กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอก เกิดจากอะไร?

ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอกเกิดจากอะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 26 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอก เกิดจากอะไร?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งอวัยวะที่ถูกใช้งานมากที่สุด จึงเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าได้ อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติอื่นๆ ได้เช่นกัน
  • สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า เช่น โรคผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากรองเท้า โรคน้ำกัดเท้า โรคเท้าเปื่อย โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่นน้ำใส และเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
  • การรักษาผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าจะรักษาที่สาเหตุ เช่น หากเกิดจากการติดเชื้อราจะรักษาด้วยยาทาต้านเชื้อรา หรือหากเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ ก็ให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
  • วิธีป้องกันการเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า จะต้องรักษาสุขอนามัยของฝ่าเท้า โดยการสวมใส่ถุงเท้าเมื่อสวมรองเท้า ไม่เดินเท้าเปล่าในที่สกปรก ทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่ และรักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  • ส่วนใหญ่แล้ว ผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าสามารถรักษาหายได้เองที่บ้าน แต่หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผิวระหว่างฝ่าเท้ากลายเป็นสีดำ มีริ้วสีแดงบนฝ่าเท้า เท้าอุ่น หรือมีไข้ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ถูกใช้งานมากที่สุด และสามารถนำไปสู่การเกิด "ผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า" ได้

อย่างไรก็ตาม การมีผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าสามารถเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หรือปัญหาผิวเท้าที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ 

สำหรับคนที่ตอนนี้กำลังเผชิญกับปัญหาดังกล่าว วันนี้เรามาดูสาเหตุที่เป็นไปได้ของการเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า รวมถึงวิธีการรักษา และการป้องกันว่า สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

สาเหตุของการเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า 

การเกิดผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

1. โรคผื่นแพ้สัมผัสที่เกิดจากรองเท้า

โรคผื่นแพ้สัมผัส เป็นโรคที่เกิดกับผิวหนังชั้นนอกซึ่งไปสัมผัสกับวัตถุบางอย่างแล้วเกิดความระคายเคือง 

ดังนั้น รองเท้าบางคู่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวระหว่างนิ้วเท้าลอกได้ เพราะวัสดุบางชนิดของรองเท้าสามารถทำให้ผิวเท้าเกิดความระคายเคืองขึ้น และส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาแพ้จนตกสะเก็ด และลอกออก 

โรคผื่นแพ้สัมผัสสามารถกระจายจากบริเวณหนึ่งไปสู่บริเวณอื่นๆ ของร่างกายได้ แม้โรคผื่นแพ้สัมผัสจะไม่ได้เป็นโรคติดต่อที่แพร่กระจายได้ด้วยการสัมผัสก็ตาม ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้จะมีอาการดังต่อไปนี้ 

  • เป็นแผลพุพอง
  • รู้สึกคันเท้า
  • เท้าแดง 
  • รู้สึกแสบร้อนที่ผิวเท้า  

2. โรคน้ำกัดเท้า

โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อราที่ชื่อว่า "Trichophyton" พบได้มากในบริเวณที่มีความชื้น เช่น ห้องล็อกเกอร์ ห้องอาบน้ำ หรือสระว่ายน้ำสาธารณะ ซึ่งสภาพแวดล้อมที่อุ่นและชื้นเหล่านี้จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ดี นอกจากนี้ รองเท้าที่อุ่นและชื้นก็สามารถทำให้เชื้อราเติบโตได้เช่นกัน

เชื้อรา Trichophyton เป็นเชื้อราที่พบบ่อยในการทำให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนัง  โดยปกติเชื้อรานี้มักไม่ทำให้เกิดอันตราย 

ทั้งนี้ โรคน้ำกัดเท้าสามารถเกิดขึ้นที่เท้าข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยการลอกระหว่างนิ้วเท้ามักเริ่มจากนิ้วที่เล็กก่อนที่จะแพร่กระจายออกไป และคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้าก็สามารถแพร่โรคไปสู่คนอื่นได้จากการสัมผัสโดยตรง หรือพื้นผิวที่ปนเปื้อน 

ตัวอย่างอาการของคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า

3. โรคเท้าเปื่อย

โรคเท้าเปื่อยเกิดจากความเสียหายจากเส้นประสาท หลอดเลือด และผิวเท้า จนนำไปสู่การเกิดผิวลอกได้ จะเกิดขึ้นเมื่อเอาเท้าแช่น้ำ หรือแช่ความเย็นเป็นเวลานาน  

โรคเท้าเปื่อยไม่ใช่โรคติดต่อที่แพร่กระจายด้วยการสัมผัส โดยอาการทั่วไปของคนที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ได้แก่ 

