กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เป็นโรคไต ดื่มนมได้หรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เป็นโรคไต ดื่มนมได้หรือไม่

ในน้ำนม 1 กล่อง (240 มิลลิลิตร) มีโปรตีนคุณภาพดีประมาณ 8 กรัม เท่ากับเนื้อหมู หรือเนื้อไก่หั่น 2 ช้อนกินข้า แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังบางราย การดื่มนมอาจจะไม่เหมาะ เพราะในน้ำนมยังมีโปแตสเซียม และฟอสฟอรัส จึงรับประทานได้ในจำนวนจำกัด ผู้ป่วยที่ต้องจำกัดโปรตีน เมื่อดื่มน้ำนมก็ต้องลดปริมาณเนื้อสัตว์ได้รับในวันนั้นลงด้วย อาหารประเภทนมและผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมทุกประเภท นมผม นมแพะ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว เนยแข็ง และไอศกรีม

โปแตสเซียมและฟอสฟอรัส คืออะไร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

a3.gif

 โปแตสเซียม เป็นเกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป รวมทั้งในเลือดและในกล้ามเนื้อของคนเราด้วย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดและการคลายตัวของคนเราด้วย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดและการคลายตัวของกล้ามเนื้อทั่วไป รวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ ปกติไตจะขับโปแตสเซียมส่วนเกินทิ้งไปในปัสสาวะ แต่เมื่อมีไตวายโปแตสเซียมจะคั่งและมีผลทำให้หัใจเต้นผิดจังหวะจนถึงหยุดเต้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีไตวายและมีโปแตสเซียมในเลือดสูง ต้องควบคุมอาหารที่มีโปแตสเซียมเป็นส่วนประกอบ เช่น ผลไม้

a3.gif

 ฟอสฟอรัส เป็นเกลือแร่อีกชนิดหนึ่งที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับกระดูก โดยทำงานร่วมกับ แคลเซียม หากมีไตวายและระดับฟอสฟอรัสสูง กระดูกจะปล่อยแคลเซียมออกมาในเลือดเพื่อควบคุมระดับของฟอสฟอรัส ถ้าเกิดฟอสฟอรัสสูงนาน ๆ กระดูกจะบาง เปราะและหักง่ายในที่สุด


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Eating Right for Chronic Kidney Disease. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK). (https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease/chronic-kidney-disease-ckd/eating-nutrition)
17 Foods to Avoid If You Have Kidney Disease. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/foods-to-avoid-with-kidney-disease)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป