กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกรายมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน, หลอดเลือดสมองตีบตัน หลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน และโรคหัวใจวาย และมีสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ

1. ปัจจัยเสี่ยงทั่วไป

ได้แก่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ สูงอายุ โรคอ้วน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้พบเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เมื่อเทียบกับประชากรทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรัง

เชื่อว่า เกิดจากของเสียคั่งในร่างกาย (ruemic toxin) และผลแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคไตเรื้อรัง โดยปัจจัยกลุ่มนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น เมื่อการทำงานของไตลดลง หรือโรคดำเนินเข้าสู่ไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ปัจจัยในกลุ่มนี้ได้แก่

  • ภาวะโลหิตจาง เมื่อไตทำงานลดลงจะสร้างฮอร์โมนอีริโธรปัวอิติน (erythropoietin) ที่ใช้ในขบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงตาม พบว่า ภววะโลหิตจางเป็นสาเหตุหลักของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจโต และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยไตเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) น้อยกว่า 9 กรัม/ดล.
  • ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ พบว่าระดับไข่ขาในปัสสาวะชนิด microalbumin เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของโรคหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เกิดจากเบาหวานและไม่ได้เกิดจากเบาหวาน

  • ภาวะอักเสบในร่างกายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ขบวนการอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยไตเรื้อรังมีผลต่อการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเกิดในกลุ่มอาการที่เรียกว่า malnutrition-inflammation-atherosclerosis (MIA syndrome) เมื่อตรวจเลือดมักพบระดับ ซี-รีแอททีฟโปรตีน (C-re-active protein, CRP) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลทำให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจ และเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงขึ้นตามมา

  • ภาวะความผิดปกติของเกลือแร่แคลเซียม ฟอสฟอรัส และภาวะต่อมพาราไธรอยด์ทำงานมาก (Hyperparathyroidism) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจโต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และอัตราการเสียชีวิตของในผู้ป่วยไตเรื้อรัง พยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจตีบตันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความแตกต่างจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันในผู้ป่วยทั่วไป คือ พบการเกิดพยาธิสภาพหลักในชั้นกลางของหลอดเลือดหัวใจ และมีการสะสมของแคลเซียมเรียกภาวะน่า coronary artery calcification โดยภาวะนี้จะทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ส่งผลให้ระดับความดันโลหิตซีสโตลิค (systolic) เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตไดแอสโตลิค (diastolic) ลดลง ปริมาณเลือดเลี้ยงหัวใจลดลง และสุดท้ายเพิ่มอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด จากหลายการศึกษาพบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คือผู้ป่วยสูงอายุ โรคเบาหวาน ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดสูงการเพิ่มขึ้นของไข่ขาวในปัสสาวะ และการทำงานของไตลดลง

ปัจจุบันทั้งสมาคมโรคหัวใจ และสมาคมโรคไตของสหรัฐอเมริกาจัดว่า โรคไตเรื้อรังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมักจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงทั่วไปของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันสูงตามเช่น ประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน การสูบบุหรี่ สูงอายุ เบาหวาน เป็นต้น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heart disease (CVD) & chronic kidney disease (CKD). American Kidney Fund (AKF). (https://www.kidneyfund.org/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/complications/heart-disease/)
Cardiovascular disease in patients with chronic kidney disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2742701/)
The link between chronic kidney disease and cardiovascular disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4119330/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง
อาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

รู้จักโปรตีนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตคือประเภทมดบ้าง และควรรับประทานอย่างไรให้เหมาะสม

อ่านเพิ่ม