ไมเกรนคืออาการปวดศีรษะที่มักปวดในระดับปานกลางถึงรุนแรง โดยจะมีอาการปวดด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ
ผู้คนจำนวนมากที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และมีความไวต่อแสงหรือเสียง (แสงหรือเสียงทำให้มีอาการปวดศีรษะมากขึ้น)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ไมเกรนคือโรคที่พบได้บ่อย พบได้ 1 ต่อ 5 ในเพศหญิง และพบได้ 1 ต่อ 15 ในเพศชาย และมักจะเริ่มมีอาการปวดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
อาการปวดศีรษะไมเกรนมีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่:
- ไมเกรนที่มีอาการเตือนล่วงหน้า (migraine with aura): ผู้ป่วยจะมีอาการเตือนที่เฉพาะเจาะจงก่อนที่จะมีอาการปวดศีรษะ เช่น มองเห็นแสงกระพริบ เป็นต้น
- ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (migraine without aura): เป็นไมเกรนชนิดที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะโดยไม่มีอาการเตือนใดๆ
- ไมเกรนที่มีอาการเตือน แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ (migraine aura without headache หรือ silent migraine): ผู้ป่วยจะมีอาการเตือนของไมเกรน หรือมีอาการอื่นๆ ของไมเกรน แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะเกิดขึ้น
ผู้คนที่เป็นไมเกรนอาจเป็นได้บ่อยครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่บางรายอาจมีอาการเป็นครั้งคราว เช่น อาจเว้นระยะเป็นปี ก่อนจะมีอาการปวดศีรษะไมเกรนอีกครั้ง เป็นต้น
เมื่อไรควรไปพบแพทย์เมื่อปวดศีรษะไมเกรน
คุณควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการของไมเกรนบ่อยครั้ง หรือมีอาการของไมเกรนในระดับรุนแรง
ยาแก้ปวดทั่วๆ ไปที่หาซื้อได้ง่าย เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ ibuprofen-nsaid' target='_blank'>ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) คือยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับรักษาไมเกรน อย่างไรก็ตามคุณควรระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวด โดยอย่าใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป เพราะอาจทำให้รักษาอาการปวดศีรษะในครั้งหน้าได้ยากขึ้น
คุณควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากคุณมีอาการปวดศีรษะไมกรนบ่อยครั้ง (มากกว่า 5 วันต่อเดือน) แม้ว่าคุณสามารถควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาก็ตาม เพราะการเข้าพบแพทย์ คุณอาจได้รับประโยชน์จากการได้รับยาเพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณควรโทรเรียกรถพยาบาลที่ 1669 ทันที หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการดังนี้:
- ชาหรืออ่อนแรงที่แขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง และ/หรือ ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า
- พูดไม่ชัด
- อาการปวดศีรษะรุนแรงฉับพลันอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
- ปวดศีรษะร่วมกับมีไข้ คอแข็ง มึนงงสับสน ชัก มองเห็นภาพซ้อน และมีผื่น
อาการดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคที่มีความร้ายแรงมากกว่าไมเกรน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) ซึ่งควรได้รับการตรวจประเมินโดยแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สาเหตุของไมเกรน
สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็คาดคิดว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของสารเคมี เส้นประสาท และหลอดเลือดภายในสมอง
ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคไมเกรนจะมีญาติสนิทป่วยเป็นโรคไมเกรนเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า ยีนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคนี้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนพบว่าจะมีอาการปวดศีรษะเมื่อมีสิ่งกระตุ้น ได้แก่:
- เริ่มต้นมีรอบประจำเดือน
- ความเครียด
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
- อาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด
การรักษาไมเกรน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด แต่มีวิธีการรักษาไมเกรนหลายวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การรักษาไมเกรนมีดังนี้:
- ยาแก้ปวด ได้แก่ ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) และ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
- ยาในกลุ่ม triptans: ยาที่จะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงในสมองที่เป็นสาเหตุของไมเกรนกลับมาเป็นปกติ
- ยาต้านอาเจียน: คือยาที่มักถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ในระหว่างที่มีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยหลายรายพบว่าการนอนหลับ หรือการนอนพักในห้องมืดๆ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้
การป้องกันไมเกรน
หากคุณสงสัยว่าสิ่งกระตุ้นบางอย่างทำให้คุณมีอาการของไมเกรน เช่น ความเครียด หรืออาหารบางชนิด ขอแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการมีอาการไมเกรนได้
นอกจากนี้ยังมีสิ่งอื่นๆ ที่จะช่วยป้องกันไมเกรนได้ คือ การมีสุขภาพที่ดีด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน และจำกัดปริมาณการรับประทานคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากอาการไมเกรนของคุณเป็นรุนแรงหรือคุณพยายามหลีกเสี่ยงสิ่งกระตุ้นแล้ว แต่คุณยังคงมีอาการของไมเกรนอยู่ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาเพื่อช่วยป้องกันให้มีอาการในอนาคตได้
ยาที่ใช้เพื่อป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่ ยากันชัก (anti-seizure medication) ที่ชื่อว่า โทไปราเมท (topiramate) และยาที่ชื่อว่า โพรพาโนรอล (propranolol) ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง ยาเหล่านี้สามารถป้องกันไมเกรนได้ โดยอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ก่อนที่อาการของไมเกรนจะดีขึ้น
ภาพรวมของโรคไมเกรน
ไมเกรนอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง และทำให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ โดยพบว่าผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องนอนบนเตียงเป็นวันก่อนที่อาการจะดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม มีการรักษาไมเกรนหลายวิธีที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยบรรเทาอาการและช่วยป้องกันไม่ให้มีอาการในอนาคต
อาการของไมเกรนแต่ละครั้งอาจมีอาการแย่ลงได้เมื่อเวลาผ่านไป แต่โดยทั่วไปผู้ป่วยส่วนมากมักมีแนวโน้มค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายๆ ปี
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/migraine