ภาวะสะโพกฝืดแข็ง (Hip stiff)

ภาวะสะโพกฝืดแข็ง อาจเป็นภาวะที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ภาวะนี้หากเป็นแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะสะโพกฝืดแข็ง (Hip stiff)

ภาวะสะโพกฝืดแข็ง อาจเป็นภาวะที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นเคย แต่ภาวะนี้หากเป็นแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

ข้อต่อสะโพกมีความสำคัญมากต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การลุกขึ้นยืน การเดิน การวิ่ง หรือการกระโดด แต่ถ้าหากเกิดภาวะสะโพกติดขัด หรือสะโพกฝืดแข็ง จะทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ เนื่องจากการก้าวแต่ละก้าว หรือเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการสะโพกฝืดแข็งอาจเกิดขึ้นได้ชั่วคราวแล้วหายไปเอง แต่ในบางกรณีก็อาจทำให้รู้สึกปวด หรือบาดเจ็บถาวรได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

อาการของสะโพกฝืดแข็ง

โดยทั่วไป อาการสะโพกฝืดแข็ง คือความรู้สึกที่ข้อต่อสะโพกไม่สามารถขยับได้สะดวกอย่างที่เคย และเมื่อขยับจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด อาจรู้สึกว่าสะโพกมีเสียงคลิกหรือเสียงป็อบขณะเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวจะถูกจำกัดลง และไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเช่นเคย

สาเหตุของสะโพกฝืดแข็ง

สะโพกฝืดแข็งอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน หรือเป็นส่วนหนึ่งของโรคเรื้อรังที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง เช่น สะโพกหักร้าว ข้อสะโพกเคลื่อน หรือข้อสะโพกแพลงที่เกิดขึ้นเมื่อเอ็นยืดสะโพกถูกยืดหรือฉีกขาด ในกรณีที่กระดูกสะโพกแตกหัก ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่ควรไปพบแพทย์ทันที

ในบางกรณีอาจพบอาการสะโพกฝืดแข็งหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อหน้าขา (Hip Flexor) ส่วนโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสะโพกฝืดแข็ง ได้แก่

  • โรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด (Ankylosing Spondylitis) : โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการปวดและตึงในกระดูกสันหลัง
  • โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก (Juvenile Idiopathic Arthritis: JIA)
  • โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis: OA)
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis: RA)
  • โรคเบอร์ไซติสบางประเภท (Bursitis) : การอักเสบของถุงน้ำรอบข้อต่อของคุณ เช่น ชนิด Inflammatory Bursitis และ Trochanteric Bursitis
  • Legg-Calve-Perthes disease : โรคที่ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงส่วนกระดูกต้นขาได้
  • Lyme disease
  • โรคเอ็นอักเสบ (Tendinitis)
  • โรคหัวกระดูกสะโพกตาย (Avascular necrosis of hip)

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

ให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับอาการสะโพกฝืดแข็ง

  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด
  • มีอาการปวดอย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่ต้นขาด้านบนหรือขาหนีบ และอาการจะแย่ลงเมื่อพยายามยกขาขึ้นหรืออ้าขาออก
  • มีผื่นที่ผิวหนัง
  • อาการบวมแดงรอบสะโพกชัดเจน หรือข้อต่อสะโพกผิดรูปอย่างเห็นได้ชัด

การวินิจฉัยอาการสะโพกแข็ง

แพทย์จะทำการวินิจฉัยภาวะสะโพกแข็ง โดยซักประวัติทางการแพทย์ เช่น โรคประจำตัว การบาดเจ็บครั้งล่าสุด รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับสะโพก จากนั้นจะทำการตรวจร่างกาย ด้วยการตรวจดูข้อต่อสะโพก สัมผัสข้อต่อเพื่อชี้จุดปวด ตรวจดูความผิดปกติขณะเคลื่อนไหว ก่อนจะส่งตัวไปถ่ายภาพรังสีเพื่อยืนยันผล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การส่งถ่ายภาพรังสี อาจทำด้วยการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ปกติ หรือทำการสแกนเอ็มอาร์ไอเพื่อระบุบริเวณที่อาจเกิดการแตกหักของกระดูกสะโพก หรือเพื่อตรวจหาว่ามีเอ็นหรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อตำแหน่งใดหรือไม่

การรักษาอาการสะโพกฝืดแข็ง

การรักษาสะโพกแข็ง ขึ้นอยู่กับภาวะที่เป็นสาเหตุ เช่น

  • กระดูกสะโพกแตกหัก จะรักษาด้วยการผ่าตัด
  • ข้อต่อสะโพกเคลื่อน ต้องจัดให้เข้าที่โดยอาจไม่ต้องเปิดแผล (Closed Reduction) หรือกรีดแผลบนผิวหนังเล็กน้อยเพื่อเคลื่อนข้อต่อให้กลับที่เดิม (Open Reduction)
  • โรคข้ออักเสบของสะโพกยังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้หายขาดได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว กลุ่มโรคดังกล่าวจะได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ และการทำกายภาพบำบัด
  • หากอาการรุนแรงมาก และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีใดได้ แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกทั้งหมด (Total Hip Arthroplasty)

การรักษาอาการสะโพกฝืดแข็งด้วยตัวเองที่บ้าง

หากอาการไม่รุนแรง สามารถดูแลตัวเองที่บ้านด้วยวิธีการดังนี้

  • ประคบร้อน หรือประคบเย็นที่สะโพก บริเวณที่ปวดหรือฝืด ไม่ควรนำถุงน้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบโดยตรงเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวไหม้หรือน้ำแข็งกัด
  • ลดการใช้งานข้อสะโพกที่ปวด และหมั่นยืดกล้ามเนื้อสะโพกเพื่อลดอาการตึง
  • รับประทานยาต้านการอักเสบ เช่น ยานาพร็อกเซน หรือยาไอบูโพรเฟน ซึ่งออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดร่วมด้วย

การป้องกันอาการสะโพกฝืดแข็ง

ยังไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันอาการสะโพกแข็งได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีวิธีง่ายๆ ที่สามารถปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวได้ เช่น การรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การวอร์มอัพ การยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย และการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงป้องกันการหกล้มภายในบ้าน ที่อาจทำให้กระดูกสะโพกหักได้

ที่มาของข้อมูล

Rachel Nall, What causes hip stiff? (https://www.healthline.com/symptom/hip-stiff), July 11, 2017.


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
[The stiff hip (post-traumatic ankylosis)]. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7157546)
Hip Osteoarthritis: Symptoms, Treatments, Exercise, Causes. WebMD. (https://www.webmd.com/osteoarthritis/hip-osteoarthritis-degenerative-arthritis-hip)
Stiff Hips: 11 Causes, Symptoms, Treatment, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hip-stiff)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป