คำถามที่ใช้ซักอาการ เพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ ในการจ่ายยาระบบทางเดินปัสสาวะ ควรใช้คำถามเบื้องต้น ดังนี้
1. ชักอาการปวด
อาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณทางเดินปัสสาวะสามารถนำมาคาดเดาได้ว่าน่าจะเกิดความผิดปกติประเภทใดกับระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเราแบ่งอาการปวดที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะออกเป็น 4 แบบ ดังนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
1.1 ปวดมาก-เบา ปวดอย่างรุนแรงเป็นพักๆ ทางการแพทย์เรียกว่า “ปวดดิ้น” (Colicky pain)
อาการปวดลักษณะนี้เป็นอาการปวดจากการที่ระบบทางเดินปัสสาวะมีสิ่งอุดกั้นทำให้ท่อไตหรือท่อปัสสาวะเกิดการหดตัวอย่างแรง เพื่อพยายามกำจัดสิ่งอุดกั้นออกไป และเกิดอาการปวดแบบ “ปวดดิ้น”
1.2 อาการปวดกระจายตามแนวต่างๆ หาจุดปวดที่แน่นอนไม่ได้ ทางการแพทย์เรียกว่า "ปวดร้าว" (Referred pain)
เป็นลักษณะปวดอีกแบบหนึ่งที่มักมีสาเหตุมาจากเกิดการอุดกั้นตามทางเดินปัสสาวะเช่นกัน เป็นอาการปวดที่กระจายไปตามแนวเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจปาดลงมาตามหน้าขา บริเวณช่วงเอว และช่วงหลัง
1.3 ปวดหน่วงๆ น้ำหนักเสมอกัน อาการปวดแบบนี้เรียกว่า "ปวดตื้อ" (Dull pain)
อาการปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย และปวดแต่ละครั้งเป็นเวลานาน มักมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการอักเสบติดเชื้อ จนมีการพองตัว ยืดตัวออกของกล้ามเนื้อเรียบบริเวณท่อไตหรือกรวยไต หรือแม้แต่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
1.4 อาการปวดจี๊ดๆคล้ายมีของแทง
เป็นอาการที่มักมีสาเหตุจากการติดเชื้อจนมีหนองขังอยู่ตามบริเวณต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ
2. ปริมาณของน้ำปัสสาวะและจำนวนครั้งที่ถ่าย
ปกติร่างกายจะขับน้ำปัสสาวะออกมาประมาณวันละ 1,200-1,500 ซีซี. แต่ถ้าเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะก็จะทำให้ปริมาณน้ำปัสสาวะต่อวัน และจำนวนครั้งที่ถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
ลักษณะของการถ่ายปัสสาวะ |
สาเหตุ |
ถ่ายปัสสาวะบ่อย |
เกิดการอักเสบบริเวณกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ |
ถ่ายปัสสาวะมีปริมาณมากกว่าวันละ 3,000 ซีซี. |
อาจมากจากดื่มน้ำมาก เป็นโรคเบาหวานหรือเป็นโรคเบาจืด |
ปัสสาวะลำบาก เวลาถ่ายปัสสาวะต้องออกแรงแบ่งมากกว่าปกติ กว่าจะถ่ายออกมาหมดต้องใช้เวลานาน |
อาจมาจากต่อมลูกหมากโต ทำให้บีบรัดท่อปัสสาวะหรือมีก้อนนิ่วอุดตันบริเวณท่อไตกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ |
ปัสสาวะไม่ออก เกิดการคั่งของน้ำปัสสาวะในกระเพราะปัสสาวะ ทำให้ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ |
อาจมากจากเกิดการอุดกั้นที่ระบบทางเดินปัสสาวะเช่น มีนิ่วที่ท่อปัสสาวะ หรือท่อปัสสาวะตีบ การช็อกหรือร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง เช่น กรณีท้องเดินรุนแรง |
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เช่น ถ่ายปัสสาวะน้อยกว่าวันละ 400 ซีซี |
อาจมาจากการขาดน้ำ ท้องเดิน ไข้สูงหรือมีการเสียเลือดมาก |
3. สีของน้ำปัสสาวะ
สีของน้ำปัสสาวะสามารถบอกถึงสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะได้เช่นกันลักษณะของน้ำปัสสาวะที่เราใช้ซักถามผู้ป่วย เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีดังนี้
- ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีสีชมพูจางๆ
- ปัสสาวะออกมาเป็นสีแดงสด เป็นลมหรือสีแดงคล้ำ สาเหตุอาจเกิดจากการที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะถูกกระแทก เป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง หรือมีนิ่ว เป็นต้น
- ปัสสาวะขุ่นเหมือนมีก้อนไขมันลอย
- มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อโรคแล้วเกิดการอักเสบเป็นหนองตามทางเดินปัสสาวะร่วมกับการมีเม็ดเลือดขาวปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
- ปัสสาวะขุ่นเป็นเม็ดทราย
- มักมีสาเหตุมาจากการมีนิ่วหรือผลึกของ เกลือในปัสสาวะมาก
กรณีที่ผู้ป่วยไม่ทราบลักษณะของน้ำปัสสาวะว่าเป็นอย่างไรควรแนะนำให้ผู้ป่วยปัสสาวะใส่ภาชนะเพื่อดูลักษณะของน้ำปัสสาวะนั้น
4. อาการรร่วมอื่น ๆ
การหาสาเหตุความผิดปกติของโรคระบบทางเดินปัสสาวะนอกจากอาการปวดที่เกิดขึ้นปริมาณของน้ำปัสสาวะ ลักษณะการถ่ายและสีของน้ำปัสสาวะแล้ว ยังสันนิษฐานสาเหตุได้จากอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตัวบวม อาจมาจากไตไม่สามารถขับโซเดียมออกจากร่างกายได้
มีไข้อาจมีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น
คลื่นไส้อาเจียน อาจมาจากการมีนิ่วในไตและทำให้มีอาการปวดรุนแรง นอกจากนั้นอาจเกิดจากนิ่วที่อยู่ในระบบทางเดินปัสสาวะไปทำให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติผู้ป่วยจึงรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
ตารางสรุปโรคและแนวทางการรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
คำถามที่ใช้เป็นแนวทางในซักแยกโรคและหาสาเหตุ |
ต่อมลูกหมากโต |
|||
1. ตำแหน่งและอาการปวดที่เกิดขึ้นลักษณะอย่างไร |
|
อาจปวดหลังหรือบริเวณหัวเหน่าเล็กน้อยปวดแบบหน่วงๆ |
ปวดหลัง บั้นเอว บริเวณข้างที่เป็น |
|
2. ลักษณะของการถ่ายปัสสาวะเป็นอย่างไร? |
ปัสสาวะได้ตามปกติ ยกเว้นถ้านิ่วก้อนโตแล้วเกิดการอุดตันตามทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดอาการขัดเบา |
ปัสสาวะลำบาก ต้องออกแรงเบ่งอยู่นานจึงปัสสาวะออก ลำปัสสาวะพุ่งอ่อนแรงหรือปัสสาวะออกเป็นหยด |
ปวดแสบเวลาถ่ายและปวดมากขณะถ่ายปัสสาวะจะสุด |
|
3. จำนวนครั้งของการถ่ายปัสสาวะมากน้อยเพียงไร? |
ถ่ายปัสสาวะบ่อยและกะปริดกะปรอย (ออทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) |
ถ่ายปัสสาวะบ่อยทั้งกลางวันและกลางคืน |
ถ่ายปัสสาวะบ่อย |
คำถามที่ใช้เป็นแนวทางในซักแยกโรคและหาสาเหตุ |
นิ่ว |
ต่อมลูกหมากโต |
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ |
กรวยไตอักเสบ |
4. สีของน้ำปัสสาวะเป็นอย่างไร? |
บางรายอาจมีน้ำปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีชมพูจาง ๆ ซึ่งเกิดจากก้อนนิ่วครูดตามผนังของเยื่อบุทางเดินปัสสาวะหรืออาจถ่ายปัสสาวะเป็นปกติแต่น้ำปัสสาวะขุ่นและมีก้อนนิ่วออกมา |
น้ำปัสสาวะอาจขุ่นเป็นหนอง |
น้ำปัสสาวะขุ่น เป็นหนอง และมักมีสีแดงจาง ๆ |
|
5. อาการอื่น ๆ |
|
อาจมีไข้ ถ้ามีอาการติดเชื้อร่วมด้วย |
||
6. การรักษา |
|
เช่นเดียวกับนิ่ว |
|
|