ส่วนผสมของบุหรี่มีอะไรบ้างและโทษของสารเคมีในบุหรี่คืออะไร

บุหรี่มหันตภัยร้ายที่น่ากลัวเพราะสูบเองก็เสี่ยง ถึงไม่สูบเองแต่ได้กลิ่นก็เสี่ยงไม่ต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ส่วนผสมของบุหรี่มีอะไรบ้างและโทษของสารเคมีในบุหรี่คืออะไร

การสูบบุหรี่ ไม่ใช่เรื่องเท่ ไม่ใช่สัญลักษณ์การเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ทางแก้ปัญหา หรือแนวทางหาไอเดีย แต่เรียกได้ว่า เป็นหนทางแห่งการตายแบบผ่อนส่งก็ไม่ผิดนักทั้งตัวผู้สูบเองและคนรอบข้างที่ได้รับควันบุหรี่นั่นเอง ยิ่งสูบมานาน ยิ่งได้รับควันนานยิ่งอันตราย  

อันตรายที่ว่านี้มาจากสารเคมีที่อยู่ในบุหรี่นั่นเองซึ่งล้วนแต่มีโทษกับร่างกายแทบทั้งสิ้น เมื่อร่างกายอยู่ในช่วงถดถอย สารเคมีในบุหรี่ที่สะสมในร่างกายก็จะเริ่มส่งผลก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย หรือจะเรียกว่า การสูบบุหรี่เป็นการตายแบบผ่อนส่งก็ไม่ผิดนัก องค์การอนามัยโลกถึงกับประกาศว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของปัญหาสาธารณสุขโลกในปัจจุบัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ส่วนประกอบของบุหรี่ 1 มวน

ตัวบุหรี่แต่ละมวนจะประกอบไปด้วยกระดาษห่อยาสูบมวนบุหรี่ รูปร่างทรงกระบอกยาวประมาณ 120 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร ด้านหนึ่งจะใช้สำหรับจุดไฟ ส่วนอีกด้านมีก้นกรองบุหรี่โดยปกติจะเป็นสีขาวนิ่มๆ ทำจากเส้นใยสังเคราะห์มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นที่เกิดขึ้นระหว่างสูบบุหรี่  ก้นกรองนี้จะทำหน้าที่ใช้สำหรับดูด  ภายในบุหรี่แต่ละมวนจะมีใบยาสูบบด หรือซอยที่ผ่านกรรมวิธีกระบวนการผลิตยาสูบแล้วอัดแน่นอยู่ ที่สำคัญยาสูบที่ว่านี้ยังมีการเพิ่มสารเคมีลงไปอีกกว่า 3,000 เพื่อให้ถูกใจผู้สูบ  

สารเคมีในบุหรี่และโทษของสารแต่ละชนิด

บุหรี่ 1 มวน จะมีนิโคตินอยุ่ราว 15-20 มิลลิกรัม นิโคตินเป็นสารเคมีไม่มีสีแต่มีพิษมาก ออกฤทธิ์รุนแรงที่สุดในบรรดาสารประกอบทั้งหมดของบุหรี่คือ ทั้งกระตุ้น กด และกล่อมประสาทส่วนกลาง  ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวมจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดหดตัวอันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด ที่สำคัญกระบวนการเสพติดก็สัมพันธ์กับนิโคตินเช่นเดียวกันเพราะทำให้ผู้สูบเกิดความสุขเมื่อได้สูบบุหรี่ เมื่อใดก็ตามที่นิโคตินต่ำลงผู้เสพก็จะรู้สึกหงุดหงิด ไม่สบายตัวและอยากหาบุหรี่มาสูบเพื่อระงับอาการเหล่านี้  นิโคตินจึงเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนติดบุหรี่นั่นเอง 

  • อะซีโตน 

มีผลต่อระบบหายใจที่ทำให้มีอาการระคายเคืองในเยื่อบุทางเดินหายใจ รู้สึกเวียนศีรษะ เป็นพิษที่ปอดที่ทำให้เกิดพังผืด เซลล์ตับตาย และหากสะสมในสมองจะทำให้ระบบประสาทเสื่อม

  • แอมโมเนียม 

มีผลในการรบกวนการหลั่งสารสื่อประสาท รบกวนการสร้างพลังงานภายในเซลล์สมองต่างๆ มีคุณสมบัติเป็นด่างจึงก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแสบตาและจมูก

  • สารหนู 

เป็นโลหะหนัก ทำลายระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด และเป็นสารก่อมะเร็งที่สำคัญ

  • บิวเทน 

เป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้สายตาพร่ามัว ร่างกายเมื่อยล้า ปวดศีรษะ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • แคดเมียม 

เป็นโลหะหนักที่มีผลต่อไตกับสมองที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • คาร์บอนมอนนอกไซด์ 

