กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล

Paxil ทำงานอย่างไร ผลข้างเคียง และข้อมูลอื่นๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ Paxil สำหรับโรควิตกกังวล

ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 2001 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยอมรับให้ใช้ยา Paxil ในการรักษาโรควิตกกังวลได้ 

Paxil (Paroxetine) เป็นยาต้านโรคซึมเศร้าที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ Prozac และ Zoloft เช่นเดียวกับยาในกลุ่ม SSRI (selective serotonin reuptake inhibitors) ตัวอื่นๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

Paxil ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการรักษาโรคซึมเศร้าและถูกยอมรับให้ใช้ในการรักษาโรคกังวลต่อการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder:SAD)

ในปี ค.ศ. 1999 ยังมีการใช้ Paxil ในการรักษาโรคแพนิค (Panic disorder) โรคเครียดหลังเหตุการณ์ร้ายแรง (Post Traumatic Stress DisorderPTSD) กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนชนิดรุนแรง (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD) และกลุ่มอาการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder: OCD)

Paxil ทำงานอย่างไร?

กลไกชัดเจนที่ทำให้มีผลต้านโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลของยา เช่น paxil ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันแน่ชัด ยาเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม SSRIs เนื่องจากมีคุณสมบัติในการป้องกันการเก็บกลับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน (serotonin) ในสมองและระบบประสาท 

กระแสประสาทจะถูกส่งโดยทางเคมีระหว่างเซลล์ประสาทในระบบประสาท โดยสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน ถูกสร้างโดยเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งและเดินทางผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์และไปสะสมอยู่ในเซลล์ประสาทเซลล์ที่สอง 

มีการสร้างทฤษฎีว่าการเก็บเซโรโทนิน เอาไว้นอกเซลล์นานๆ ทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้

รควิตกกังวลคืออะไร?

โรควิตกกังวลไม่เหมือนกับโรคกลัว (phobia) ที่ผู้ป่วยมีอาการกลัววัตถุ หรือสถานการณ์บางอย่าง แต่โรควิตกกังวลจะทำให้เกิดอาการกังวลโดยทั่วๆ ไปที่ไม่สัมพันธ์กับสาเหตุใด ผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลจะเกิดความกังวลและความเครียดที่เรื้อรังและมากเกินปกติ แม้ว่าดูเหมือนไม่มีอะไรกระตุ้นเลยก็ตาม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ผู้ที่มีอาการเหล่านี้มักคาดว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรง กังวลเกินเหตุเรื่องสุขภาพ เงินทอง ครอบครัว หรืองาน เพียงแค่การคิดที่จะผ่านวันหนึ่งๆ ไปให้ได้ก็กระตุ้นให้เกิดความกังวลได้แล้ว 

หลายคนเป็นโรควิตกกังวลรู้ว่าความกังวลของตนมากเกินควรต่อสถานการณ์นั้นๆ แต่ถึงรู้ก็ลดความกังวลไม่ได้อยู่ดี พวกเขาอาจรายงานว่า ไม่สามารถผ่อนคลายได้ และอาจมีปัญหาในการนอนหลับหรือหลับอย่างต่อเนื่อง

ความกังวลของพวกเขามักมีอาการทางกายร่วมด้วย โดยเฉพาะอาการมือสั่น กระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย เหงื่อแตก หรือ hot flashes พวกเขาอาจรู้สึกวิงเวียน หายใจไม่ออก คลื่นไส้ หรือต้องไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ หรืออาจรู้สึกเหมือนมีก้อนจุกอยู่ในคอ 

โรควิตกกังวลมักใช้การรักษาด้วยการรักษาแบบจิตบำบัด (psychotherapy) และ/หรือการใช้ยา อาจใช้เวลาซักพักเพื่อหาสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ ดังนั้น ให้อดทนและคอยบอกแพทย์ว่าอะไรที่ได้ผลและไม่ได้ผลสำหรับคุณ

ผลข้างเคียงของ Paxil

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของ paxil ได้แก่ 

  • อาการตื่นเต้น 
  • ปัญหาในการนอน (ทั้งหลับมากไปและน้อยไป) 
  • กระสับกระส่าย 
  • อ่อนเพลีย 
  • ปากแห้ง 
  • คลื่นไส้ 
  • ปวดศีรษะ 
  • เหงื่อแตก 
  • ท้องเสีย 
  • ปัญหาทางเพศ 

โดยทั่วไปแล้ว ผลข้างเคียงเหล่านี้จะหายไปได้เองในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ 

ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก ได้แก่ อาการเลือดออก กัดฟัน และระดับโซเดียมในเลือดต่ำ 

ผลข้างเคียงที่ร้ายแรง คือ อาการชัก และ serotonin syndrome ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมี serotonin ในร่างกายมากเกินไปและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับ Paxil

  • Paxil สามารถรับประทานพร้อมอาหาร หรือไม่ก็ได้ และสามารถรับประทานเวลาใดก็ได้
  • หากคุณลืมรับประทานยาหนึ่งเม็ดให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แม้ว่าอาจจะใกล้กับเวลาที่ต้องรับประทานยาอีกครั้งก็ตาม อย่ารับประทานเพิ่มทีเดียวเป็นเท่าตัวแทน
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอลล์และยาเสพติดในขณะที่รับประทาน Paxil เนื่องจากจะลดประโยชน์ของยา
  • Paxil เป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพดี เมื่อรับประทานตามที่แพทย์สั่งและขณะนี้ยังไม่พบว่ามีความเสี่ยงจากการใช้ยาระยะยาว
  • ตรวจสอบกับแพทย์ หรือเภสัชกรเรื่องปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dena Westphalen, Pharm.D. , What to know about Paxil (paroxetine) (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325996.php ), August 8, 2019
verywellmind, Paxil Information, Dosage, and Side Effects (https://www.verywellmind.com/paxil-paroxetine-2584337)
ncbi.nlm.nih, Paroxetine—The Antidepressant from Hell? Probably Not, But Caution Required (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5044489/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป