เกลือในเนื้อเยื่อทั้ง 12 ชนิด และหน้าที่ของพวกมัน

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เกลือในเนื้อเยื่อทั้ง 12 ชนิด และหน้าที่ของพวกมัน

เกลือในเนื้อเยื่อทั้ง 12 ชนิด และหน้าที่ของพวกมัน

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเกลือในเนื้อเยื่อทั้ง 12 ชนิด ได้แก่ ฟลูออไรด์จากหินปูน&ฟอสเฟตจากหินปูนซัลเฟตจากหินปูน ฟอสเฟตจากเหล็กคลอไรด์จากโพแทสเซียมคลอไรด์ซัลเฟตจากโพแทสเซียมซัลเฟตโพแทสเซียมฟอสเฟตฟอสเฟตจากแมกนีเซีย คลอไรด์จากโซดา ฟอสเฟตจากโซดาซัลเฟตจากโซดกรดซิลิซิกรวมทั้งหน้าที่ของเกลือเหล่านี้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เกลือในเนื้อเยื่อเป็นสารประกอบแร่ธาตุอนินทรีย์ของเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ในร่างกายคุณ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเกลือชีวเคมีซูเอสเลอร์ ซึ่งตั้งขึ้นตามชื่อของนายแพทย์ซูเอสเลอร์ (Dr. W.H. Schuessler) ผู้ค้นพบเป็นครั้งแรกในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คุณหมอชูเอสเลอร์พบว่า หากร่างกายขาดเกลือชนิดใดชนิดหนึ่งจะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ และหากได้รับเกลือนั้นทดแทน ร่างกายก็จะสามารถเยียวยาตัวเองให้หายได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้เกลือแร่เหล่านี้จะไม่ใช่ยาที่รักษาโรคให้หายขาด แต่ก็จัดเป็นเครื่องช่วยเยียวยารักษาโรคที่ดีได้

เกลือในเนื้อเยื่อทั้งสิบสองชนิดมีดังนี้

  • ฟลูออไรด์จากหินปูน(แคล. ฟลูออ) พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทุกส่วนของร่างกาย หากสมดุลของเกลือแร่ชนิดนี้เสียไป อาจก่อให้เกิดภาวะเส้นเลือดขอตฟันขึ้นช้า เส้นเอ็นกล้ามเนื้อเคล็ด ฝีฝักบัว และผิวหนังแตกแห้ง
  • ฟอสเฟตจากหินปูน(แคล. ฟอส.) พบได้ในทุกเซลล์และของเหลวในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของน้ำย่อยในกระเพาะ รวมไปถึงกระดูกและฟัน การเสียสมดุลของเกลือแร่ชนิดนี้อาจเป็นสาเหตุของอาการมือเท้าเย็นอาการชา ถุงน้ำที่ขึ้นผิดปกติตามอวัยวะต่างๆ เจ็บเต้านม และเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ซัลเฟตจากหินปูน(แคล. ซัลฟ์.) เป็นอนุภาคเล็กๆ ที่เป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทุกชนิด รวมไปถึงในเซลล์ของตับ การเสียสมดุลของเกลือแร่ชนิดนี้อาจเกี่ยวพันกับผื่นผิวหนัง ฝีหนอง หรือแผลพุพองเรื้อรัง
  • ฟอสเฟตจากเหล็ก(เฟอร์. ฟอส.) เป็นส่วนหนึ่งของเลือดและเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ยกเว้นเส้นประสาท หากร่างกายเสียสมดุลหรือขาดเกลือแร่ชนิดนี้ อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วงเรื้อรังหรือท้องร่วงเป็นพักๆ หรือท้องผูกได้ มีการนำมาใช้ในการรักษาเลือดกำเดาและภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติด้วย
  • คลอไรด์จากโพแทสเซียมคลอไรด์(คาลิ. เมอร์.) พบใต้พื้นผิวเซลล์ หากร่างกายเสียสมดุลหรือขาดเกลือแร่ชนิดนี้ อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดเปลือกตาอักเสบ ผิวหนังอักเสบพุพอง และหูด
  • ซัลเฟตจากโพแทสเซียมซัลเฟต(คาลิ. ซัลป์.) เซลล์ผิวหนังและเซลล์เยื่อบุอวัยวะภายในต่างๆ ล้วนต้องใช้เกลือแร่ชนิดนี้ หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลไป อาจก่อให้เกิดผื่นผิวหนัง คราบเหลืองที่ลิ้น ความรู้สึกเมื่อยล้าและปวดตามแขนขา
  • โพแทสเซียมฟอสเฟต(คาลิ. ฟอส.) พบได้ในเนื้อเยื่อทุกชนิดโดยเฉพาะบริเวณประสาท สมอง และเม็ดเลือด หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลของเกลือแร่ชนิดนี้ อาจทำให้การย่อยไขมันไม่สมบูรณ์ ความจำเสื่อม วิตกกังวล นอนไม่หลับ และมีอาการหน้ามือ ใจสั่น
  • ฟอสเฟตจากแมกนีเซีย(แมก. ฟอส.) อีกหนึ่งแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก ฟัน สมอง เส้นประสาท เลือด และเซลล์กล้ามเนื้อ หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลไป อาจทำให้เกิดตะคริว ปวดตามเส้นประสาท เจ็บแปล๊บๆ หรือปวดบิดในท้องได้
  • คลอไรด์จากโซดา(แนท. เมอร์ใ) ควบคุมความชุ่มชื้นของร่างกายและนำความชุ่มชื้นมาสู่เซลล์ หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลของเกลือแร่ชนิดนี้ไป อาจก่อให้เกิดอาการอยกาเกลือ แพ้อากาศ น้ำมูกน้ำตาไหลง่าย
  • ฟอสเฟตจากโซดา(แนท. ฟอส.) ช่วยผสมผสานกรดไขมันให้กลายเป็นเนื้อเดียว และช่วยให้กรดยูริกละลายในเลือด หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลของเกลือแร่นี้ อาจเกี่ยวพันกับอาการดีซ่าน ลมหายใจมีกลิ่น รู้สึกเปรี้ยว หรือเฝื่อนในปาก
  • ซัลเฟตจากโซดา(แนท. ซัลฟ์.) เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้เล็กน้อยในเนื้อเยื่อต่างๆ ทำหน้าที่กระตุ้นสารคัดหลั่งตามธรรมชาติ หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลของเกลือแร่นี้ไป อาจทำให้มีไข้ต่ำๆ ตัวบวม ซึมเศร้า และเกิดความผิดปกติของถุงน้ำดี
  • กรดซิลิซิก(ซิลิเซีย) ส่วนหนึ่งของเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ทั้งในผม เล็บ และผิวหนัง หากร่างกายขาดหรือเสียสมดุลของเกลือแร่นี้ อาจสัมพันธ์กับอาการความจำเสื่อม ฝีฝักบัว ผมร่วง และเล็บขบได้ การรับประทานธัญพืชไม่ขัดสีจะช่วยให้ร่างกายได้รับเกลือแร่ชนิดนี้พอเพียง

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sodium chloride toxicity and the cellular basis of salt tolerance in halophytes. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4332607/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป