โรคกลากและการติดเชื้อราอื่น ๆ

โรคกลาก โรคติดต่อได้ง่ายๆ จากการสัมผัส มีสาเหตุจากเชื้อรา สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการอับชื้น ซึ่งควรดูแลตนเองอย่างไรบ้างนั้น บทความนี้มีคำตอบ
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
โรคกลากและการติดเชื้อราอื่น ๆ

โรคกลาก (Ringworm) คือ โรคติดเชื้อราที่ทำให้เกิดผื่นรูปวงแหวนสีแดงหรือสีเงินบนผิวหนัง ซึ่งโรคกลากมักจะเกิดขึ้นบริเวณแขนหรือขาเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม กลากก็สามารถเกิดได้กับแทบทุกส่วนของร่างกาย เช่น ศีรษะ เล็บ เท้า ขาหนีบ เป็นต้น และแม้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของโรคกลากคือ Ringworm แต่ภาวะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวหนอนแต่อย่างใด

ภาวะติดเชื้อราอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกันที่ปรากฏกับหนังศีรษะ ขาหนีบ เท้า และเล็บจะเรียกว่า “ขี้กลาก” ซึ่งเป็นภาวะไม่รุนแรง สามารถรักษาให้หายได้ง่ายๆ แต่สามารถติดต่อและแพร่เชื้อได้ง่ายมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การติดเชื้อราขี้กลาก

การติดเชื้อราขี้กลากมีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่ปรากฏกลากขึ้นมา

โรคกลากมักจะมีลักษณะเป็นปื้นกลมแดงหรือเงิน บนผิวหนังที่อาจดูเป็นสะเก็ดๆ มีการอักเสบและคันอย่างมาก แต่สำหรับการติดเชื้อราประเภทอื่นๆ อาจมีความแตกต่างจากกลากเล็กน้อย

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์หากว่าตัวคุณหรือลูกของคุณเกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ ซึ่งสามารถรักษาด้วยการใช้ยาต้านเชื้อราที่ต้องให้แพทย์จัดจ่ายให้เท่านั้น อาการของการติดเชื้อที่หนังศีรษะ คือ เกิดปื้นสะเก็ดขนาดเล็กขึ้นบนหนังศีรษะ (อาจมีอาการปวดร่วมด้วย) 

ปื้นกลาก ทำให้ผมร่วงและคัน ส่วนการติดเชื้อราประเภทอื่นๆ  (รวมไปถึงกลาก) ก็สามารถรักษาได้ด้วยครีมต้านเชื้อราที่หาซื้อได้จากร้านขายยา แปลว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์นอกจากว่าจะมีอาการเรื้อรัง อีกทั้งทางเภสัชกรต่างแนะนำให้คุณไปพบกับแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยก่อนจะดีที่สุด

ดังนั้น คุณควรไปพบแพทย์เมื่อโรคกลากไม่ดีขึ้นหลังจากดำเนินการรักษาด้วยครีมต้านเชื้อราไปแล้วสองสัปดาห์ หรือคุณกำลังมีภาวะสุขภาพอื่นๆ ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง เช่นกำลังเข้ารับการบำบัดเคมี หรือใช้ยาสเตียรอยด์แบบเม็ด เป็นต้น

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดกลาก?

ผู้คนสามารถส่งต่อสปอร์เชื้อราได้จากการสัมผัสกันทางผิวหนังโดยตรง และจากการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การใช้ผ้าเช็ดตัว แปรงหวีผม และผ้าปูที่นอนเดียวกัน ส่วนภาวะน้ำกัดเท้าจะแพร่กระจายได้ง่ายในโรงยิมและห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าประจำสระว่ายน้ำ ซึ่งคุณสามารถติดเชื้อราโรคกลากได้จากการลูบสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวได้เช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ใครได้รับผลกระทบจากกลากได้บ้าง?

คาดกันว่ามนุษย์ประมาณ 20 - 30% จะประสบกับโรคกลากสักช่วงหนึ่งในชีวิต แม้โรคกลากจะสามารถเกิดกับใครก็ได้ แต่จะจะพบได้บ่อยในเด็กที่สุด ซึ่งการติดเชื้อราบริเวณขาหนีบจะพบได้มากในผู้ชายอายุน้อย และการติดเชื้อราบนหนังศีรษะจะพบได้บ่อยในเด็กที่ยังไม่เข้าสู่ช่วงเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะเด็กที่อาศัยอยู่ในแถบชนบท

การรักษาโรคกลาก

การติดเชื้อราโรคกลากส่วนมากจะไม่รุนแรงและสามารถรักษาได้ด้วยครีมต้านเชื้อราที่หาซื้อได้จากร้านขายยา สำหรับการติดเชื้อราบนหนังศีรษะสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อราแบบเม็ด หรืออาจใช้ร่วมกับแชมพูต้านเชื้อรา หากมีผิวหนังใกล้เคียงแตกหัก จะทำให้นำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ที่ต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การหยุดการแพร่กระจายเชื้อรา

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้กับผู้อื่น คุณควรเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง หรือเสื้อผ้าร่วมกับผู้อื่น หากคุณคาดว่าสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นกลาก ให้พาสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ทันที ซึ่งหากคุณทำการรักษาสัตว์เลี้ยงได้เร็ว คุณก็จะมีโอกาสติดเชื้อน้อยลงเท่านั้น 

หากว่าลูกของคุณติดเชื้อรา พวกเขายังคงสามารถไปโรงเรียนได้ แต่คุณควรแจ้งครูผู้ดูแลไว้เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไว้ก่อน นอกจากการรักษาจากแพทย์แล้ว  คุณควรดูแลเรื่องสุขอนามัยของตนเองและลูกตลอดเวลาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อรา

อาการของโรคกลาก

อาการของการติดเชื้อกลากจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ ดังนี้

โรคกลากบนผิวหนัง

อาการของโรคกลาก มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ผื่นรูปวงแหวนสีแดงหรือสีเงินบนผิวหนัง: ผิวหนังของคุณจะดูแดงขึ้นและมีอาการระคายเคืองรอบๆ วงแหวน แต่ผิวภายในวงแหวนจะมีสุขภาพดี ผิวหนังแตกสะเก็ด คัน และอักเสบ ซึ่งผื่นวงแหวนจะแพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ คุณอาจเกิดปื้นจากโรคกลากขึ้นมาหนึ่งจุดขึ้นไป และในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจทำให้ผิวหนังของคุณเห่อและมีตุ่มหนองเกิดขึ้นมา
  • สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรง: วงแหวนจะเพิ่มจำนวนขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้นจนรวมเข้าด้วยกัน วงแหวนอาจจะเห่อขึ้นมาเล็กน้อยและทำให้ผิวหนังข้างใต้คันอย่างมาก เกิดตุ่มหนองที่เจ็บปวดรอบวงแหวน

กลากบนใบหน้าและคอ

โรคกลากบนใบหน้าและคออาจไม่ปรากฏออกมาในรูปแหวน แต่อาจมีอาการคันและบวม หรืออาจเกิดสะเก็ดและแห้งเท่านั้น หากคุณมีหนวดเคราคุณอาจสังเกตว่าขนของคุณแตกออก

กลากบนมือ

โรคกลากบนมือ มักจะทำให้ผิวหนังบนฝ่ามือและง่ามนิ้วหนาตัวขึ้น ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นบนมือข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ และโดยปกติมักจะปรากฏบนมือด้านเดียว

การติดเชื้อราที่เล็บ 

อาการของภาวะเชื้อราที่เล็บ มีดังนี้ เล็บหนาตัว เล็บเปลี่ยนสี (เล็บเปลี่ยนเป็นสีขาว ดำ เหลือง หรือเขียว) เล็บเปราะและเริ่มหลุดลอกออก ผิวหนังรอบเล็บปวดและระคายเคือง

โรคน้ำกัดเท้า

อาการทั่วไปของโรคน้ำกัดเท้า คือ อาการคัน ผิวแดง ผื่นสะเก็ด และมักปรากฏตามช่องว่างระหว่างนิ้วเท้า สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงคุณอาจมีผิวหนังแตก ณ ตำแหน่งผิวหนังที่ติดเชื้อ มีตุ่มหนอง ผิวหนังบวม อาการแสบร้อนหรือเจ็บแปลบที่ผิวหนัง เกิดลายสะเก็ดบนฝ่าเท้า ระหว่างนิ้วเท้า และด้านข้างของเท้า