เป็นก๊าซชนิดเดียวกับที่พ่นออกจากท่อไอเสียรถยนต์  ทุกครั้งที่สูบบุหรี่คือการสูดแก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์เข้าไปในปอดมากกว่าจำนวนคาร์บอนมอนนอกไซด์หลายเท่า  เมื่อปอดดูดซึมคาร์บอนมอนนอกไซด์เข้าไปจะทำลายเม็ดเลือดแดงไม่ให้จับออกซิเจนได้ตามปกติ ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายขาดออกซิเจน ร่างกายจึงต้องสร้างเม็ดเลือดแดงมากขึ้น ส่งผลให้เลือดข้นและหนืดมากขึ้นทำให้หัวใจทำงานหนัก ตัดสินใจช้า มึนงง และเหนื่อยง่าย อาการดังกล่าวเป็นต้นเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ

  • โครไลโนไทรล์ 

ทำให้เกิดโรคโลหิตจางอย่างอ่อน ปลายมือเท้าซีด เม็ดเลือดขาวลด ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองกับเยื่อบุตา จมูก และปอด

  • ไซยาไนด์ / ไฮโดรเจนไซยาไนด์ 

ไซยาไนด์เข้าไปทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมตอนต้นและถุงลมปอดทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะมากในตอนเช้า และทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองได้

  • ไนโตรเจนไดออกไซด์ 

เป็นก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคืองสูงทำลายเยื่อบุหลอดลมตอนปลาย ทำให้เกิดผนังถุงลมโป่งพอง เมื่อถุงลมเล็กๆ แตกรวมกันเป็นถุงลมใหญ่จะส่งผลให้มีถุงลมน้อยลง และการยืดหยุ่นในการหายใจน้อยลงด้วยเช่นกัน

  • ฟอร์มาลดีไฮด์ 

ทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ทางเดินหายใจและเยื่อบุตา ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ อีกทั้งยังเป็นสารเคมีที่ใช้ในการดองศพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ตะกั่ว 

เป็นโลหะหนักซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาท เลือด ไต และระบบสืบพันธุ์ ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม เป็นโรคความดันโลหิตสูง การได้ยินผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็ง โดยมักจะพบสารเคมีชนิดนี้ในโรงงานอุตสาหกรรม

  • เมทิล เอทิล คีโทน 

ทำให้จมูกกับตาระคายเคืองและกดระบบประสาท

  • ปรอท 

มีผลต่อสมองที่ทำให้ความจำเสื่อม ใจสั่น และเป็นสาเหตุการเกิดโรคไต

  • พอโลเนียม 

เป็นสารกัมมันตรังสีที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด และยังเป็นพาหะร้ายแรงที่จะทำให้ผู้คนรอบข้างที่ไม่สูบบุหรี่ได้รับสารพิษต่างๆ ในบุหรี่ไปด้วย

  • ทาร์ หรือน้ำมันดิน 

ทาร์คือน้ำมันที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยาสูบ กระดาษมวน และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ในบุหรี่ ว่ากันว่าทาร์ประกอบด้วยสารเคมีนับร้อยชนิดและบางชนิดจะตกค้างในร่างกายทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังและมีเสมหะ รวมทั้งก่อให้เกิดมะเร็งที่ปอด กล่องเสียง หลอดอาหาร หลอดลม ไต กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่นๆ 

นอกจากนี้ยังพบว่า มีสารเคมีในบุหรี่อีกหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายแต่ยังไม่สามารถระบุโทษที่ชัดเจนได้ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่า พิษภัยของบุหรี่ไม่ได้เกิดกับเพียงผู้สูบเท่านั้นแต่ยังเกิดกับผู้ได้รับควันบุหรี่ด้วย ด้วยเหตุนี้ภาครัฐและเอกชนจึงมีการรณรงค์เลิกสูบบุหรีอย่างต่อเนื่องทุกปีเพื่อให้จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลง  แต่อย่างไรก็ดี การรณรงค์ดังกล่าวก็ดูเหมือนยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ตราบใดที่ยังมีค่านิยมผิดๆ แบบเดิมๆ อยู่  ฉะนั้นดูเหมือนว่าสิ่งเดียวที่ทำได้คือการดูแลตัวเองให้หางไกลจากควันบุหรี่นั่นเอง 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา, สารพิษในควันบุหรี่และผลกระทบโดยรวมต่อสุขภาพ (http://www.ptnosmoke.com/images/pdf/download/kit-01/03/007.pdf)
Arphawan Sopontammarak, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), รู้จักกับสารพิษที่สำคัญในบุหรี่ (https://bit.ly/2DN59Gi), 25 สิงหาคม 2560

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีเลิกบุหรี่แบบหักดิบ
วิธีเลิกบุหรี่แบบหักดิบ

เลิกบุหรี่แบบหักดิบ ความยากที่ตามมาด้วยผลลัพธ์ของสุขภาพที่ดี

อ่านเพิ่ม
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้

เรื่องราวของ Steve กว่าจะเลิกบุหรี่สำเร็จ ต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน

อ่านเพิ่ม