  • รู้สึกคันเท้า 
  • เป็นเหน็บชาที่เท้า 
  • รู้สึกปวด 
  • มีแผลพุพอง 

4. โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใส

โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสจะทำให้เกิดแผลพุพองที่ทำให้รู้สึกคันบริเวณที่เป็น เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า และฝ่าเท้า  โดยเรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าโรคจะหายไปได้ 

โรคผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำใสมักพบได้ในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20-40 ปี เชื่อมโยงกับโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และระดับของความเครียดที่สูง แต่โชคดีที่โรคชนิดนี้ไม่ใช่โรคที่ติดต่อ 

อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยโรคนี้ เช่น 

  • ปวดเท้า 
  • เท้าแดง 
  • คันเท้า

5. เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ เป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่เกิดบริเวณเนื้อเยื่อใต้ผิว เพราะแบคทีเรียบางชนิดสามารถเข้าไปในผิวผ่านรอยถลอกและรอยบาดได้ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อในชั้นผิวที่ลึกขึ้น เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ทุกบริเวณของผิว แต่มักเกิดขึ้นที่ขาส่วนล่าง และสามารถแพร่กระจายไปสู่เท้า 

อาการที่พบโดยทั่วไป ได้แก่ 

  • เท้าบวม 
  • รู้สึกปวดเท้า 
  • ผิวอุ่น 
  • เท้าแดง 
  • มีแผลพุพอง 
  • เท้าลอก

การรักษาผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า

การรักษาภาวะผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้าจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากภาวะดังกล่าวเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์ก็จะจ่ายยาปฏิชีวนะ สำหรับวิธีรักษาอื่นๆ มีดังต่อไปนี้

1. ใช้ยาทา

การใช้ครีม หรือออยท์เมนท์ (Ointment) ทาที่ผิวอาจช่วยให้อาการดีขึ้น หรือยาที่มีสารไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) อาจช่วยลดการอักเสบ และอาการคันได้เช่นกัน

ส่วนในกรณีที่เชื้อราทำให้เกิดการติดเชื้อ ผู้ป่วยก็ควรใช้ครีมต้านเชื้อรา โดยหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่ครีมที่เข้มข้นจะต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น

2. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้

หากโรคผื่นผิวหนังสัมผัสทำให้ผิวระหว่างฝ่าเท้าของคุณลอก ให้หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ด้วย การทาแบริเออร์ครีม (Barrier Cream) ซึ่งเป็นครีมสำหรับทาแผลกดทับอาจช่วยลดการเสียดสีจากรองเท้าได้ นอกจากนี้ควรระวังเรื่องวัสดุรองเท้าด้วย

3. การประคบเย็น

การประคบเย็นประมาณ 15-20 นาที ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน สามารถลดอาการคัน และแสบร้อนได้

การป้องกันผิวลอกที่ระหว่างนิ้วเท้า

  • เดินเท้าเปลือยเมื่อเป็นไปได้
  • ใส่ถุงเท้าและรองเท้าให้เหมาะสม
  • ใส่รองเท้าแตะเมื่ออยู่ในห้องล็อกเกอร์ หรือบริเวณสระว่ายน้ำ
  • ใส่ถุงเท้าที่ทำจากผ้าที่ดูดความชื้น เพื่อช่วยลดความชื้นจากผิว
  • รักษาเท้าให้แห้งอยู่เสมอ
  • ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ โดยถูซอกเล็บและซอกนิ้วทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่คับแน่น ทำให้เกิดการเสียดสี
  • ไม่แบ่งปันรองเท้าและถุงเท้ากับคนอื่น
  • ปล่อยให้รองเท้าแห้งก่อนใส่ครั้งต่อไป

ปกติแล้ว ผู้คนส่วนมากสามารถแก้ปัญหาผิวลอกที่เกิดระหว่างนิ้วเท้าได้เองที่บ้าน แต่ในบางครั้งคุณก็อาจต้องไปพบแพทย์ หากการรักษาเบื้องต้นไม่สำเร็จ หรือมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น

  • ผิวระหว่างฝ่าเท้ากลายเป็นสีดำ
  • มีริ้วสีแดงบนฝ่าเท้า
  • เท้าอุ่น
  • มีไข้
  • ผื่นระหว่างฝ่าเท้าเริ่มมีของเหลวไหลออกมา

ฝ่าเท้า เป็นหนึ่งในอวัยวะที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น ผิวระหว่างฝ่าเท้ากลายเป็นสีดำ เท้าอุ่น มีไข้ หรือมีริ้วสีแดงบนฝ่าเท้า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pompholyx (dyshidrotic eczema) (https://www.nhs.uk/conditions/pompholyx/), 18 June 2018
Centers of Disease Control and Prevention, Trench foot or immersion foot (https://www.cdc.gov/disasters/trenchfoot.html), 8 September 2005
Hulstaert E et al., Contact dermatitis caused by a new rubber compound detected in canvas shoes (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29044554), January 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป