กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ตุ่มสีแดงที่ขา

ตุ่มแดงที่ขา เกิดจากสาเหตุอะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตุ่มสีแดงที่ขา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตุ่มแดงที่ขา มักเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ แมลงกัดต่อย หรือโรคทางผิวหนัง เช่น โรคขนคุด รูขุมขนอักเสบ ผิวหนังอักเสบ ลมพิษ
  • มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดอาการตุ่มแดงได้ เช่น สบู่ น้ำยาซักผ้า เหงื่อ มลภาวะทางอากาศ น้ำหอม ยาปฏิชีวนะ ยาแก้แพ้
  • ตุ่มแดงสามารถเกิดได้จากโรคบางชนิด เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคตับอักเสบ โรคไข้หวัด โรคโพรงจมูกอักเสบ หรือเกิดจากโดนแมลงบางชนิดกัดต่อย เช่น ยุง หมัด เห็บ หิด ตัวเรื้อน
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มแดงได้ เช่น ไม่คุมอาหารจนน้ำหนักเกิน อาบน้ำร้อน หรือแช่น้ำร้อนบ่อย ไม่ดูแลผิวพรรณจนเป็นสิว หรือมีอาการผิวหนังอักเสบ
  • อาการตุ่มแดงสามารถลุกลามทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงได้ เช่น เป็นฝีฝักบัว เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เมื่อคุณมีตุ่มแดงขึ้นตามอวัยวะ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

การพบตุ่มแดงที่ขานั้นมักจะไม่ได้เกิดจากโรคร้ายที่ทำให้น่าตกใจ แต่ตุ่มเหล่านี้อาจจะทำให้รู้สึกคันและผิวขาดูไม่สวย แต่ในบางกรณีตุ่มแดงอาจเป็นอาการของโรคที่ร้ายแรงได้

ตุ่มแดงที่ขาเกิดจากอะไร?

ตุ่มแดงที่ขานั้นอาจเกิดจากการถูกแมลงกัดต่อย ปฏิกิริยาภูมิแพ้  หรือโรคทางผิวหนัง ขึ้นกับอายุและประวัติทางสุขภาพของผู้ป่วย สาเหตุที่พบบ่อยของการเกิดตุ่มแดง อาจมีดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. โรคขนคุด

โรคขนคุด (Keratosis Pilaris) เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป โดยจะทำให้เกิดตุ่มที่มีสีแดงหรือขาวขนาดเล็ก มีลักษณะเหมือนกับผดบริเวณต้นขาและแขน แต่มักจะไม่ได้ทำให้รู้สึกคันแต่อย่างใด 

โรคขนคุดจะเกิดเวลาที่รูขุมขนอุดตันจากเคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในผิวหนัง เส้นผมและเล็บ คุณมีโอกาสเกิดโรคนี้สูงหากคุณมีผิวหนังที่แห้งหรือผิวหนังอักเสบ 

ถึงแม้ว่าโรคนี้อาจจะไม่รุนแรง หรือเป็นอันตรายมากนัก แต่ก็ควรต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ควรใช้ในการรักษา และสำหรับผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องใช้เลเซอร์ในการรักษาด้วย

2. รูขุมขนอักเสบ

มักจะพบส่วนที่เพิ่งโกนขน หรือในตำแหน่งที่เสื้อผ้าเสียดสีกับผิวหนังบ่อยๆ มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดงคล้ายสิวตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่รูขุมขน ซึ่งมักเกิดจากการโกนขน การใส่เสื้อผ้ารัดๆ ร่วมกับความอับชื้น ความร้อนและเหงื่อ

3. ผิวหนังอักเสบ

มีลักษณะเป็นจุดสีแดงร่วมกับปื้น อาจแห้งและแตกด้วย หรือเป็นตุ่มน้ำที่มีน้ำไหลออกมาก็ได้ ทำให้รู้สึกคันมาก และมักจะมีอาการกำเริบเป็นช่วงๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผิวหนังอักเสบ

  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
  • น้ำหอม
  • สบู่และน้ำยาซักผ้า
  • เครื่องสำอาง
  • ขนสัตว์
  • เหงื่อและความร้อน
  • ความเครียด
  • พันธุกรรม
  • ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีมลภาวะสูงและมีอากาศเย็น
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคหอบหืด หรือโรคภูมิแพ้

