โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ ถือเป็นหนึ่งในโรคที่มีอัตราผู้ป่วยค่อนข้างสูงเพราะทุกเพศทุกวัยมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ได้ พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
หากอาการของโรครุนแรง อาจส่งผลให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีกด้วย
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
จากข้อมูลของสำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุขพบว่า ใน พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยโรคปอดบวมแล้วมากกว่า 230,000 ราย และเสียชีวิตแล้ว 184 คน
โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบจึงเป็นหนึ่งในโรคที่ไม่ควรมองข้าม โดยหนึ่งในหนทางที่สามารถป้องกันโรคได้คือ การฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวม
โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด?
โรคปอดบวม หรือโรคปอดอักเสบ เป็นโรคทางระบบทางเดินหายใจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สามารถแบ่งสาเหตุการเกิดโรคได้ 2 สาเหตุหลักๆ คือ
สาเหตุที่ 1 ปอดบวม หรือปอดอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ
นับเป็นชนิดของปอดอักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเชื้อที่เข้าสู่ปอดและทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่
- เชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบคือ สเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae) สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือการจาม
- เชื้อไวรัส ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ เช่น เรสไพราทอรีซินไซเชียล (Respiratory Syncytial Virus) หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ RSV และอินฟลูเอนซา (Influenza) หรือที่คุ้นเคยในชื่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ พบการติดเชื้อได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
- เชื้อรา ส่วนใหญ่เชื้อราที่เป็นต้นเหตุของโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ คือ เชื้อราในกลุ่มแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus) พบได้ทั่วไปในอากาศ แหล่งน้ำ มูลนก ซากพืช ซากสัตว์ ในกลุ่มคนที่มีร่างกายแข็งแรง หากหายใจเชื้อราชนิดนี้เข้าไปจะไม่เป็นอันตราย แต่หากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง เบาหวาน ไตวาย อาจมีผลให้เป็นโรคปอดบวมได้
สาเหตุที่ 2 ปอดบวม หรือปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
กรณีนี้มักเกิดจากการหายใจเอาสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
นอกจากนี้การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาเคมีบำบัด และยาสำหรับควบคุมการเต้นของหัวใจบางชนิด ก็อาจทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทั้งนี้สาเหตุหลักที่ทำให้คนทั่วไปป่วยเป็นโรคปอดอักเสบ หรือปอดบวม มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี จึงมีการพัฒนาวัคซีนที่ช่วยป้องกันการป่วยเป็นโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้
โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบมีอาการอย่างไร?
อาการปอดบวม หรือปอดอักเสบที่สำคัญ มักเริ่มจากอาการของโรคหวัด ได้แก่
- อ่อนเพลีย
- มีไข้ มีน้ำมูก ไอ มีเสมหะ
- เจ็บหน้าอกขณะหายใจ หรือไอ
- หายใจเร็ว หอบ หายใจลำบาก
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- ในผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม สับสน อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ
- ในทารก หรือเด็กเล็กอาจมีการปวดท้อง อาเจียน ท้องอืด ไม่ดูดนม หายใจเร็ว รูจมูกบาน ซี่โครงบุ๋ม อาจมีอาการตัวเขียว ลิ้น ริมฝีปากเล็บเขียว และหากไข้สูงมาก อาจมีอาการชักร่วมด้วย
ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันและไม่จำเป็นต้องปรากฏทุกอาการเสมอไป ขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
การป้องกันโรคปอดบวม ปอดอักเสบ
คุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบได้ ด้วยวิธีดังนี้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรืออยู่ในสถานที่ที่มีมลพิษ เช่น ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เพราะจะทำให้การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอ่อนแอลง จึงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
- รีบรักษาตัวให้หายเมื่อเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อเพิ่มเติมจนกลายเป็นโรคปอดบวม หรือปวดอักเสบได้
- สร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ฉีดวัคซีนปอดบวม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค
วัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ คืออะไร?
วัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ (Pneumococcal Vaccine) คือ วัคซีนที่ผลิตขึ้นเพื่อลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคปอดบวม ปอดอักเสบ ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี
วัคซีนผลิตจากส่วนประกอบของเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccines or Killed Vaccines) มีคุณสมบัติสำคัญคือ ไม่ก่อให้เกิดโรค หรือเกิดได้น้อยมาก
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ทั้งนี้เชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส นิวโมเนียอี มีมากกว่า 90 สายพันธุ์ นอกจากจะก่อให้เกิดโรคปอดบวม ปอดอักเสบแล้ว ยังเป็นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและการติดเชื้อในกระแสเลือดได้อีกด้วย
การฉีดวัดซีนปอดบวม ปอดอักเสบ จึงนับว่า มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบลงได้
วัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบมีกี่ชนิด?
ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม หรืออักเสบอยู่ 2 ชนิด โดยสามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสได้ต่างกัน ได้แก่
1. วัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ (Conjugate Vaccine: PCV 13)
เป็นวัคซีนครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี 13 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่ สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้สูงอายุ
2. วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (Polysaccharide Vaccine: PPSV23)
เป็นวัคซีนครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี 23 สายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่ รวมถึงสายพันธุ์ที่มักจะดื้อยา
วัคซีนชนิดนี้แนะนำให้ฉีดในเด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และเหมาะสำหรับการฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป รวมทั้งบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากป่วยเป็นโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนควรฉีดทั้งสองชนิดรวมเป็น 2 เข็ม ฉีดห่างกันอย่างน้อย 2 เดือน จะทำให้สามารถป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และป้องกันได้นานอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป
ใครควรฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบบ้าง?
วัคซีนปอดบวม หรือปอดอักเสบ สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงซึ่งมีโอกาสป่วยเป็นโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบค่อนข้างสูงและควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค มีดังนี้
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 1 ปี จากสถิติพบว่า จำนวนผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มรวมกันคิดเป็น 50% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
- ผู้ที่มีอายุ 2-65 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น มีอาการภูมิคุ้มกันผิดปกติ ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นโรคมะเร็งบางชนิด มีความผิดปกติที่ม้าม มีภาวะไตวาย ติดเชื้อ HIV หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด หัวใจ เบาหวาน ตับแข็ง หรือมีพฤติกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อปอด เช่น สูบบุหรี่ หรือมีการฝังเครื่องช่วยฟังเทียม (cochlear implant) และผู้ที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง
อาการข้างเคียงหลังจากการฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ
วัคซีนปอดบวม หรือปอดอักเสบ นับว่า มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มักไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง
ผลข้างเคียงเล็กน้อยที่พบได้บ่อยประมาณ 30-50% คือ อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ ซึ่งจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน
วัคซีนปอดบวมป้องกันโรคได้ 100% หรือไม่ ฉีดเพียงเข็มเดียวป้องกันได้ตลอดชีวิตหรือเปล่า?
หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า วัคซีนปอดบวม ฉีดเพียงเข็มเดียว ป้องกันโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ ได้ตลอดชีวิต แต่จริงๆ แล้วการฉีดวัคซีนเป็นเพียงหนทางในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค หรือช่วยบรรเทาอาการของโรคไม่ให้รุนแรงเท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100%
ทั้งยังป้องกันโรคปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือด เฉพาะจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอีเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันปอดอักเสบและติดเชื้อในกระแสเลือดจากสาเหตุอื่นๆ
นอกจากนี้ในบางรายอาจต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำหลังจากฉีดเข็มแรก 5 ปี เช่น ในผู้ที่ภูมิต้านทานลดลงง่าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง หรือติดเชื้อ HIV และผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี ควรฉีดซ้ำทุก 5 ปี
ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ
ปัจจุบันคุณสามารถเข้ารับบริการฉีดวัคซีนปอดบวม หรือปอดอักเสบได้ตามโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำทั่วไป
ราคาเริ่มต้นที่ประมาณเข็มละ 1,500-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน รวมถึงค่าบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลนั้นๆ
การฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ นับเป็นหนึ่งในหนทางที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคได้ แต่ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100%
ผู้ที่ยังไม่ควรได้รับวัคซีนปอดอักเสบ
- ผู้ที่แพ้วัคซีน ผู้ที่รับวัคซีน หรือญาติควรแจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าเคยมีประวัติแพ้วัคซีน ซึ่งแพทย์จะสอบถามอาการเพิ่มเติมว่าแพ้แบบรุนแรง (Anaphylactic reaction) หรือไม่
- ผู้ที่มีไข้ในวันที่ต้องไปฉีดวัคซีน
- ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
คำถามที่พบบ่อย
คำถาม: ผู้รับประทานยากดภูมิและผู้สูงอายุ ควรฉีดวัคซีนป้องกันปอดบวมอย่างไร?
คำตอบ: ดังได้กล่าวมาแล้วว่า วัคซีนปอดอักเสบ หรือ Pneumococcal vaccine แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิด “คอนจูเกต” ป้องกันได้ 13 สายพันธุ์ วัคซีนชนิดนี้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี สามารถป้องกันได้ทั้งปอดอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด
ส่วนวัคซีนอีกชนิดคือ ชนิด “โพลีแซคคาไรด์” ป้องกันได้ 23 สายพันธุ์ วัคซีนชนิดนี้กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันไม่ค่อยดี สามารถป้องกันได้เฉพาะติดเชื้อในกระแสเลือด
การพิจารณาว่า ผู้รับประทานยากดภูมิและผู้สูงอายุควรฉีดวัคซีนปอดอักเสบอย่างไรขึ้นอยู่กับว่า มีการระบาดโรคนี้มากน้อยแค่ไหนในพื้นที่ และงบประมาณในการเสริมวัคซีนของแต่ละบุคคล
อย่างไรก็ตาม เชื้อนิวโมคอคคัสมีมากกว่า 90 สายพันธุ์ ควรพิจารณาผลการป้องกันร่วมด้วย
นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้มีความประสงค์ต้องการฉีดวัคซีนมีความซับซ้อนของภาวะโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ด้วย แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อประเมินก่อน
คำถาม: หากต้องการฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ ควรฉีด 13 หรือ 23 สายพันธุ์ก่อน และเว้นระยะการฉีดห่างกันแค่ไหน
คำตอบ: โดยทั่วไปแนะนำให้ฉีดวัคซีนแบบ 23 สายพันธุ์ก่อน ตามด้วยวัคซีน 13 สายพันธุ์ ในอีก 1 ปีต่อมา หลังจากฉีดวัคซีนตัวแรก
คำถาม: ตลอดชีวิตต้องฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบกี่เข็ม และห่างกันเท่าไร
คำตอบ: หากตัดสินใจฉีดวัคซีนปอดบวม ปอดอักเสบ จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง และในบางรายอาจพิจารณาฉีดซ้ำหลังครั้งแรก 5 ปี
นอกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัสแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายที่ทำให้ป่วยเป็นโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบได้
ดังนั้นการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายให้แข็งแรงจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด
ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีนปอดอักเสบ หรือปอดบวม ตรวจภูมิแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android