โรคสังคัง

อาการของสังคัง มีดังนี้ ผิวหนังมีสีแดงหรือน้ำตาล มีอาการปวด อาจมีตุ่มหนองเกิดขึ้นรอบๆ ผิวหนังที่มีอาการ คันและแดงรอบขาหนีบ รอบก้น หรือต้นขาด้านใน  มีผิวหนังบนต้นขาด้านในแตกสะเก็ด ซึ่งการออกกำลังกาย การเดิน และการสวมใส่เสื้อผ้าหรือชั้นในคับเกินไปจะทำให้อาการของการติดเชื้อราที่ขาหนีบรุนแรงขึ้น

การติดเชื้อราบนหนังศีรษะ

อาการของการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ มีดังนี้ ปื้นผิวหนังขนาดเล็กบนหนังศีรษะ อาจมีอาการปวดร่วมด้วย ปื้นผมร่วง คันหนังศีรษะ

ในกรณีที่เป็นรุนแรง อาจเกิดตุ่มหนองปวดบนหนังศีรษะ หนังศีรษะแตกสะเก็ด หัวล้าน (หากผมของคุณได้รับผลกระทบไปด้วย)

สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงมากๆ จะเกิดอาการอักเสบจนปวดขนาดใหญ่ที่เรียกว่า ชันนะตุบนหนังศีรษะ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหนองขึ้นได้ และอาจทำให้คุณมีไข้และต่อมน้ำเหลืองบวมได้

สาเหตุของโรคกลาก

การติดเชื้อรากลากเกิดมาจากเชื้อราชนิดหนึ่งที่เรียกว่า dermatophytes ที่อาศัยอยู่บนเคราติน เคราติน คือ เนื้อเยื่อกันน้ำแข็งๆ ที่อยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงผิวหนัง เส้นผม และเล็บมือ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การติดเชื้อรามักเกิดกับบริเวณเหล่านี้ (หนังศีรษะ ผิวหนัง หรือเล็บของคุณ)

กลากแพร่กระจายได้อย่างไร?

เชื้อรา คือ สปอร์ขนาดเล็กมากที่สามารถรอดชีวิตบนผิวหนังของคุณ บนดิน หรือตามสิ่งของในบ้านเรือนได้เป็นเดือนๆ เชื้อราเหล่านี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นในที่อบอุ่นและชื้น จึงเป็นเหตุให้เชื้อราสามารถแพร่กระจายในสระว่ายน้ำหรือห้องเปลี่ยนเสื้อสาธารณะได้ง่ายมาก ซึ่งสปอร์สามารถแพร่กระจายได้ 4 วิธีการ ดังนี้

  1. การสัมผัสกันทางร่างกายของมนุษย์กับมนุษย์
  2. การสัมผัสกันทางร่างกายของมนุษย์กับสัตว์ เช่น การลูบขนสุนัขหรือแมวที่ติดเชื้อ
  3. การสัมผัสกันของมนุษย์กับสิ่งของ ทั้งสัตว์และมนุษย์สามารถทิ้งสปอร์เชื้อราบนสิ่งของต่างๆ ได้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง เสื้อผ้า หรือแปรง เป็นต้น
  4. การสัมผัสกันของมนุษย์กับดิน  มักพบได้ไม่บ่อยนัก โดยการติดเชื้อรูปแบบนี้จะเกิดหลังจากสัมผัสกับดินที่ติดเชื้อเป็นระยะเวลาหนึ่ง

สำหรับผู้ใหญ่ คุณอาจเป็นตัวพาหะการติดเชื้อราบนหนังศีรษะได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องมาจากร่างกายเริ่มมีภูมิต้านทานการติดเชื้อตามกาลเวลา หากคุณเป็นพาหะเชื้อรา คุณสามารถส่งต่อเชื้อราให้แก่ผู้อื่นได้ง่ายมาก ซึ่งหากผู้ติดเชื้อเป็นเด็ก พวกเขาจะมีอาการขึ้นมา

กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดโรคกลาก

คุณจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราได้หากคุณมีความเสี่ยงต่อไปนี้

  • มีอายุน้อยหรือมีอายุมาก
  • เป็นแอฟริกา-แคริปเปียน (ในกรณีของการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ)
  • เป็นเบาหวานประเภทที่ 1
  • มีน้ำหนักมาก (ภาวะอ้วน)
  • กำลังมีภาวะทางการแพทย์ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น เอดส์หรือ HIV
  • กำลังเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น การบำบัดเคมี หรือการใช้ยาสเตียรอยด์
  • เคยประสบกับภาวะติดเชื้อรามาก่อนในอดีต
  • ป่วยเป็นภาวะหลอดเลือดแข็งตัว
  • มีระบบไหลเวียนโลหิตไม่ดี (โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดดำบกพร่องที่ทำให้เส้นเลือดดำที่ขาทำการดันเลือดกลับไปยังหัวใจลำบาก)

การวินิจฉัยโรคกลาก

โรคกลากและการติดเชื้อกลากอื่นๆ มักจะวินิจฉัยได้ง่ายๆ จากการสังเกตลักษณะและตำแหน่งของกลาก

การวินิจฉัยแยกโรค ระหว่างโรคกลากและการติดเชื้อราอื่นๆ

แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยการติดเชื้อราส่วนมากได้จากการสังเกตผิวหนังและสอบถามอาการที่เกี่ยวข้องกับคุณ อาจมีการทดสอบเพิ่มเติมตามความจำเป็นหากว่าอาการของคุณรุนแรงหรือไม่ตอบสนองต่อยาต้านเชื้อราที่ใช้ หากเกิดเช่นนี้ขึ้น แพทย์อาจทำการขูดตัวอย่างผิวหนังไปตรวจวิเคราะห์ในระดับจุลทรรศน์เพื่อหาชนิดของรานั้นๆ

การวินิจฉัยการติดเชี้อราบนหนังศีรษะ

แพทย์สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อราบนหนังศีรษะได้จากการสังเกตหนังศีรษะของคุณ การมองหาตำแหน่งของเชื้อรานั้นเป็นเรื่องสำคัญมากเนื่องจากครีมต้านเชื้อราบางชนิดจะออกฤทธิ์ได้ดีกับราบางประเภท 

แพทย์อาจทำการขูดตัวอย่างราจากหนังศีรษะของคุณไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อหาว่าเชื้อราที่คุณประสบจะสามารถรักษาได้ด้วยยาประเภทไหน แพทย์อาจจัดยาต้านเชื้อราให้คุณใช้ไปกว่าผลการตรวจจะออก และเมื่อผลออกมาแสดงให้เห็นว่ากรณีของคุณควรใช้ยาอีกประเภท แพทย์จะจัดจ่ายยาตัวใหม่ให้แก่คุณอีกที

การรักษาโรคกลาก

การติดเชื้อรากลากส่วนมากรวมไปถึงโรคกลากนั้นจะสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อรารูปแบบต่างๆ คุณยังสามารถหยุดการลุกลามและป้องกันการแพร่เชื้อราแก่ผู้อื่นได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การล้างบริเวณผิวหนังที่มีอาการทุกวันและเช็ดให้แห้งสนิท โดยใช้ความระมัดระวังอย่างมากกับบริเวณที่เป็นรอยพับและระหว่างนิ้วเท้า
  • ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อที่ขาหนีบหรือเท้า ควรเปลี่ยนกางเกงชั้นในหรือถุงเท้าทุกวันเพื่อป้องกันเชื้อราที่อยู่บนเศษหนัง
  • กรณีการติดเชื้อราบนหนังศีรษะ ไม่ควรใช้แปรงหวีผมร่วมกับผู้อื่น
  • ซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว และผ้าปูที่นอนบ่อยๆ
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ ที่ทอจากวัสดุจากธรรมชาติ

การรักษาโรคกลาก การติดเชื้อที่ขาหนีบ และโรคน้ำกัดเท้า

กรณีโรคกลาก การติดเชื้อขาหนีบ และโรคน้ำกัดเท้าส่วนมากสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ครีม เจล หรือสเปรย์ต้านเชื้อราที่วางขายตามร้านขายยา ตามท้องตลาดจะมีผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มากมาย ดังนั้น คุณควรปรึกษาสอบถามเภสัชกรก่อนเลือกซื้อสินค้า 

ส่วนมากมักเป็นครีมต้านเชื้อราที่ต้องทาหรือพ่นบนผิวหนังที่มีอาการทุกวันเป็นเวลาสองสัปดาห์ โดยควรใช้สารบนผื่นและบนผิวหนังโดยรอบขอบผื่นไปอีกหนึ่งนิ้ว ก่อนใช้ยาทุกครั้งคุณควรอ่านคำแนะนำที่ฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน 

อีกทั้งคุณควรดำเนินการรักษาต่อไปอีกสองสัปดาห์หลังอาการต่างๆ หายไปเพื่อป้องกันการกลับมาของโรค คุณควรไปพบแพทย์เมื่ออาการต่างๆ ไม่ดีขึ้นหลังดำเนินการรักษาสองสัปดาห์ เพราะว่าคุณอาจต้องเปลี่ยนไปรับประทานยาเม็ดต้านเชื้อราแทน โดยยาเม็ดเทอร์บินาฟีนกับกริเซโอฟูลวินมักจะถูกใช้ในการรักษาโรคกลาก เช่นเดียวกับยาต้านเชื้อราที่เรียกว่า อิทราโคนาโซล

การรักษากลากที่ขาหนีบร่วมกับเท้าพร้อมกัน

การติดเชื้อที่ขาหนีบบางครั้งก็เกิดขึ้นพร้อมกับโรคน้ำกัดเท้า หากเป็นเช่นนี้ก็ควรทำการรักษาการติดเชื้อทั้งสองตำแหน่งพร้อมกันเพื่อเลี่ยงการกลับมาติดเชื้อซ้ำ

การรักษาการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ

การติดเชื้อราที่หนังศีรษะมักรักษาได้ด้วยการรับประทานยาต้านเชื้อราพร้อมกับการใช้แชมพูต้านเชื้อรา โดยยาเม็ดที่ใช้มี 2 ประเภท ดังนี้

  • เทอร์บินาฟีน
  • กริเซโอฟูลวิน

ยาต้านเชื้อราที่แพทย์จัดให้จะขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อราที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น

ยาเม็ดเทอร์บินาฟีน

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อราบนหนังศีรษะส่วนมากจะได้รับยาเม็ดเทอร์บินาฟีนที่ต้องรับประทาน 1 ครั้งต่อวันเป็นเวลาต่อเนื่องนาน 4 สัปดาห์ โดยยาตัวนี้มักจะแสดงผลได้ดีกับกรณีส่วนมาก

ผลข้างเคียงของยาเทอร์บินาฟีน ดังนี้

ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงและมีระยะเวลาสั้น ผู้ป่วยบางรายรายงานว่าการใช้ยาเทอร์บินาฟีนจะทำให้ประสาทรับรสพวกเขาลดน้อยลงชั่วคราวอีกด้วย

ยาเทอร์บินาฟีนไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคตับหรือโรคพุ่มพวง (ภาวะที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี)

ยากริเซโอฟูลวิน

ยากริเซโอฟูลวินเป็นยาต้านเชื้อราที่ป้องกันไม่ให้เชื้อราเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้น ยานี้มักอยู่ในรูปแบบยาเม็ดและถูกกำหนดให้ใช้ทุกวันเป็นเวลา 8 - 10 สัปดาห์

ผลข้างเคียงของกริเซโอฟูลวิน ดังนี้

ผลข้างเคียงเหล่านี้ควรจะดีขึ้นตามความคุ้นชินของร่างกายที่มีต่อยา ยากริเซโอฟูลวินสามารถก่อให้เกิดความผิดปรกติของทารกได้ ดังนั้น คุณไม่ควรใช้ยานี้ระหว่างตั้งครรภ์ หรือหากคุณตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์หลังจากสิ้นสุดการรักษา 

สำหรับผู้ชาย ไม่ควรมีบุตรภายหลังการใช้ยาตัวนี้หกเดือน อีกทั้งยากริเซโอฟูลวินไม่เหมาะกับผู้หญิงที่กำลังให้นมบุตร และผู้ที่มีปัญหาตับรุนแรงหรือเป็นโรคพุ่มพวง 

ยากริเซโอฟูลวินจะเข้าไปยับยั้งประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดกับยา progestogen-only pill ทำให้ผู้หญิงควรใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแทน เช่น การใช้ถุงยางอนามัย เป็นต้น ในขณะที่ใช้ยากริเซโอฟูลวินความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะจะลดลงและยังไปเพิ่มผลจากฤทธิ์แอลกอฮอล์ขึ้นอีกด้วย

แชมพูต้านเชื้อรา

แชมพูต้านเชื้อราไม่ได้มีเพื่อรักษาภาวะติดเชื้อราบนหนังศีรษะ แต่มีเพื่อป้องกันการลุกลามของเชื้อราและเร่งกระบวนการฟื้นตัวขึ้นเท่านั้น แชมพูต้านเชื้อราอย่าง selenium sulphide กับ ketoconazole จะวางขายตามร้านขายยา และควรใช้ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงเริ่มการรักษา 2 อาทิตย์ และยังไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าการโกนศีรษะของเด็กจะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเร่งการฟื้นตัวได้จริง

อิทราโคนาโซล

อิทราโคนาโซลเป็นยาแคปซูลที่ต้องใช้เป็นเวลานาน 7 ถึง 15 วัน และไม่แนะนำกับเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาตับร้ายแรง

ผลข้างเคียงของอิทราโคนาโซล ดังนี้

  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • อาหารไม่ย่อย
  • ท้องร่วง
  • ปวดศีรษะ

การติดเชื้อราที่เล็บ

ภาวะเชื้อราที่เล็บสามารถรักษาได้ด้วยสีทาเล็บต้านเชื้อรา แต่ส่วนใหญ่แล้วต้องใช้ยาเม็ดต้านเชื้อราร่วมด้วยซึ่งอย่างหลังจะออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสีทาเล็บแม้ว่าจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นบ้างก็ตาม เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และท้องร่วง

การป้องกันโรคกลาก

คำแนะนำต่อไปนี้ มีเพื่อช่วยหยุดการแพร่กระจายของเชื้อรา โดยเชื้อราที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อกลากนั้น สามารถมีชีวิตอยู่บนเครื่องเรือน เช่น แปรงหวีผม เสื้อผ้า และผ้าเช็ดตัวได้เป็นเวลานาน และสามารถแพร่กระจายได้ทันทีที่มนุษย์สัมผัสโดนสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ ดังนั้น หากมีสมาชิกในครัวเรือนที่ติดเชื้อรา ควรปฏิบัติดังนี้

  • เลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย เช่น ืแปรงหวีผม ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า และผ้าปูเตียง เป็นต้น
  • เลี่ยงการเกาผิวหนังหรือหนังศีรษะที่มีอาการ เพราะจะทำให้เชื้อแพร่ไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้
  • สิ่งสำคัญคือ การตรวจสอบสมาชิกคนอื่นในบ้านและตนเองเพื่อมองหาสัญญาณของการติดเชื้อ และเพื่อไปรับการรักษาตามความจำเป็น หากคุณคาดการณ์ว่าสัตว์เลี้ยงของคุณเป็นต้นตอของการติดเชื้อ ให้พาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์ทันที กระจุกขนของสัตว์ตามพื้นบ้านอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อกลากได้
  • ควรล้างมือหลังสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อทุกครั้ง หากสมาชิกในครอบครัวของคุณติดเชื้อรา คุณไม่จำเป็นต้องให้พวกเขาลาเรียนหรือหยุดงาน แต่ควรเริ่มการรักษาในทันทีที่ทำได้ อีกทั้งการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลก็สามารถป้องกันการแพร่เชื้อไปยังเด็กอื่นได้
  • พยายามสวมรองเท้าหรือถุงเท้าป้องกันขณะอยู่ที่โรงยิมหรือห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าสาธารณะเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคน้ำกัดเท้า

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Phillip Rodgers, M.D., and Mary Bassler, M.D., Treating Onychomycosis (https://www.aafp.org/afp/2001/0215/p663.html), 15 Feb 2001

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป