กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

อาการแพ้คาเฟอีนเป็นอย่างไร?

อาการของคนแพ้คาเฟอีน เรื่องเล็กน้อยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาการเหล่านี้อาจทำอันตรายถึงชีวิต
เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการแพ้คาเฟอีนเป็นอย่างไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กาแฟเป็นเครื่องดื่มสำคัญที่ผู้คนมักใช้เพื่อให้เกิดอาการตื่นตัวระหว่างการทำงาน โดยอาศัยสารคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟ แต่ก็มีบางคนที่สามารถแพ้สารคาเฟอีนได้
  • ปริมาณคาเฟอีนที่แต่ละคนสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยอยู่ที่ 400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • ผู้ที่มีอาการไวต่อสารคาเฟอีน เช่น มีอาการใจสั่น มือสั่น ปวดหัว นอนไม่หลับหลังบริโภคคาเฟอีน แต่คนกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่กลุ่มเดียวกับผู้แพ้คาเฟอีนเพราะอาการแพ้สารคาเฟอีนนั้นจะรุนแรงกว่า
  • คุณสามารถรับประทานยาต้านฮิสตามีนเพื่อแก้อาการแพ้คาเฟอีนเองได้แต่หากอาการรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อรักษาตามอาการ และอาจได้รับการฉีดยาอีพิเนฟรินเพื่อรักษาอาการเบื้องต้น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้

กาแฟ ออกฤทธิ์ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางตื่นตัว จึงเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญของผู้คนที่ทำให้ตาสว่าง รวมถึงช่วยให้สามารถตื่นตัว และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสารสำคัญในกาแฟที่นั้นก็คือ คาเฟอีน ที่พบได้ในใบชา และฝักโกโก้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คาเฟอีนจะเป็นสารที่อยู่ในเครื่องดื่มหลายชนิด แต่ก็มีหลายคนที่แพ้สารชนิดนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฤทธิ์ และปริมาณการรับประทานของคาเฟอีน

คาเฟอีน เป็นสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีประโยชน์ในการกระตุ้นสมองเกิดการตื่นตัว บางครั้งก็ถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการหายใจสำหรับรักษาผู้ป่วยบางราย

เราสามารถพบคาเฟอีนได้ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง 

ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร หากดื่มกาแฟมากเกินไป ยังทำให้คาเฟอีนขับออกมาทางน้ำนมด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทารกได้

ปริมาณการรับประทานคาเฟอีนที่ปลอดภัย จำกัดอยู่ที่ 400 มิลลิกรัม และจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องดื่ม และความถี่ของการบริโภคคาเฟอีนของแต่ละคนด้วย

กาแฟ มีปริมาณคาเฟอีนมากกว่าชา และช็อกโกแลต โดยมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 60-200 มิลลิกรัม เครื่องดื่มประเภทชาจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 55-10 มิลลิกรัม และช็อกโกแลตจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 2-5 มิลลิกรัม

อาการแพ้คาเฟอีน

ถึงแม้คาเฟอีนจะมีประโยชน์ในแง่ของการตื่นตัว รวมถึงสมาธิในการทำงาน แต่ขณะเดียวกัน คาเฟอีนก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายจนทำให้เกิดเป็นอาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายไวต่อสารคาเฟอีน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • เกิดอาการกระวนกระวาย วิตกกังวล
  • มือไม้สั่น
  • ปวดศีรษะ
  • นอนไม่หลับ หรือการนอนหลับแย่ลงกว่าเดิม
  • ท้องเสีย

หากคุณมีอาการคล้ายกับร่างกายไวต่อคาเฟอีน อย่าเพิ่งตกใจไปว่าตนเองแพ้คาเฟอีน เพราะอาการแพ้คาเฟอีนจริงๆ นั้นจะรุนแรงกว่านั้น เช่น

  • ผื่นลมพิษขึ้น โดยเฉพาะตุ่มแดงบวมที่อาจมีจำนวนมาก
  • ปาก และคอบวมขึ้น
  • รู้สึกระคายเคืองที่ริมฝีปาก ข้างในปาก และลิ้น

