เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน

จะมามาก มาน้อย มากะปริบกะปรอย แต่ถ้าไม่ใช่รอบเดือนปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนอันตรายที่ต้องระวัง
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน

เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน เป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ แต่ละคนก็มีลักษณะและสาเหตุการเกิดแตกต่างกันไป ถึงแม้ว่าสาเหตุบางอย่างจะสามารถรักษาได้ง่าย แต่บางสาเหตุก็อาจแสดงว่า มีโรคที่ร้ายแรงได้   ดังนั้นเมื่อไรก็ตามหากคุณสังเกตเห็นเลือดที่ออกกะปริบกะปรอย หรือเลือดออกมาในช่วงระหว่างรอบเดือนควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

สาเหตุที่อาจทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน

เด็กผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี    ส่วนมากรอบเดือนนั้นจะอยู่ที่ 21-35 วันต่อรอบ ปกติจะมาครั้งละ 2-8 วัน โดยทั่วไปเลือดประจำเดือนจะมีปริมาณไม่เกิน 80 ซีซี และใช้ผ้าอนามัยวันละประมาณ 3 - 4 ผืน  ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่ออายุประมาณ 45-55 ปี  ดังนั้นเลือดที่ออกนอกเหนือจากรอบเดือนปกติและช่วงอายุดังกล่าวนั้น ไม่ว่าจะออกกระปริบประปรอย  ออกเพียงปริมาณน้อยนิด หรือออกปริมาณมาก  ถือว่า "ผิดปกติ" ทั้งนั้น และอาจจะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. ระดับฮอร์โมนผิดปกติ หรือไม่สมดุล

ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนนั้นเป็นฮอร์โมน 2 ตัวที่ควบคุมรอบเดือน   คุณอาจจะมีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้หากฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้ไม่สมดุลกัน สาเหตุต่อไปนี้สามารถส่งผลต่อสมดุลของฮอร์โมนได้

  • รังไข่ไม่ทำงาน
  • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
  • เริ่ม หรือหยุดใช้ยาคุมกำเนิด
  • อาจกินยาสมุนไพรบางอย่างที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง เช่น กวาวเครือ ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกผิดปกติได้
  • ผู้หญิงในวัยที่เพิ่งเริ่มมีประจำเดือน เช่น อายุ 13 ปี หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน เช่น อายุ 49 ปี มักมีภาวะฮอร์โมนแปรปรวน
  • ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดออกระหว่างตกไข่ จากการที่มีฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
  • การเริ่มใช้ยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดหรือยาฝังคุมกำเนิด  มักจะมีเลือดออกผิดปกติได้ในช่วง 3 เดือนแรก 

2. ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์

พบในผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยได้ รวมทั้งมีโกาสแท้งและการตั้งครรภ์นอกมดลูก แต่การที่มีเลือดออกกะปริบกะปรอยในระหว่างที่ตั้งครรภ์นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังจะแท้ง อย่างไรก็ตาม หากกำลังตั้งครรภ์และมีเลือดออกทางช่องคลอดควรไปพบแพทย์

3. เนื้องอกในโพรงมดลูก

เนื้องอกในโพรงมดลูกนั้นเป็นเนื้องอกที่เป็นเนื้อดีที่เกิดขึ้นในโพรงมดลูก ภาวะนี้นั้นพบได้ไม่บ่อยในผู้หญิงที่ผ่านการคลอดลูก

4. การติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง

เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือนอาจจะแสดงถึงการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น ปากมดลูด เยื่อบุโพรงมดลูก ได้ ซึ่งการติดเชื้อนั้นจะทำให้เกิดการอักเสบ  มีบาดแผล และมีเลือดออก   ตัวอย่างการติดเชื้อที่พบบ่อย เช่น

5. มะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์ผู้หญิง

มะเร็งของอวัยวะเหล่านี้สามารถทำให้มีเลือดออกได้

  • ปากมดลูก
  • เยื่อบุโพรงมดลูก
  • ช่องคลอด
  • มดลูก
  • รังไข่

ที่พบได้บ่อย เช่น มะเร็งปากมดลูก  มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

