่สูงเป็นอันดับ 28 ของโลก 

นอกจากนี้ จากการศึกษาทางการแพทย์เกี่ยวสาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่พบว่า ผู้ฆ่าตัวตาย สําเร็จประมาณ 9 ใน 10 มีความเจ็บป่วยทางจิตเวชอย่างใดอย่างหนึ่งขณะฆ่าตัวตาย โดยมีสาเหตุสําคัญคือ ภาวะซึมเศร้า และการติดสุรา 

ดังนั้นปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากมีอาการต้องสงสัย รู้สึกไม่สบายใจแต่ไม่มีใครสามารถรับฟังได้ คุณก็ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจิตดูสักครั้ง

ย้ำอีกครั้งว่า การไปพบจิตแพทย์ หรือมีภาะทาง

ความหมายของการตรวจสุขภาพจิต

การตรวจสุขภาพจิต คือ การตรวจประเมินสุขภาพจิตของผู้ป่วย โดยในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติความเจ็บป่วย รวมทั้งสังเกตอาการ และพฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยผู้ป่วยบางรายที่ภาวะจิตใจซับซ้อน หรือผู้ป่วยไม่รู้ตัวเพียงพอ แพทย์จะใช้แบบสอบถามทางจิตวิทยาเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการร่วมด้วย 

นอกจากนี้ แพทย์อาจตรวจทางระบบประสาทเพิ่มเติม เพราะบางครั้งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางสมอง การตรวจสุขภาพจิตจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนรักษาที่ดีที่สุด

ความหมายของโรคทางจิตเวช

โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช คือ ความผิดปกติทางจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์และบุคลิกภาพ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และคนรอบข้าง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมี 2 ปัจจัยหลักๆ คือ 

  • ปัจจัยภายนอก เช่น ปัจจัยด้านสังคม ความเป็นอยู่ ปัญหาในชีวิตประจำวัน ปัญหาเรื่องงาน เศรษฐกิจ ครอบครัว การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน เช่น โรคทางสมอง อุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบทางสมอง โรคพิษสุราเรื้อรัง รวมทั้งสารเคมีในร่างกายที่ไม่สมดุลทำให้เกิดความเครียด หรือความเศร้าสะสม รวมถึงสาเหตุทางพันธุกรรม 

โรคทางจิตเวชซึ่งควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจิตที่พบส่วนใหญ่ มีดังนี้

  1. โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder: MDD) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการท้อแท้ หดหู่ เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไม่เห็นความสำคัญของการมีชีวิตอยู่ ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษามีโอกาสเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูงมาก

  2. โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปมา ระหว่างช่วงซึมเศร้า และช่วงที่อารมณ์ดีเกินปกติ

    โดยในช่วงซึมเศร้า ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนโรคซึมเศร้า หดหู่ ท้อแท้ สิ้นหวัง และอาการจะค่อยๆ ดีขึ้น

    จากนั้นจะเข้าสู่ช่วงอารมณ์ดีเกินปกติ ผู้ป่วยจะรู้สึกมีพลัง อารมณ์ดีมาก พูดคุยเยอะ ไม่ค่อยฟังเสียงคนรอบข้าง กล้าได้กล้าเสีย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ บางครั้งอาจขาดความยั้งคิด คิดว่าตัวเองสามารถทำสิ่งใดก็ได้ จนอาจเป็นอันตรายได้

  3. โรคจิตเภท (Schizophrenia) ผู้ป่วยอาจมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว พูดคนเดียว หวาดระแวง ซึ่งหากไม่รีบรักษาจะทำให้อาการแย่ลง และรักษาได้ยากขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้จำเป็นต้องใช้ยาไปตลอดชีวิต หากหยุดยา อาจทำให้อาการกำเริบได้

  4. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นโรคที่แสดงอาการกังวลมากเกินกว่าปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการ ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก นอนไม่หลับ ปวดหัว เครียด หวาดกลัว กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ โดยมีอาการต่อเนื่องยาวนานมาก

  5. โรคแพนิก (Panic Disorder) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นกว่าปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น หายใจติดขัด วิงเวียนศีรษะ เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาทีแล้วจะค่อยๆ หายดีขึ้น

    สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคแพนิกได้มักจะเป็นความกดดันบางอย่างที่ผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัวได้ หรือผู้ป่วยได้เผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัวอยู่ หรือสิ่งที่ผู้ป่วยเกิดอาการวิตกกังวลไปก่อนแล้ว

อาการที่ควรไปพบจิตแพทย์

โดยส่วนมากผู้ที่มีอาการทางสุขภาพจิต มักไม่ทราบว่าตนเองป่วย จึงไม่เข้ารับการตรวจสุขภาพจิต จนอาจส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น ดังนั้นการตระหนักรู้ว่าตัวเองมีอาการป่วยจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ โดยสามารถตรวจสอบอาการผิดปกติเบื้องต้นได้ดังนี้

  • รู้สึกเครียด นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • วิตกกังวล ไม่สบายใจ โศกเศร้า ท้อแท้
  • ย้ำคิดย้ำทำ
  • เพ้อ ฟุ้งซ่าน อาละวาด
  • พูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หู่แว่ว เห็นภาพหลอน
  • หลงลืม ไม่ค่อยพูด ซึมเศร้า 
  • กลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรง โดยไม่มีสาเหตุ
  • มีความคิดอยากฆ่าตัวตายซ้ำไปซ้ำมา

หากคุณ หรือคนรอบข้างมีอาการดังต่อไปนี้ แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพจิต ให้แพทย์วินิจฉัยอาการเพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมฃ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ หากต้องการตรวจสุขภาพจิตในเบื้องต้นว่าคุณมีอาการเกี่ยวกับสุขภาพจิตรูปแบบใด กรมสุขภาพจิตได้เผยแพร่แบบทดสอบด้านสุขภาพจิตให้สามารถทดสอบได้ฟรี คลิก

สถานที่ที่สามารถเข้าตรวจสุขภาพจิตได้

ปัจจุบันโรงพยาบาลรัฐ และเอกชน รวมทั้งคลินิกสุขภาพหลายแห่งทั่วประเทศ มีแผนกจิตเวชคอยให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพจิต และวางแผนการรักษาให้ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต 

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกไปพบแพทย์ ยังสามารถขอรับคำปรึกษาทางโทรศัพท์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ที่สายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323

นอกจากนี้ทางกรมสุขภาพจิตยังมีแบบทดสอบเพื่อคัดกรองปัญหาทางจิตเวชในรูปแบบ online โดยสามารถไปที่ http://www.prdmh.com/แบบประเมิ...

ตรวจสุขภาพจิตมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?

สำหรับผู้ที่ต้องการพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพจิตกับโรงพยาบาลรัฐ ในเวลาราชการ ไม่ว่าใช้สิทธิ์การรักษาใด จะไม่เสียค่าตรวจของแพทย์ แต่จะมีค่าบริการทางโรงพยาบาลประมาณ 50 -100 บาท ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล 

ส่วนค่าใช้จ่ายเรื่องยาขึ้นอยู่กับสิทธิ์การรักษาของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ต้องการตรวจสุขภาพจิตที่โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลนั้นๆ สามารถสอบถามได้โดยตรงกับโรงพยาบาล

โรคทางจิตเวชเป็นโรคที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยโรคทางจิตเวชหลายรายมักมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และหลายรายก็ทำสำเร็จซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นแน่นอน

ดังนั้นหากพบว่าตนเอง หรือคนรอบข้างมีอาการที่เข้าข่ายป่วยด้วยโรคทางจิตเวช ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจิตโดยเร็ว ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การตรวจสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องน่ากังวล หรือน่าอายแต่อย่างใด แต่เป็นหนึ่งในหนทางการรักษาโรคที่ดีที่สุด 

ยิ่งเข้ารับการรักษาได้รวดเร็วเท่าไร โอกาสที่คุณจะกลับมาใช้ชีวิตได้โดยปกติในสังคมก็มีมากขึ้นเท่านั้น 

ดูแพ็กเกจตรวจการนอนหลับ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต สิ่งที่ควรรู้เมื่ออยากพบจิตแพทย์, (https://hdmall.co.th/c/mental-health-consultation).
WebMD (2018). What Are Mental Health Assessments? (https://www.webmd.com/mental-health/mental-health-making-diagnosis)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)