กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

รู้จักโปรตีนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคไตคือประเภทมดบ้าง และควรรับประทานอย่างไรให้เหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารจากเนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

เนื้อสัตว์ทุกชนิดมี "โปรตีน" เป็นส่วนประกอบหลัก  โปรตีนเป็นสารอาหารที่ช่วยในการเสริมสร้าง ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ทุกคนจึงมีความจำเป็นต้องรับประทานโปรตีนซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์และในพืช ผัก ธัญพืช ทุกชนิด เพียงแต่โปรตีนในพืชจะมีคุณภาพต่ำกว่าเนื้อสัตว์

ทำไมจึงต้องควบคุมโปรตีน

เมื่อร่างกายได้รับเนื้อสัตว์เข้าไปจะเกิดการย่อยและดูดซึมผ่านทางกระเพาะอาหารและลำไส้  ร่างกายจะนำสารอาหารที่จำเป็น เช่น กรดอะมิโน ที่ได้จากการย่อยไปใช้ประโยชน์ต่อ  ส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการจะส่งไปที่ไตเพื่อขับทิ้งออกมาในรูปแบบปัสสาวะ  ผู้ป่วยโรคไตซึ่งไตมีปัญหาในเรื่องการกรองของเสียจึงต้องใส่ใจการรับประทานอาหารประเภทโปรตีนทั้งจากเนื้อสัตว์และพืชมากเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักเกินไปและช่วยชะลอความเสื่อมของไตให้ช้าลง          

การควบคุมปริมาณโปรตีนในอาหารควรเริ่มตั้งแต่มีไตวายเรื้อรังระยะแรกๆ (ระดับครีอะตินีนในเลือด 1.5-2 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) ซึ่งจะสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ดีกว่าเมื่อไตสูญเสียหน้าที่ไปมากแล้ว โดยจำกัดให้ได้รับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ประมาณ 1 1/2 ช้อนกินข้าว ต่อน้ำหนักตัว 10 กิโลกรัมต่อวัน เช่น ถ้า น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม จะรับประทานเนื้อสัตว์ได้เพียง 7-8 ช้อนกินข้าวตลอดทั้งวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากโซเดียมที่เป็นตัวการสำคัญของโรคไตและการเกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีฟอสฟอรัสอีกอย่างที่จะทำให้อาการของโรคไตแย่ลง   เนื่องจากเมื่อไตกำลังเสื่อมก็จะมีความสามารถในการกรองเอาสารอาหารประเภทฟอสฟอรัสออกมาได้น้อยลงไปด้วย  โปรตีนส่วนใหญ่มีแร่ธาตุฟอสฟอรัสสูง  ฉะนั้นหมายความว่า ยิ่งรับประทานอาหารที่มีฟอสฟอรัสเข้าไปมากเท่าไรก็จะสะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้นเท่านั้น ทั้งที่จริงๆ แล้ว คนที่ไตทำงานปกติ ไตจะกรองเอาสารอาหารที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายออกให้ได้ คราวนี้เมื่อกำจัดพอฟอสฟอรัสออกไปไม่ได้จึงทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

อาหารจากเนื้อสัตว์ที่ควรหลีกเลี่ยง

1. เนื้อสัตว์ที่มีไขมันประเภทคอเลสเตอรอลมาก   ได้แก่ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังไก่ เนื้อติดมัน ซึ่โครงหมูติดมัน คอหมูย่าง หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา 
2. เนื้อสัตว์บางประเภทที่มีคุณค่าทางอาหารต่ำ   ทำให้ไตต้องทำงานหนักโดยเปล่าประโยชน์เพื่อขับถ่ายเอาของเสียออก ได้แก่ เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่ คากิ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ กระดูกอ่อน
3. เนื้อสัตว์ที่รับประทานทั้งเปลือก หรือกระดูก     เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด กบ หรือเขียดย่างพร้อมกระดูก  ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เนื่องจากมีฟอสฟอรัสจำนวนมาก

ตัวอย่างอาหารจากเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้ 

  • ไก่ย่าง ไก่อบ
  • หมูปิ้ง หมูอบ
  • เนื้อสันในย่าง อบ
  • ปลาต่างๆ  ปลาย่าง ปลานึ่ง ปลาเผา
  • กุ้งนึ่ง กุ้งเผา กุ้งลวก
  • ไข่ขาวต้ม ไข่ขาวทอดในน้ำ  ไข่ขาวเจียวในน้ำ ไข่ขาวตุ๋น

ฉะนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนสูงในปริมาณที่เหมาะสม  ปริมาณโปรตีนที่แนะนำคือ 0.6-0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 1 กิโลกรัม หรือขึ้นอยู่กับระยะของโรค และควรเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เนื่องจากมีไขมันต่ำและยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง  รวมทั้งไข่ขาว เนื้อหมู เนื้อไก่ (ไม่ติดหนัง-มัน) นมไขมันต่ำ เป็นต้น แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป และเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง

สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคไตมาจากพฤติกรรมการบริโภคของตัวเราเอง  ดังนั้นการป้องกันโรคไตจึงเริ่มต้นได้จากการดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคไต นอกจากจะต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อรับการรักษาด้วยการใช้ยา หรือรับการรักษาด้วยเครื่องฟอกไตแล้ว ก็ต้องให้ความใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้มากเช่นเดียวกัน 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kris Gunnars, Is Too Much Protein Bad for Your Health? (https://www.healthline.com/nut...), 27 April 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป