พิษในอาหารที่ต้องระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
พิษในอาหารที่ต้องระวัง

พิษในอาหารที่ต้องระวัง

มีการตรวจสอบพบว่าอาหารหลายชนิดที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดและตามร้านค้าต่างๆ นั้น เป็นอาหารที่มีอันตรายจากสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งเราก็สามารถที่จะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพของเราได้ด้วยการพยายามหลีกเลี่ยงหรือทานให้น้อยลง ซึ่งสารเคมีที่เป็นอันตรายที่มักนิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจากข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ก็มีดังต่อไปนี้

  1. สารบอแรกซ์ (Borax)

    สารบอแรกซ์เป็นสารที่มีลักษณะเป็นผงสีขาว เป็นที่รู้จักกันในชื่ออื่นๆ อีกมากมายหลายชื่ออย่างเช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่ม สารบอแรกซ์เป็นสารที่นิยมใช้วงการอุตสาหกรรม เช่นใช้ในการทำแก้วเพื่อให้สามารถทนต่อความร้อนได้ดี ใช้เป็นสารที่ทำหน้าที่ประสานในการเชื่อมทอง เป็นสารที่ช่วยยับยั้งเชื้อราในแป้งทาตัวไม่ให้เกิดการเจริญเติบโต เป็นต้น และเป็นที่นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารเพื่อเพิ่มความหยุ่นกรอบ คงตัวอยู่ได้นาน และช่วยไม่ให้อาหารบูดเสียเร็ว

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    อาหารที่มีสารบอแรกซ์เป็นส่วนผสม

    อาหารที่มักจะนำสารบอแรกซ์เป็นส่วนผสมก็จะมี หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ดอง ทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น

    พิษจากสารบอแรกซ์จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

    1. แบบเฉียบพลัน

      โดยจะมีอาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง

    2. แบบเรื้อรัง

      มีอาการที่พบคืออ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ

      ข้อแนะนำ

      แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
      ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

      แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

      • หลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูที่มีลักษณะผิดเพี้ยนจากธรรมชาติ
      • หลีกเลี่ยงการซื้อเนื้อหมูบดสำเร็จรูปมาประกอบอาหาร โดยควรซื้อเป็นชิ้นแล้วนำมาบดหรือสับเอง
      • หลีกเลี่ยงการกินอาหารจำพวกกรอบเด้ง หรืออยู่ได้นานกว่าปกติ
  2. สารกันรา

    อาหารที่มักจะนำสารกันรามาเป็นส่วนผสมก็จะมีน้ำผักดอง น้ำดองผลไม้ แหนม หมูยอ เป็นต้น

    พิษจากสารกันรา

    สารกันราจะเข้าไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ซึ่งหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากก็จะส่งผลให้เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ถูกทำลาย ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ และอาจทำให้เกิดอาการความดันโลหิตต่ำจนส่งผลให้มีอาการช็อกได้ หรือบางคนอาจมีอาการแพ้ มีผื่นคันขึ้นตามตัว อาเจียน หูอื้อ หรือมีไข้แม้ว่าจะได้รับเข้าไปไม่มากนักก็ตาม

    ข้อแนะนำ

    ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีความสดใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง พิจารณาเลือกซื้อจากแหล่งผลิตที่น่าเชื่อถือ ผ่านการรับรองคุณภาพ มีเครื่องหมาย อย. รับประกัน

  3. สารฟอกขาว

    สารฟอกขาว หรือผงซักมุ้งหรือที่มีชื่อทางเคมีว่าสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ (Sodium Hydrosulfite)เป็นสารเคมีที่นิยมนำมาใช้ในการประมงอย่างการฟอกแห อวน แต่ก็มีผู้ผลิตอาหารบางรายนำเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อให้อาหารดูขาวขึ้น โดยอาหารที่มักจะนำสารฟอกขาวมาเป็นส่วนผสมก็จะมีถั่วงอก ขิงฝอย ยอดมะพร้าว กระท้อน หน่อไม้ดอง น้ำตาลมะพร้าว ทุเรียนกวน

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    อันตรายจากสารฟอกขาว

    หากเกิดการสัมผัสโดยตรงจะส่งผลให้ผิวหนังเกิดการอักเสบ หรือเป็นผื่นแดง หากได้รับเข้าสู่ร่างกายจะทำให้อวัยวะภายในเกิดการอักเสบ จะมีอาการปวดหลัง ปวดศีรษะ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจติดขัด ความดันโลหิตลดลง และอาจเสียชีวิตได้หากบริโภคอาหารที่มีสารฟอกขาวมากเกินไป

    ข้อแนะนำ

    ควรเลือกบริโภคอาหารที่มีสีใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่ขาวจัด เพราะมั่นใจได้ถึง 80% ว่าจะไม่มีส่วนผสมของสารฟอกขาวนั่นเอง

  4. สารฟอร์มาลิน

    สารฟอร์มาลิน (Formalin) หรือน้ำยาดองศพ เป็นสารอันตรายที่นิยมนำมาใช้เพื่อให้อาหารคงความสดได้นาน ไม่บูดเสียง่ายโดยอาหารที่มักจะนำสารฟอร์มาลินมาใช้ก็จะมีผักสด เนื้อสด และอาหารทะเลสดต่าง ๆ

    อันตรายจากสารฟอร์มาลิน

    หากได้รับสารฟอร์มาลินเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดพิษอย่างเฉียบพลัน มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย หมดสติและหากได้รับในปริมาณมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

    ข้อแนะนำ

    ควรระมัดระวังการทานอาหารประเภทที่อาจมีส่วนผสมของสารฟอร์มาลินอย่างเด็ดขาด ซึ่งก็เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณนั่นเอง

  5. ยาฆ่าแมลง

    การใช้ยาฆ่าแมลงหรือใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้มียาฆ่าแมลงติดค้างอยู่ในผัก ผลไม้สด หรือปลาแห้ง

    อันตรายจากยาฆ่าแมลง

    หากได้รับเข้าสู่ร่างกายมากๆ ในครั้งเดียวจะก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันทันที เช่น ทำให้กล้ามเนื้อสั่น กระสับกระส่าย ชักกระตุก หมดสติ หายใจไม่สะดวก และอาจถึงขั้นหยุดหายใจได้ และที่พบมากก็คืออาการ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน อีกทั้งหากมีการสะสมของยาฆ่าแมลงในร่างกายเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้

    ข้อแนะนำ

    ควรเลือกกินผักผลไม้ที่ปลูกตามฤดูกาล ผักพื้นบ้าน ผักที่มีรูพรุนจากการถูกแมลงเจาะกิน หรือหากซื้อผักมาจากตลาดก็ควรล้างผักให้สะอาดเสียก่อน เพราะอย่างน้อยก็จะได้เจือจางสารพิษที่อาจปนเปื้อนมากับผักให้ลดน้อยลงนั่นเอง

    อย่างไรก็ดีไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องงดเว้นที่จะทานอาหารดังที่กล่าวมาแล้วเสียเลย เนื่องจากสารอันตรายเหล่านี้ไม่ได้มีปะปนอยู่ในอาหารเหล่านี้เสียทั้งหมด เพียงแต่เราอาจจะบริโภคให้ลดน้อยลง หรือเลือกซื้ออาหารที่ดูสะอาดปลอดภัยมีความน่าเชื่อถือก็จะอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับพิษภัยจากสารเหล่านี้ให้น้อยลง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natural toxins in food. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/natural-toxins-in-food)
Naturally Occurring Food Toxins. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3153292/)
Common Foods That Can Be Toxic. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/ss/slideshow-toxic-foods)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)