90% ของผู้ป่วยมักจะเป็นเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี และ 50% ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

มียาหลายชนิดที่สามารถใช้รักษาภาวะนี้ได้ เช่น 

แพทย์จะช่วยวางแผนวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ โดยเฉพาะการระบุสารที่อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการ เพื่อให้คุณลดการสัมผัสกับผิวบริเวณที่อักเสบได้ และโรคนี้ยังสามารถเกิดการติดเชื้อจากโรคอื่นได้ด้วย 

ดังนั้นหากคุณเป็นโรคผิวหนังอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่รอบๆ คนที่เป็นโรคเริมหรืออีสุกอีใส เพราะจะทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังเอคซีมา เฮอร์เพติคัม (Eczema herpeticum) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และติดต่อได้รวดเร็วมาก

4. ลมพิษ

ตุ่มแดงจากอาการลมพิษจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง นูน คัน หรืออาจจะมีสีเดียวกับผิวก็ได้ และเมื่อกดผิวลง สีจะจางลงเป็นสีขาว สามารถพบที่ตำแหน่งใดก็ได้ในร่างกาย และพบได้ในผู้คนทุกช่วงอายุ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณสามารถเกิดลมพิษได้หลังจากสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น

  • อาหารบางชนิด
  • ยา
  • ละอองเกสร
  • ถุงมือยาง
  • ความร้อนหรือความเย็น
  • แมลง ซึ่งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น 

การใช้คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) หรือยาสเตียรอยด์ นั้นอาจจะช่วยบรรเทาอาการคันจากการถูกแมลงกัดได้ แต่การป้องกันการถูกแมลงกัดนั้นจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยอาจจะใช้ยากันแมลงหรือใส่เสื้อผ้าให้คลุมผิวหนังให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้ลมพิษนั้นอาจเกี่ยวข้องกับโรคบางโรคด้วย เช่น

  • ไข้หวัด
  • โพรงจมูกอักเสบ
  • โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Mononucleosis)
  • โรคตับอักเสบ
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง

การสังเกตการติดเชื้อ

โดยทั่วไปการมีตุ่มแดงขึ้นตามขานั้นไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล แต่การเป็นโรคทางผิวหนังนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้ 

จึงควรรักษาตุ่มแดงตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และคอยสังเกตว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ เช่น 

  • มีอาการบวมรอบๆ 
  • ตุ่มแดงด้วย 
  • มีจำนวนตุ่มมากขึ้น 
  • มีผื่นแดงขึ้น 
  • มีอาการปวด 
  • แสบ 
  • มีไข้ 
  • ตุ่มสีแดงกลายเป็นตุ่มน้ำ

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ 

นอกจากปัจจัย และสาเหตุที่ทำให้เกิดตุ่มแดงตามกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดตุ่มแดงได้ เช่น

  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์เรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia: CLL) 
  • โรคเบาหวาน (Diabetes)
  • โรคเอดส์ หรือโรคต่างๆ ที่ทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • มีสิวหรือผิวหนังอักเสบ
  • ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ
  • แช่น้ำร้อน หรืออาบน้ำร้อนบ่อยๆ
  • มีน้ำหนักเกิน

ภาวะการเกิดตุ่มแดงที่ขามักจะทำให้คัน และไม่สบายตัว แต่ไม่ได้เป็นอันตราย ยกเว้นแต่มีการติดเชื้อ หรือการอักเสบรุนแรงขึ้น เช่น ฝีฝักบัว (Carbuncle) หรือ เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ซึ่งส่วนมากอาการมักจะหายได้เอง 

อย่างไรก็ตาม หากมีอาการเหล่านี้มากว่า 10 วัน หรืออาการแย่ลง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดตุ่มแดงต่อไป

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rashes affecting the lower legs. DermNet NZ. (https://www.dermnetnz.org/topics/rashes-affecting-the-lower-legs/)
Pimples on legs: Causes and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321966)
Causes of Red Bumps and Spots on Legs. Healthline. (https://www.healthline.com/health/skin-disorders/red-bumps-on-legs)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล
การห้ามเลือดและดูแลบาดแผล

วิธีการปฐมพยาบาลบาดแผลและการห้ามเลือด

อ่านเพิ่ม