อาการแพ้คาเฟอีนมักจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากร่างกายรับสารคาเฟอีนเข้าไป นอกจากนี้ผู้แพ้คาเฟอีนยังมีความเสี่ยงที่จะช็อกจากอาการแพ้รุนแรง (Anaphylactic Shock) ได้ แต่กรณีนี้มักพบได้ไม่บ่อยนัก และผู้ที่แพ้คาเฟอีนหนักมากๆ จะมีอาการต่อไปนี้

  • เกิดอาการบวมตามร่างกายหลายที่ เช่น ดวงตา ริมฝีปาก ใบหน้า และลิ้น
  • หายใจไม่สะดวก
  • มีปัญหาด้านการพูด
  • หายใจมีเสียงฟืดฟาด
  • ไอเรื้อรัง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เวียนหัว

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้คาเฟอีน

กลไกร่างกายของผู้ที่แพ้สารคาเฟอีนจะมองว่า สารคาเฟอีนที่รับเข้ามาในร่างกายเป็นตัวบุกรุก ดังนั้นเมื่อคุณรับประทานอาหารที่มีสารคาเฟอีนเข้ามา ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตสารอิมมูโนโกลบูลิน อี ให้ไปกระตุ้นสารฮิสตามีนให้หลั่งออกมามากขึ้น 

เพื่อกำจัดโมเลกุลของสารคาเฟอีนที่ร่างกายเข้าใจผิดว่า เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดการอักเสบกับร่างกาย

การรักษาอาการแพ้คาเฟอีน

หากมีอาการแพ้คาเฟอีนเกิดขึ้น สามารถใช้ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) บรรเทาอาการได้ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป

หรือหากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ และอาจรักษาเบื้องต้นโดยการฉีดยาอีพิเนฟริน (Epinephrine)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีป้องกันอาการแพ้คาเฟอีน

ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทุกชนิด หรือหากไม่แน่ใจ ให้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง

อาการข้างเคียงจากการเลิกติดคาเฟอีน

ผู้ที่มีอาการติดคาเฟอีน และต้องการเลิกอาจต้องเผชิญกับอาการข้างเคียงที่เกิดจากการเลิกคาเฟอีน โดยเฉพาะในผู้ที่เลิกแบบหักดิบ โดยอาการดังกล่าวอาจมีดังนี้

หากคุณต้องการเลิกคาเฟอีน และมองหากิจกรรมที่มาทดแทนการบริโภคคาเฟอีน คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยได้

  • พักสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง
  • ออกไปเดินเล่นในช่วงพักกลางวัน
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

คาเฟอีนอาจเป็นสารที่หลายคนคิดว่า ไม่น่าจะเกิดอาการแพ้ แต่หากคุณมีอาการคล้ายกับอาการแพ้คาเฟอีนเกิดขึ้น ก็ไม่ควรมองข้ามอาการเหล่านั้น และไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการที่โรงพยาบาลให้แน่ใจ 

นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอมากกว่าการหันไปพึ่งสารคาเฟอีนเพื่อให้ร่างกายตื่นตัว และสามารถทำงานได้นานมากขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ted Kallmyer, Caffeine Allergy: Top 20 Symptoms (https://www.caffeineinformer.com/caffeine-allergy-top-20-symptoms), 6 July 2020.
Shuvani sanyal, What is caffeine allergy? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320267.php?sr), 1 July 2020.
Elaine K. Luo, MD, Caffeine Allergy (https://www.healthline.com/health/allergies/caffeine-allergy), 6 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
กล้วย และประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด
กล้วย และประโยชน์ของกล้วยแต่ละชนิด

สรรพคุณของกล้วยแต่ละชนิด ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ประโยชน์ที่คุณไม่ควรพลาดในปริมาณแค่ 105 แคลอรี่

อ่านเพิ่ม