6. สาเหตุที่พบได้น้อย

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้แต่พบน้อยประกอบด้วย

  • การใส่อุปกรณ์เข้าไปในช่องคลอด
  • ความเครียดอย่างรุนแรง เช่น ใกล้สอบ นอนดึก มีปัญหาเกี่ยวกับงาน  ปัญหาการเงิน
  • โรคเบาหวาน
  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  • น้ำหนักเพิ่ม หรือลดมากๆ
  • โรคที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติเช่น ภาวะ VWD (Von Willebrand disease)
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ริดสีดวงทวารหนัก
  • ภาวะอักเสบของมดลูกหลังมีเพศสัมพันธ์

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

หากคุณมีอาการเหล่าร่วมกับเลือดออกผิดปกติ โดยเฉพาะอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ 

การวินิจฉัยและการรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอด

  • แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น หากเป็นไปได้ควรจดบันทึกรอบเดือนของคุณว่า  เริ่มมีประจำเดือนและหมดประจำเดือนเมื่อไหร่ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกและระยะเวลาที่มีรอบเดือน  นอกจากนั้นจะมีการถามอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน  ยาที่คุณกำลังรับประทาน และการคุมกำเนิด
  • การตรวจร่างกาย
  • การอัลตร้าซาวด์เพื่อหารอยโรค
  • การส่องกล้องเพื่อหารอยโรค
  • การตรวจภายใน 
  • แพทย์อาจจะมีการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน หรืออาจจะมีการเก็บตัวอย่างไปเพาะเชื้อ  หรือตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกไปตรวจได้ และแพทย์อาจจะมีการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด

การรักษาอาการเลือดออกทางช่องคลอด

ไม่มีวิธีที่จำเพาะต่อการรักษาการมีเลือดออกในระหว่างรอบเดือน การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เลือดออกผิดปกติ

ภาวะแทรกซ้อนของเลือดออกทางช่องคลอด

ในบางกรณีเลือดที่ออกผิดปกตินั้นอาจจะหายไปได้เอง แต่ในบางรายจำเป็นต้องรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ การที่ไม่ได้มาตรวจรักษานั้นอาจจะทำให้ปัญหานั้นรุนแรงขึ้น ซึ่งหากสาเหตุนั้นเกิดจากการติดเชื้อ มะเร็งหรือโรคที่ร้ายแรงอื่นๆ อาจจะทำให้เกิดผลที่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกันเลือดออกทางช่องคลอด

คุณอาจจะไม่สามารถป้องกันเลือดที่ออกระหว่างรอบเดือนได้ขึ้นกับสาเหตุ อย่างไรก็ตาม บางสาเหตุอาจจะสามารถป้องกันได้

  • ใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน กินให้ครบ 5 หมู่ 
  • มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินนั้นสามารถทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้
  • รักษาสุขภาพให้แข็งแรงจะส่งผลให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายเป็นเป็นปกติ
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่กินยาใดๆ โดยไม่จำเป็น 
  • หากรับประทานยาคุมกำเนิด ให้รับประทานตามที่ระบุไว้เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล  
  • รักษาอารมณ์ให้แจ่มใส

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือผู้หญิงโสดที่มีอายุเกินกว่า 35 ปี  ควรปรึกษาเข้ารับการตรวจภายในประจำปีและตรวจหามะเร็งปากมดลูก แม้ยังไม่มีความผิดปกติเกิดขึ้นก็ตาม เพราะถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็งในผู้หญิงได้ เนื่องจากแพทย์จะสามารถตรวจหาโรคในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการและมีโอกาสรักษาให้หายได้ง่าย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รศ. นพ. พีรพงศ์ อินทศร, เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด : สัญญาณอันตราย (http://www.si.mahidol.ac.th/si...), 28 พฤษภาคม 2561
Munro MG et al., FIGO classification system (PALM-COEIN) for causes of abnormal uterine bleeding in nongravid women of reproductive age. International journal of gynaecology and obstetrics: the official organ of the International Federation of Gynaecology and Obstetrics. 2011 Apr

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System
ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง Female Reproductive System

รู้จักการทำงานของระบบในร่างกายที่มีความซับซ้อน และมีความสำคัญต่อชีวิตผู้หญิงทุกคน

อ่านเพิ่ม