คำถามสุขภาพที่หมออยากตอบ

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คำถามสุขภาพที่หมออยากตอบ

เมื่อเกิดความเจ็บป่วยขึ้นแล้วเข้ารับการรักษาหรือมาขอปรึกษาปัญหาสุขภาพ หมอจะถามคำถามตรวจร่างกาย บางครั้งมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หากจำเป็นต้องรักษา หมอจะทำการสั่งยาและนัดติดตามอาการ

การพูดคุยระหว่างหมอกับผู้ป่วยนอกจากช่วยให้หมอทำการวินิจฉัยโรคแล้ว ยังทำให้ทราบว่าผู้ป่วยเข้าใจโรคที่ตนเองเป็นมากน้อยเพียงใด และทุกครั้งที่ได้รับการตรวจรักษาเสร็จแล้ว เราควรถามตัวเองว่าถามคำถามดังต่อไปนี้ครบแล้วหรือยัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ป่วยเป็นอะไร

ถ้ายังไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรก็เป็นภาวะอาการ เพื่อจะนำไปหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือกรณีไปตรวจกับหมอคนอื่นจะได้บอกว่าเป็นอะไรได้ถูกต้อง เพราะมีหลายครั้งที่ผู้ป่วยไม่สามารถตอบได้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคอะไร

อะไรเป็นสาเหตุของโรค

เพราะโรคมีทั้งที่เกิดจากสาเหตุที่รักษาหายขาด รักษาได้แต่ไม่หายขาดและรักษาไม่ได้ จะทำให้เข้าใจถึงตัวโรคที่เป็นได้มากขึ้น

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคเลือดไหลไม่หยุด ฮีโมฟีเลีย เกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติของสารพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่มายังลูก รักษาไม่หายขาด
  • ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น โรคหัวใจผิดปกติในเด็ก โรคปานดำ เกิดจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง โดยมีสาเหตุจาก การติดเชื้อ อุบัติเหตุ การอักเสบภูมิคุ้มกัน มะเร็ง ใช้สารเสพติด รับประทานยาเกินขนาด
  • โรคที่เกิดจากความเสื่อม เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคข้อเสื่อม ต้อกระจก

อาการของโรคมีอะไรบ้าง

เพราะโรคๆหนึ่งจะมีการดำเนินโรคตั้งแต่เริ่มต้นและสิ้นสุดแตกต่างกัน เช่น

  • ไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงของไข้ โดยช่วง3 วันแรกจะมีไข้สูง ในขณะที่เกล็ดเลือดยังเป็นปกติ จากนั้นเข้สู่วันที่ 4 หรือช่วงที่ไข้เริ่มลด ร่างกายจะเข้าสู่ภาวะช๊อคได้จากน้ำเหลืองซึมออกนอกเส้นเลือด ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่เกล็ดเลือดลดต่ำลง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนความดันโลหิตต่ำ จากนั้นหลังให้การรักษาจนเข้าสู่ประมาณวันที่ 7 อาการจะค่อยๆดีขึ้น (วันที่เป็นเพียงคร่าวๆ)                        
  • โรคความจำเสื่อม เริ่มต้นจากคนที่มีความจำปกติ เมื่ออายุมากขึ้นเริ่มหลงลืมง่ายและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆยาก แต่ยังทำกิจวัตรประจำวันได้ พูดคุยรู้เรื่อง ต่อมา สมองฝ่อเพิ่มขึ้นจนทำให้นอกจากความจำจะลดลงแล้ว พฤติกรรม อารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จนท้ายที่สุดช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สื่อสารไม่ได้

แนวทางการรักษาเป็นอย่างไร

การรักษาโรคแตกต่างกัน บางโรครักษาได้ทั้งใช้ยาและไม่ใช้ยา เช่น โรคความดันโลหิตสูง ในเบื้องต้นแพทย์อาจแนะนำให้ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายและควบคุมอาหารก่อน จากนั้นตรวจซ้ำหากพบว่าไม่สามารถควบคุมได้จึงเริ่มใช้ยา ดังนั้นหากแพทย์ไม่ได้สั่งยาในผู้ป่วยทุกรายที่เจ็บป่วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

โรคไม่ซับซ้อน ก็สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้แต่ไม่บ่อย เช่น

  • กรวยไตอักเสบตัวบวมเกิดภายหลังติดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้คอหอยอักเสบหรือผิวหนังอักเสบในเด็ก
  • ปอดบวม จากการติดเชื้อ มือ เท้า ปาก
  • อัณฑะอักเสบ จากโรคคางทูม
  • ไขสันหลังอักเสบ จากโรคงูสวัด
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากวัณโรคปอด

การใช้ยา

ควรถามหมอทุกครั้งถึงผลข้างเคียงของยา แจ้งประวัติแพ้ยารวมถึงยาเดิมที่รับประทานอยู่ การสังเกตว่าตนจะแพ้ยาหรือไม่ทำได้ดังนี้

  • กรณีไม่เคยได้รับยาชนิดนั้นมาก่อน การแพ้จะเกิดขึ้นประมาณ 5-7 วัน อาการเป็นได้ตั้งแต่ ไข้ตัวร้อน มีผื่นแบบตุ่มคัน ลมพิษ ตาแดง ตาบวม ปากบวม หายใจเหนื่อย ถ้าแพ้รุนแรงอาจมีความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุในปากบวม เสมหะเยอะ หายใจไม่ออก
  • กรณีเคยได้รับยามาก่อน การแพ้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังได้รับยาชนิดเดิม และสามารถแพ้ได้รุนแรง

หากสงสัยว่าแพ้ยาต้องหยุดรับประทานทันทีและรีบกลับไปพบแพทย์ หากสามารถจดจำวันเวลาที่รับประทานยานั้นๆได้ด้วยจะช่วยให้หาตัวยาที่แพ้ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ทบทวนความเข้าใจ

ทบทวนความเข้าใจว่าที่หมออธิบายมากับที่เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ จากปัจจัยของหมอและผู้ป่วยพบว่า

  • หมอ ให้ข้อมูลมาก ผู้ป่วย จับใจความได้ดีมาก -> การสื่อสารสำเร็จ
  • หมอ ให้ข้อมูลมาก ผู้ป่วย จับใจความได้ครึ่งๆกลางๆ หรือจำได้เฉพาะตอนสุดท้าย -> ต้องสรุปสุดท้ายสั้นๆ
  • หมอ ให้ข้อมูลมาก ผู้ป่วย ฟังเฉพาะสิ่งที่เขาต้องการได้ยิน -> มักพบเวลาพูดถึงโรคที่ไม่ดี การรักษาที่ไม่ได้ผล ภาวะแทรกซ้อน
  • หมอ ให้ข้อมูลน้อย ผู้ป่วย จับใจความได้ดีมาก -> ผู้ป่วยถาม
  • หมอ ให้ข้อมูลน้อย ผู้ป่วย จับใจความได้น้อย -> หาใครมาช่วยฟัง ช่วยถาม

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
General Questions to Ask Your Doctor. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/questions_to_ask_your_doctor_-_general/views.htm)
What Should I Ask My Doctor During a Checkup?. National Institute on Aging. (https://www.nia.nih.gov/health/what-should-i-ask-my-doctor-during-checkup)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป