การมีความรู้สึกวิตกกังวลเป็นบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากความรู้สึกนี้ขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ หรือทำให้คุณเกิดอาการไม่สบายใจ ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้ นั่นอาจแสดงว่า คุณกำลังเป็นโรควิตกกังวล
ความหมายของโรควิตกกังวล
ความวิตกกังวล (Anxiety) เป็นความรู้สึกวิตก หรือไม่สบายใจ ซึ่งเป็นกลไกการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายที่มีต่อความเครียด ทำให้คนเรารู้สึกตื่นตัวมากขึ้น และพร้อมที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่โรควิตกกังวล (Generalized anxiety disorder: GAD) มีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลโดยทั่วไป คือ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว หรือกังวลมากเกินไป รวมทั้งควบคุมสมาธิได้ยากขึ้น และไม่สามารถปล่อยวาง หรือเลิกคิดถึงสิ่งที่กังวลได้เลยจนคล้ายกับอาการย้ำคิดย้ำทำ
ประเภทของโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ดังนี้
- โรควิตกกังวล ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีความกังวลที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างเรื้อรัง
- โรคแพนิค หรือโรคตื่นกลัว (Panic disorder) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการตื่นตระหนกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุผล
- โรคกลัว (Phobic Disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะเกิดความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปกติมักไม่ทำให้เกิดอันตราย
- โรคกลัว หรือกังวลต่อการเข้าสังคม (Social anxiety disorder หรือ Social phobia) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกไม่สบายใจอย่างรุนแรงเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม หรือกับกลุ่มคนจำนวนมาก ซึ่งมักจะทำให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมตามมา
- โรคกลัวต่อการแยกจาก (Separation anxiety disorder) ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวเมื่อต้องแยกจากหรือออกห่างจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น พ่อแม่ เพื่อนสนิท คนรัก
- โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder: OCD) ผู้ป่วยจะมีอาการคิดและทำบางอย่างซ้ำๆ เพื่อลดความกังวลต่อสิ่งนั้น
อัตราการเกิดโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป โดยศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรคได้ประมาณตัวเลขไว้ว่าประมาณ 15% ของประชากรจะเป็นโรควิตกกังวลในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึง 60% และผู้ป่วยส่วนมากมักเริ่มมีอาการของโรคนี้ตั้งแต่ในช่วงวัยเด็ก โดยอายุเฉลี่ยของการเริ่มเป็นโรคจะอยู่ที่ 11 ปี
สาเหตุของโรควิตกกังวล
มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลขึ้นได้ โดยส่วนมากมักเกิดจากประสบการณ์ส่วนตัว และปัจจัยทางพันธุกรรมที่ยังระบุไม่ได้
ดังนั้น เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรควิตกกังวลจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าเด็กทั่วไปได้ นอกจากนี้ความเครียดหรือเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อจิตใจผู้ป่วยก็เป็นสาเหตุของโรควิตกกังวลได้ เช่น
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การเสียชีวิตของคนที่รัก
- การต้องพรากจากครอบครัว
- การมีสภาพครอบครัวที่ไม่อบอุ่นหรือชอบใช้ความรุนแรง
- การถูกกลุ่มเพื่อนรังแก หรือมีเหตุการณ์ ความผิดพลาดในอดีตที่ทำให้รู้สึกฝังใจจนกังวลว่าจะเกิดขึ้นอีก
สาเหตุเหล่านี้เป็นตัวอย่างของเหตุการณ์ที่สามารถทำให้เกิดโรควิตกกังวลได้ในผู้ป่วยหลายคน แต่ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่เมื่อพบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจแล้วจึงจะกลายเป็นโรควิตกกังวลกันหมด
เพราะในบางช่วงเวลาของชีวิต อาจมีปัจจัยบางอย่างที่สามารถทำให้คนเป็นโรควิตกกังวลได้เช่นกัน เช่น ความเครียดจากงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาพครอบครัว ปัญหาด้านความรัก
อาการของโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยและมักเริ่มมีอาการตั้งแต่ในวัยเด็ก โดยอาการต่อไปนี้คือ อาการที่พ่อแม่ของเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรควิตกกังวลมักจะพบเจออยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมทางวิชาการ ทางสังคม และมักปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง
- มีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่สนิท ตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น
- ต้องการการสนับสนุน และพึ่งพาผู้อื่นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรควิตกกังวลมักจะมีความกลัวว่าสิ่งร้ายๆ อาจเกิดขึ้น
- ผลการเรียนไม่ดี
- จดจ่ออยู่กับการทำงานหนักเกินไป
- มีความคิดฟุ้งซ่านถึงสิ่งไม่ดีที่อาจเกิดขึ้น
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- มีปัญหาด้านการกิน เช่น กินน้อย หรือกินมากจนเกินไป
- ไม่สามารถปล่อยวางต่อเรื่องที่กังวลได้เลย มีอาการย้ำคิดย้ำทำและจะคิดถึงเรื่องนั้นๆ อยู่เกือบตลอดเวลา
- มีปัญหาด้านความจำ หลงลืมง่ายขึ้น
- มีอาการใจสั่น มือสั่น
- หายใจได้ไม่เต็มที่
- เหงื่อออกง่ายขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรควิตกกังวล
โรควิตกกังวลอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตอื่นๆ รวมถึงปัญหาทางสุขภาพกาย ดังต่อไปนี้
- เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ ตามมา
- นอนไม่หลับ
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
- ปวดหัว ปวดตามร่างกายเรื้อรัง
- แยกตัวออกจากสังคม
- มีปัญหาในการเรียน และการทำงาน
- คุณภาพชีวิตไม่ดี มีปัญหากับการจัดเวลาชีวิต เพราะมักจะหมดเวลาไปกับการกังวลในเรื่องต่างๆ อย่างควบคุมไม่ได้
- มีพฤติกรรมใช้สารเสพติด
- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลสัมพันธ์กันอย่างไร?
โรคซึมเศร้ากับโรควิตกกังวลนั้นมีความแตกต่างกัน แต่ก็มักจะพบว่า ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจเป็นโรคซึมเศร้าร่วมด้วยได้ และมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลด้วยเช่นกัน โดยความแตกต่างของสองโรคนี้หากอธิบายง่ายๆ ก็คือ
- อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะเป็นไปในทางเกี่ยวกับความเศร้า ไม่มีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตอยู่ มองไม่เห็นคุณค่าของตนเอง และรู้สึกแย่กับตนเองอยู่เสมอจนทำให้มีผลข้างเคียงออกมาเป็นพฤติกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับผู้ป่วยโรควิตกกังวล เช่น
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ
- มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- แยกตัวออกจากสังคมและกลุ่มเพื่อน
- มีปัญหาเรื่องการกิน
- อยากฆ่าตัวตาย
- ส่วนผู้ป่วยโรควิตกกังวลนั้น มักจะมีใจจดจ่อไปกับเรื่องที่กังวลและหวาดกลัวว่าจะเจอความผิดหวัง อีกทั้งผู้ป่วยบางรายมักจะมีใจกระตุ้นให้ตนเองอยากต่อสู้ เพื่อหลุดพ้นไปจากสิ่งที่กังวลมากกว่าการอยู่กับความเศร้าหมองแบบผู้ป่วยซึมเศร้า
ซึ่งผลจากโรคดังกล่าวก็สามารถทำให้คุณภาพชีวิต สมาธิและสภาพจิตใจของผู้ป่วยแย่ไปด้วย จนไปสัมพันธ์กับอาการของโรคซึมเศร้าที่อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนไม่ดีพอสำหรับใคร และทำให้ผู้อื่นผิดหวัง
จนในที่สุดผู้ป่วยก็จะอยากยอมแพ้ ไม่อยากที่จะอดทนเผชิญกับความกลัว และความกังวลที่หนักอึ้งอีกต่อไป และอาจตัดสินใจจะฆ่าตัวตาย
สำหรับอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยทั้ง 2 โรค ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- วิตกกังวลเรื่องต่างๆ ตลอดเวลา
- มีอาการกระสับกระส่าย อยู่ไม่นิ่ง
- มีปัญหากับการนอนหลับ
- ไม่มีสมาธิ
การรักษาโรควิตกกังวล
การรักษาโรควิตกกังวลที่ดีที่สุดคือ การไปพบจิตแพทย์หรือหานักจิตบำบัด เนื่องจากโรควิตกกังวลมักเป็นโรคเรื้อรัง อาจยากที่หายขาดได้ และจะต้องมีการปรับระบบความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยใหม่
วิธีการปรับระบบความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วยจะผ่านการให้คำปรึกษา การให้คำอธิบายสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเป็นกังวลอย่างหนัก การทำจิตบำบัด และการรักษาด้วยยา ซึ่งตัวอย่างยาที่มักเป็นที่นิยมในการรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะได้แก่
- กลุ่มยาเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepines) เป็นกลุ่มยาที่มีความปลอดภัยสูง และคลายความคิดวิตกกังวลได้ดี ซึ่งนอกจากจะช่วยลดอาการวิตกกังวลแล้ว ยาตัวนี้ยังช่วยให้การนอนหลับของผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
- กลุ่มยาต้านเศร้าไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressant) โดยยากลุ่มนี้จะช่วยลดอาการวิตกกังวล อาการฟุ้งซ่านเรื้อรังของผู้ป่วยได้ดี ซึ่งยาที่นิยมใช้จะได้แก่
- อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
- อิมิพรามีน (imipramine)
- เบตา บล็อกเกอร์ (Beta blockers) โดยปกติกลุ่มยานี้เป็นกลุ่มยารักษาโรคทางหัวใจและหลอดเลือด แต่ขณะเดียวกัน ก็สามารถบรรเทาอาการใจสั่น ชีพจรเต้นแรง และมือสั่นได้ แต่จะไม่ได้ช่วยเรื่องลดอาการวิตกกังวล
อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยโรควิตกกังวลนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยา หากจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยยังคงบีบบังคับ สร้างความกดดันและมีปัญหาเดิมๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลอีก
เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการบำบัดทางจิตใจ และมีการปรับเปลี่ยนทักษะการปรับตัวเข้ากับปัญหาอย่างถูกต้อง เพื่อให้รับมือกับความวิตกกังวลในใจได้ดีขึ้น
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
ใจสั่นผิดปกติค่ะ