ตุ่มนูน (Papule)

ตุ่มนูน เป็นความผิดปกติของผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักเกิดจากการอักเสบและการคัน แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากสภาวะทางการแพทย์ เช่น อีสุกอีใส หรืองูสวัด เป็นต้น
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ตุ่มนูน (Papule)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตุ่มนูน คือบริเวณของเนื้อเยื่อผิวหนังที่นูนขึ้นผิดปกติ ซึ่งมีขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ตุ่มนูนจะมีลักษณะขอบที่แตกต่างกัน และมีรูปร่างได้หลากหลาย เช่น เป็นยอดกลม เป็นยอดแบนราบ หรือเป็นยอดคล้ายสะดือบุ๋มก็ได้ บางครั้งตุ่มนูนอาจเกิดขึ้นเป็นกลุ่มทำให้มีลักษณะเป็นผื่น (Rash) แต่ส่วนใหญ่แล้วตุ่มนูนที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคร้ายแรง และอาการจะดีขึ้นได้ด้วยการรักษาด้วยตนเองที่บ้าน

สาเหตุของตุ่มนูน

ตุ่มนูน มีสาเหตุมาจากโรคหลายชนิดที่ส่งผลกระทบต่อผิวหนัง โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

  • ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) ทำให้เกิดผื่นขึ้นจากการรวมตัวของตุ่มนูนหลายๆ ตุ่ม โรคผิวหนังอักเสบที่พบบ่อยที่สุด คือโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังสัมผัสกับวัสดุหรือสารต่างๆ เช่น เครื่องสำอาง สารเคมี สารพิศ เครื่องประดับ จนทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเกิดอาการแพ้ขึ้น
  • อีสุกอีใส (Chickenpox) เกิดขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus ซึ่งผู้ป่วยจะมีผื่นตุ่มนูนคันจำนวนมาก โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่ติดต่อไปยังผู้อื่นได้โดยการไอ และจาม
  • ผื่นผิวหนังอักเสบ (Eczema) เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดตุ่มนูน ผู้ป่วยจะมีผื่นคัน มีสะเก็ด พุพองตามผิวหนัง และผิวหนังจะแห้งมาก
  • การติดเชื้อราแคนดิดาบนผิวหนัง คือ การติดเชื้อรา Candida albicans โดยอาจเรียกอีกอย่างว่าการติดเชื้อยีสต์ (Yeast infection) เช่น การเกิดผื่นผ้าอ้อมในเด็กเล็ก และการติดเชื้อราในช่องปากในผู้ใหญ่

แต่ในบางครั้งก็อาจพบตุ่มนูนที่เกิดขึ้นจากสาเหตุต่อไปนี้

  • อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
  • ภาวะไลเคน พลานัส (Lichen Planus) เป็นโรคผิวหนังไม่ติดต่อชนิดหนึ่ง มักพบได้บ่อยที่ข้อมือ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงแดง
  • สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังที่ผิวหนังแห้งเป็นขุย หรือแห้งเป็นเกล็ดๆ และมีสีแดง
  • งูสวัด (Shingles) เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella Zoster Virus ทำให้เกิดผื่น หรือตุ่มน้ำใสที่ทำให้เกิดอาการปวด
  • เรื้อน (Leprosy) เป็นโรคที่ทำให้เกิดแผลบนผิวหนัง อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และทำลายเส้นประสาท
  • อะโครเดอร์มาไตติส (Acrodermatitis) เป็นโรคผิวหนังที่พบในเด็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • แมลงสัตว์กัดต่อย

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

ปกติแล้วการเป็นตุ่มนูนสามารถรักษาได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้าตุ่มนูนเกิดขึ้นจากการแมลงหรือสัตว์บางชนิดที่เป็นพาหะนำโรค เช่น เห็บที่เป็นพาหะของโรคไลม์ (Lyme Disease) ก็จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพราะโรคไลม์อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะสมองอักเสบ ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

การรักษาตุ่มนูน

การรักษาตุ่มนูนด้วยตัวเอง สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการขัดผิวที่มีตุ่มนูนจนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • ใช้น้ำอุ่น และใช้สบู่อ่อนๆ ขณะทำความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือน้ำหอมบริเวณที่มีอาการ
  • ปล่อยให้ผิวหนังที่มีตุ่มนูนสัมผัสกับอากาศมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
  • ทายารักษาผื่นคันที่มีจำหน่ายตามร้านขายยาตามที่ฉลากระบุไว้

ที่มาของข้อมูล

Carmella Wint, What Causes Papule? (https://www.healthline.com/symptom/papule), November 7, 2016.


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Acne Papules Causes and Treatments. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/papule-definition-of-an-acne-papule-15541)
SkIndia Quiz 41: Asymptomatic Skin-Colored Papule on the Scalp Skin. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5621210/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง
การรักษาการฉีกขาดของผิวหนัง

ผิวหนังที่บางนั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายแม้แต่เวลาที่คุณพยายามจะรักษามัน

อ่านเพิ่ม