ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ทั่วไป หากมีอาการปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือหัวเราะ มันก็สามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะ Stress Incontinence ซึ่งถูกจัดให้เป็นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ประเภทหนึ่ง สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจามให้มากขึ้นพร้อมกับแนะนำวิธีรักษา
ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจามคืออะไร?
สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อไอที่พบได้มากที่สุดคือ กล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะอ่อนแอเนื่องจากมีการ เคลื่อนไหวแบบฉับพลัน อย่างไรก็ดี ไตผลิตปัสสาวะและเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งกล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะช่วยกักเก็บปัสสาวะโดยบีบรัดท่อปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มแล้ว กล้ามเนื้อรอบๆ กระเพาะปัสสาวะจะหดตัวและท่อปัสสาวะจะคลายตัวเพื่อปล่อยให้ปัสสาวะออกจากร่างกาย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทั้งนี้การกระทำบางอย่าง เช่น การไอ สามารถทำให้เกิดแรงดันที่กระเพาะปัสสาวะแบบฉับพลัน ซึ่งแรงดันที่ว่านี้สามารถทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหดตัวทันที อย่างไรก็ดี เราสามารถพบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานใต้ท่อปัสสาวะ โดยมีส่วนช่วยกลั้นปัสสาวะไม่ให้ไหลออกมา หากเราทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานผ่อนคลายชั่วขณะ การไอก็สามารถทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมาผ่านท่อปัสสาวะ
สาเหตุของภาวะปัสสาวะเล็ด
- ไอ จาม หัวเราะ
- ออกกำลังกาย
- ยกของหนัก
- กระโดด
- มีเพศสัมพันธ์
- ตั้งครรภ์
- คลอดลูก
- โรคอ้วน
- ยาบางชนิด
ปัจจัยเสี่ยง
ภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจามพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยพบได้ 1 ใน 3 ของผู้หญิง อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเมื่อคนมีอายุ 40 ปี หรือมากกว่านี้ ทำให้ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงมากที่สุด สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ประกอบไปด้วย การไอระยะยาว โรคอ้วน การสูบบุหรี่ การตั้งครรภ์ ท้องผูก การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป การผ่าตัดบริเวณใกล้กับเชิงกราน เป็นต้น
การรักษา
มีหลายวิธีที่ใช้รักษาภาวะปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม ตัวอย่างเช่น
1.ออกกำลังกาย
การยืดเส้นยืดสายและการออกกำลังกายช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยให้คุณขมิบอย่างน้อย 15-20 ครั้ง 3 รอบต่อวัน เป็นเวลานานหลายเดือน
2.ใช้เทคนิคอื่นๆ เสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากคุณไม่สามารถทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานบีบตัวหรือขมิบได้ คุณอาจต้องพึ่งเทคนิคอื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วย
- การใช้ไฟฟ้ากระตุ้น: ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยทำให้มันหดตัว และใช้ไฟฟ้าในการกระตุ้น
- Vaginal cones: เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ใส่ภายในช่องคลอดเป็นเวลา 10-20 นาที ซึ่งกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานจะโอบรัดอุปกรณ์ให้เข้าที่และทำให้แข็งแรงมากกว่าเดิม เพราะน้ำหนักจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น
- Biofeedback: ใช้ติดตามว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานบีบรัดตัวได้ดีมากเพียงใด ผลลัพธ์ที่ได้นั้นสามารถช่วยให้คนปรับปรุงการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายให้มีประสิทธิผลมากขึ้น
3.ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ภาวะปัสสาวะเล็ด ตัวอย่างเช่น
- การลดน้ำหนัก: ช่วยลดแรงกดที่กระเพาะปัสสาวะ
- เปลี่ยนนิสัยการดื่ม: การดื่มน้ำมากหรือน้อยเกินไปก็ล้วนแต่ทำให้ปัญหาแย่ลง ในขณะที่การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนก็สามารถทำให้อาการแย่ลงเช่นกัน
- การสูบบุหรี่: การเลิกบุหรี่ช่วยให้เราไอน้อยลง
4.การผ่าตัด
หากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง การผ่าตัดก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ซึ่งมันจะช่วยให้กล้ามเนื้อใต้กระเพาะปัสสาวะกระชับและช่วยพยุงกระเพาะปัสสาวะ
5.ยา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาภาวะปัสสาวะเล็ด ตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า Adrenergic Stimulators ยา กลุ่มไตรไซคลิก และฮอร์โมน อย่างไรก็ดี การทานยาอาจเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ใช้วิธีอื่นๆ แล้วแต่กลับไม่ได้ผล หรือไม่ต้องการผ่าตัด
จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า เราสามารถรักษาภาวะปัสสาวะเล็ดได้หลายวิธี แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน หากคุณรู้ตัวว่ามีอาการตามที่เรากล่าวไป คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้หาทางรักษาที่เหมาะสมกับคุณ คราวนี้คุณก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง
ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...