ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (Underactive thyroid)

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน หากเป็นแล้วต้องรีบทำการรักษา มิเช่นนั้นอาจจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ภาวะหัวใจวายได้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (Underactive thyroid)

ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน หรือภาวะขาดไทรอยด์ (Underactive Thyroid Gland หรือ Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอ ทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อย มีน้ำหนักเพิ่ม และรู้สึกซึมเศร้า

ผู้หญิงและผู้ชายสามารถประสบกับภาวะขาดไทรอยด์ได้ทั้งคู่ แต่มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และทารกประมาณ 1 ใน 3,500-4,000 คน จะเกิดมาพร้อมกับภาวะขาดไทรอยด์ (Congenital Hypothyroidism)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการของภาวะขาดไทรอยด์

อาการหลายอย่างของภาวะขาดไทรอยด์ จะเหมือนกับอาการของภาวะสุขภาพอื่นๆ จึงอาจทำให้ผู้ป่วยสับสนภาวะนี้กับโรคอื่นได้ เช่น เหน็ดเหนื่อย ท้องผูก ขี้หนาว ผิวแห้ง ผมและเล็บเปราะ มีการเคลื่อนไหวและความคิดที่ช้าลง ประจำเดือนมาไม่ปกติ และภาวะซึมเศร้า เป็นต้น

ผู้สูงอายุที่มีภาวะขาดไทรอยด์อาจมีปัญหาด้านความทรงจำกับมีภาวะซึมเศร้า ในเด็กเล็กอาจประสบกับปัญหาด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้า ส่วนในวัยรุ่นอาจมีการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ที่ช้ากว่าปกกติ

หากไม่ได้มีการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ก็อาจทำให้ภาวะขาดไทรอยด์มีความรุนแรงขึ้น และอาจเกิดอาการอื่นๆ เช่น เสียงแหบต่ำ ใบหน้าบวม คิ้วแหว่ง หัวใจเต้นช้าลง สูญเสียการได้ยิน และโลหิตจาง

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดไทรอยด์

มีภาวะแทรกซ้อนมากมายที่สามารถเกิดขึ้นได้ หากไม่รีบทำการรักษาภาวะขาดไทรอยด์ เช่น

  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ : การมีระดับฮอร์โมน Thyroxine ต่ำ สามารถทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งอาจทำให้ไขมันไปสะสมในหลอดเลือดแดงจนจำกัดการไหลเวียนของเลือด
  • คอพอก (Goitre) : อาการบวมของต่อมไทรอยด์อย่างผิดปกติ จนทำให้เหมือนมีก้อนเนื้อโตขึ้นในลำคอ เกิดจากร่างกายพยายามกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ให้มากขึ้น ในขณะที่มีภาวะขาดไทรอยด์
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำรุนแรง : อาจนำไปสู่ภาวะ Myxoedema Coma ที่เป็นอันตรายต่อชีวิตจากการหมดสติ หรือหายใจไม่ออก ผู้ที่มีภาวะนี้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉินในโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ : หากมีภาวะขาดไทรอยด์ขณะที่ตั้งครรภ์ และไม่ได้ทำการรักษา จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาต่างๆ ดังต่อไปนี้
    • ภาวะพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก : ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เกิดการสะสมของของเหลวในตัวมารดาและทำให้เกิดปัญหาการเติบโตของทารก
    • ภาวะโลหิตจางในมารดา
    • ภาวะขาดไทรอยด์ในทารก
    • ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารก
    • ปัญหาด้านพัฒนาการของร่างกายและสมองของทารก
    • การคลอดบุตรก่อนกำเนิดหรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
    • การตายคลอดหรือแท้งบุตร

สาเหตุของภาวะขาดไทรอยด์

ภาวะขาดไทรอยด์จะเกิดขึ้นเมื่อต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน Thyroxine (T4) ออกมาได้เพียงพอ โดยสาเหตุหลักๆ มักเกิดขึ้นจากปัจจัยเหล่านี้

  • ระบบภูมิคุ้มกัน : ภาวะขาดไทรอยด์มักเกิดขึ้นจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีต่อมไทรอยด์แทน ทำให้การผลิตฮอร์โมน Thyroxine ถูกยับยั้งลง จนทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ขึ้น ภาวะเช่นนี้เรียกว่าโรคฮาชิโมโต (Hashimoto's Disease) ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าอะไรทำให้เกิดโรคนี้ขึ้น แต่ก็จัดว่าเป็นโรคที่สืบทอดให้ลูกหลานได้ และยังพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวานประเภท 1 (Type 1 Diabetes) และโรคด่างขาว (Vitiligo)
  • การรักษาไทรอยด์ที่ผ่านมา : ภาวะขาดไทรอยด์สามารถเกิดขึ้นเป็นผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน จากการรักษาต่อมไทรอยด์ต่างๆ เช่น การผ่าตัดหรือการบำบัดด้วยการแผ่รังสีไอโอดีน ซึ่งการรักษาเหล่านี้มักนำมาใช้กับภาวะไทรอยด์มากเกิน หรือมะเร็งไทรอยด์
  • การขาดไอโอดีน : ร่างกายจำเป็นต้องใช้ไอโอดีนในการผลิตฮอร์โมน Thyroxine เมื่อขาดไอโอดีน หรือได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์
  • ความผิดปกติต่อมใต้สมอง : ต่อมใต้สมองจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์ ดังนั้น เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นที่ต่อมใต้สมอง จึงอาจทำให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ขึ้นตามมา
  • การใช้ยาบางประเภท เช่น
    • ลิเทียม (Lithium) : ยาที่ใช้รักษาภาวะทางจิตอย่างภาวะซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
    • Amiodarone : ยาที่ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Arrhythmias)
    • Interferons : กลุ่มของยาที่ใช้รักษามะเร็งบางประเภทและโรคตับอักเสบ C

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การวินิจฉัยภาวะขาดไทรอยด์

คุณควรรีบไปพบแพทย์และเข้ารับการตรวจเลือดทันทีหากคุณมีอาการของภาวะขาดไทรอยด์ แม้จะมีอาการเบื้องต้นแค่ รู้สึกหนาวเย็น เหนื่อยง่าย น้ำหนักขึ้น หรือมีภาวะซึมเศร้า เพราะการเปลี่ยนแปลงลงของระดับฮอร์โมนที่ไทรอยด์ผลิตออกมาอย่าง As Triiodothyronine (T3) กับ Thyroxine (T4) จนต่ำ สามารถส่งผลต่อกระบวนการจัดการกับไขมันของร่างกายได้

และผลกระทบที่ตามมา คือทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงและภาวะหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ และอาจทำให้เกิดอาการหัวใจอื่นๆ ตามมา เช่น เจ็บหน้าอกและหัวใจวาย เป็นต้น

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจมีอาการของภาวะขาดไทรอยด์ ก็จะมีการทดสอบการทำงานของไทรอยด์ โดยการตรวจเลือดจะวัดระดับฮอร์โมน เพื่อวัดระดับ Thyroid-Stimulating Hormone (TSH) กับ Thyroxine (T4) ในเลือด

ระดับของ TSH ที่สูงและระดับ T4 ในเลือดที่ต่ำ อาจหมายความว่ามีภาวะขาดไทรอยด์ แต่หากผลการตรวจแสดงให้เห็นค่า TSH ที่เพิ่มขึ้น แต่มี T4 เป็นปกติ อาจหมายความว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะขาดไทรอยด์ในอนาคต

การรักษาภาวะขาดไทรอยด์

การรักษาภาวะขาดไทรอยด์จะเกี่ยวข้องกับการรับประทานฮอร์โมนชนิดเม็ดที่เรียกว่า Levothyroxine ทุกวัน เนื่องจากยาตัวนี้จะไปเพิ่มระดับของ Thyroxine ขึ้น ซึ่งผู้ที่ภาวะขาดไทรอยด์จะต้องรับประทานยานี้ทุกวันไปตลอดชีวิต แต่ข้อดีคือผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป

การใช้ยา Levothyroxine ที่ถูกต้อง คือควรใช้ยาตัวนี้วันละ 1 ครั้ง ภายในเวลาเดียวกันทุกวัน ส่วนวิธีการรับประทานยา Levothyroxine คือกลืนพร้อมน้ำในขณะที่ท้องว่าง และต้องเลี่ยงการรับประทานอาหารหลังจากรับประทานยา 30 นาที

หากลืมรับประทานยา ให้รีบรับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้ ในกรณีที่ล่าช้ากว่าเวลาปกติประมาณ 30 นาที แต่ถ้าเกินกว่านั้นให้ข้ามการรับประทานยาในครั้งนั้นไปเลย และให้รับประทานยาครั้งต่อไปในเวลาเดิม ยาชนิดนี้มักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ เพราะเป็นยาเม็ดที่ใช้ชดเชยฮอร์โมนที่หายไปเท่านั้น แต่ถ้าใช้ในปริมาณมากเกินไป ก็อาจทำให้มีอาการเหงื่อออก เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องร่วง และอาเจียน


26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Signs and Symptoms of Hypothyroidism. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/hypothyroidism-symptoms)
Underactive thyroid (hypothyroidism) - NHS (https://www.nhs.uk/conditions/underactive-thyroid-hypothyroidism/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร
นักแสดง Sofia Vergara รอดชีวิตจากการเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า Sofia Vergara นักแสดงสาวที่มีชื่อเสียงจากเรื่อง Modern Family เคยป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มาก่อน

อ่านเพิ่ม
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ฉันสามารถรับประทานอะไรได้บ้างหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

ควรรับประทานหรือระวังอะไรหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์

อ่านเพิ่ม