กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

โรคไต มีสัญญาณอะไรบ่งชี้ได้บ้าง?

โรคเรื้อรังใกล้ตัวที่หาก "รู้ก่อน" ย่อมมีโอกาสตรวจวินิจฉัยและหาทางรับมือได้ถูกวิธีก่อน
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคไต มีสัญญาณอะไรบ่งชี้ได้บ้าง?

โรคไต (Kidney disease) คือโรคที่ไตเกิดความเสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ส่งผลให้มีน้ำและของเสียที่ไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้คั่งค้างอยู่ในร่างกาย เป็นผลให้อวัยวะในระบบอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปด้วย โรคไตจะมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดภาวะไตวายได้ หากไม่ได้รับการฟอกไต หรือปลูกถ่ายไตได้ทันเวลา 

โรคไตแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • โรคไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney disease)  เกิดจากไตขาดเลือดไปเลี้ยงกะทันหัน เช่น ภาวะมีเลือดออกมาก ภาวะขาดน้ำ  หัวใจล้มเหลว  ซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย
  • โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease)     พบบ่อยในวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ มีปัจจัยเสี่ยงมาจากโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน  โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง โรคนิ่วไต เป็นต้น

อาการเริ่มแรกของโรคไตวายเรื้อรังมีอะไรบ้าง?

โรคไตวายเรื้อรังระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการเนื่องจากไตยังเกิดความเสียหายน้อย ไตจึงยังทำงานได้ใกล้เคียงกับไตปกติ คนที่เป็นโรคไตส่วนใหญ่จึงมักไม่รู้ตัวและไม่ได้รักษา แต่เมื่อไตเกิดความเสียหายมากขึ้น จะเริ่มมีอาการผิดปกติแสดงให้เห็น ซึ่งมักเป็นอาการที่ไม่จำเพาะกับโรคมากนัก ได้แก่

  • นอนไม่หลับ เนื่องจากไตไม่สามารถขับของเสียและสารพิษในร่างกายออกไปได้ตามปกติ เมื่อมีสารพิษคั่งค้างในเลือด ภาวะโลหิตจาง ภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ มีอาการคัน อาการปวดกระดูก และภาวะซึมเศร้า  จะทำให้เรานอนหลับยากกว่าปกติ และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • เหนื่อยง่าย และปวดหัวบ่อยๆ ไตมีอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญ คือ การผลิตฮอร์โมน Erythropoietin (EPO) สำหรับสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นหากไตเสียหายจนผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง การสร้างเม็ดเลือดแดงจะน้อยลง การขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ จึงไม่เพียงพอ และผู้ป่วยบางคนอาจเกิดภาวะโลหิตจางได้
  • ผิวหนังแห้งและคัน  ไตมีบทบาทในการขับน้ำและแร่ธาตุออกทางปัสสาวะเพื่อให้ภายในร่างกายเกิดสมดุล  แต่หากไตพัง สมดุลน้ำ และแร่ธาตุในร่างกายจะแปรปรวนไปด้วย ทำให้ผิวหนังเริ่มแห้งเหี่ยว ขาดน้ำ และมีอาการคันได้
  • มีกลิ่นปาก  เมื่อมีของเสียคั่งค้างในร่างกายมาก อาจส่งผลให้เกิดกลิ่น  หรือรสชาติแปลกๆ ในปากได้เช่นกัน และทำให้อาหารที่รับประทานมีรสชาติเปลี่ยนไปด้วย

จะเห็นได้ว่า อาการเหล่านี้อาจพบในโรคอื่นๆ ได้เหมือนกัน ทำให้ผู้ป่วยหลายคนที่มีอาการอาจไม่คิดถึงโรคไตเลยก็ได้ แต่เมื่อโรคดำเนินสู่ระยะต่อไป อาการของโรคไตจะชัดเจนขึ้น ได้แก่

  • ปัสสาวะผิดปกติ  เช่น มีปริมาณมากหรือน้อย หรือไม่มีปัสสาวะเลย บางรายอาจมีปัสสาวะขุ่น สีเข้ม เป็นฟอง มีเลือดปน หรือบางรายอาจมีปัสสาวะใสเหมือนน้ำ หากพบว่า ลักษณะของปัสสาวะผิดแปลกไปจากเดิม นั่นเป็นสัญญาณว่าไตกำลังมีปัญหา
  • คลื่นไส้ อาเจียน  เนื่องจากมีของเสียในร่างกายมาก
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด  เกิดจากกลิ่นและรสแปลกๆ ในปาก ทำให้รสชาติอาหารเปลี่ยนไป
  • มือ เท้า ทั้งสองข้าง และรอบดวงตาบวม  ลักษณะกดแล้วผิวหนังบุ๋มลงไป (pitting edema)  เป็นผลมาจากร่างกายไม่สามารถขับน้ำและโซเดียมออกได้ จึงมีน้ำคั่งค้างอยู่ภายนอกเซลล์ปริมาณมาก
  • ซีด เป็นผลสืบเนื่องมาจากไตผลิตฮอร์โมน erypoietin (อีริพอยอีติน) ได้น้อยลง   ฮอร์โมนนี้หน้าที่ในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไตเสื่อมเรื้อรังจะสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลงทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือภาวะซีดนั่นเอง หากมีการสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยมากก็อาจพบภาวะซีดได้

วิธีตรวจโรคไตวายเรื้อรัง

การวินิจฉัยโรคไตทำได้โดยการตรวจดูการทำงานของไตร่วมกับการตรวจร่างกาย ดูอาการ และซักประวัติ   การตรวจการทำงานของไตจะเจาะเลือดและเก็บปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ระดับ Creatinine, BUN ปริมาตรปัสสาวะรวมถึงชนิดสารที่ปนมากับปัสสาวะ และนำมาคำนวณ อัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate; GFR) ซึ่งหากอัตราการกรองน้อยลง แสดงว่า ไตทำงานได้น้อยลง นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ระดับแร่ธาตุในเลือด เพื่อดูว่า อยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ รวมถึงการตรวจคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของปัสสาวะด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฟอกไตเจ็บไหม ระยะไหน เตรียมตัวอย่างไร อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/kidney-dialysis).
ตรวจไต ต้องอดอาหารไหม ตรวจยังไง อ่านผลยังไง? , (https://hdmall.co.th/c/kidney-screening).
ภญ. ศยามล สุขขา, ไตวายระยะสุดท้าย...การรักษาแบบประคับประคอง (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/415/%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป