หลายคนน่าเคยได้ยินชื่อต่อมน้ำเหลืองมาบ้างจากชื่อโรค หรือภาวะผิดปกติบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคต่อมน้ำเหลืองอุดตัน อาการต่อมน้ำเหลืองโตก็เช่นกัน
โดยต่อมน้ำเหลืองเป็นต่อมขนาดเล็กบรรจุน้ำเหลือง ซึ่งเป็นของเหลวสีใสที่ไหลเวียนผ่านระบบท่อน้ำเหลือง โดยน้ำเหลืองจะเดินทางผ่านระบบน้ำเหลือง ซึ่งประกอบขึ้นจากช่องทางต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย มีลักษณะคล้ายกับหลอดเลือด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตนั้นอาจเกิดได้จากการตอบสนองต่อการติดเชื้อ และเนื้องอก
หน้าที่ของต่อมน้ำเหลือง
ต่อมน้ำเหลืองเป็นสถานที่เก็บเม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เวลาแบคทีเรีย ไวรัส และเซลล์ที่ทำให้เกิดโรคผ่านเข้ามาในท่อน้ำเหลือง ก็จะถูกสกัดที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองก่อน
หลังจากนั้นต่อมน้ำเหลืองจะสะสมสิ่งต่างๆ เหล่านี้เอาไว้ และเมื่อปริมาณมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นนั่นเอง
ต่อมน้ำเหลืองอยู่ตรงส่วนไหนของร่างกาย
ต่อมน้ำเหลืองอยู่ทั่วร่างกาย และยังสามารถพบได้ที่บริเวณใต้ผิวหนังในหลายๆ ส่วน เช่น
- รักแร้
- ใต้ขากรรไกร
- ลำคอทั้ง 2 ข้าง
- ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
- บริเวณเหนือกระดูกไหปลาร้า
สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองโต
ต่อมน้ำเหลืองโตนั้น เกิดจากร่างกายได้ตอบสนองต่อความเจ็บป่วย การติดเชื้อ หรือความเครียด เป็นอาการหนึ่งที่บ่งบอกว่า ระบบน้ำเหลืองกำลังทำงานเพื่อกำจัดเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมออกจากร่างกาย
นอกจากนี้ ต่อมน้ำเหลืองยังสามารถโตได้จากการที่มีการติดเชื้อในบริเวณใกล้เคียง เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอจะโต เวลาที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือในเวลาที่เป็นหวัด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หรือหากต่อมน้ำเหลืองบริเวณศีรษะ หรือคอเกิดโตขึ้น ก็อาจเกิดมาจากอาการเจ็บป่วยต่อไปนี้
- การติดเชื้อที่หู
- ไข้หวัด
- การติดเชื้อในโพรงจมูก
- โรคหัด (Measles) คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
- การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
- การติดเชื้อที่ฟัน
- โรคโมโนนิวคลิโอซิส (Mononucleosis)
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- คออักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโทคอกคัส (Streptococcus spp.)
- ต่อมทอนซิลอักเสบ
- วัณโรค (Tuberculosis)
- เหงือกอักเสบ หรือมีแผลในช่องปาก
ยาที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้
ยาบางชนิด และปฏิกิริยาตอบสนองต่ออาการแพ้ยาบางอย่างนั้น สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ เช่น ยากันชัก ยาฆ่าเชื้อมาลาเรีย
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ เช่น
- โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis)
- การติดเชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) หรือหนองใน สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโตได้
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส และข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์
มะเร็งกับภาวะต่อมน้ำเหลืองโต
ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งชนิดใด หากมีการแพร่กระจายในร่างกายก็สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ ซึ่งในช่วงที่เชื้อมะเร็งแพร่จากบริเวณหนึ่งไปยังต่อมน้ำเหลืองนั้น จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยลดลงด้วย
นอกจากนี้มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับระบบน้ำเหลืองโดยตรงนั้น ก็สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้เช่นกัน
ตัวอย่างชนิดมะเร็งที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Disease: HD)
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin lymphoma: NHL)
- มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- มะเร็งที่มีการแพร่กระจาย
อาการอื่นๆ ที่อาจจะพบร่วมกับต่อมน้ำเหลืองโต
นอกเหนือจากการตรวจหาต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะมีการสอบถามอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในขณะที่มีภาวะต่อมน้ำเหลืองโตด้วย เช่น
หากคุณมีอาการเหล่านี้ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโต แตะแล้วเจ็บ แต่ไม่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ก็ยังเข้าข่ายอาการที่ควรไปพบแพทย์อยู่ ส่วนต่อมน้ำเหลืองที่โตแต่ไม่เจ็บนั้น อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปกติแล้วต่อมน้ำเหลืองที่โตนั้นจะค่อยๆ มีขนาดเล็กลงเมื่ออาการอื่นๆ เริ่มหายไป แต่หากอาการอย่างอื่นค่อยๆ ดีขึ้นแล้ว แต่ต่อมน้ำเหลืองยังโต แตะและเจ็บอยู่ รวมถึงมีอาการบวมนานหลายวัน ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการ
การวินิจฉัย
หากผู้ป่วยเพิ่งมีอาการป่วย หรือได้รับบาดเจ็บ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน เพราะสามารถช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้
โดยในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติของผู้ป่วย เนื่องจากมีหลายโรค และยาบางตัวที่สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ ดังนั้นการให้ประวัติอย่างละเอียดจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ง่ายขึ้น
หลังจากซักประวัติแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกายโดยการคลำดูขนาดของต่อมน้ำเหลืองที่โต และดูว่ามีอาการเจ็บหรือไม่ หลังจากนั้นอาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูโรคบางโรค หรือความผิดปกติของฮอร์โมน
หากจำเป็นแพทย์อาจตรวจวินิจฉัยทางรังสีเพื่อประเมินต่อมน้ำเหลือง หรือบริเวณอื่นๆ ของร่างกายที่อาจทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
นอกจากนี้ อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอีกในผู้ป่วยบางราย เช่น การตัดต่อมน้ำเหลืองไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาโรคบางโรค เช่น โรคมะเร็ง หากจำเป็นแพทย์อาจจะต้องผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองทั้งหมดออก
การรักษาต่อมน้ำเหลืองโต
- ปกติแล้วต่อมน้ำเหลืองโตมักจะค่อยๆ เล็กลงได้เอง โดยที่ไม่ต้องรับการรักษา ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจนัดมาตรวจติดตามอาการโดยไม่ได้รักษาอื่นๆ
- ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อไวรัส เพื่อกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดต่อมน้ำเหลืองโต นอกจากนี้ แพทย์อาจให้ยาลดแก้ปวด และการอักเสบร่วมด้วย เช่น แอสไพริน (Aspirin) และไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
- ต่อมน้ำเหลืองโตที่เกิดจากโรคมะเร็งอาจไม่กลับไปมีขนาดเล็กเหมือนเดิม จนกว่าจะได้รับการรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งการรักษามะเร็งนั้นมีได้ตั้งแต่ตัดเนื้องอก หรือต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งลามไปออก หรืออาจต้องใช้ยาเคมีบำบัด เพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็ง
- แพทย์จะเป็นผู้เสนอ และวางแผนแนวทางการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยให้มากที่สุด
การป้องกันต่อมน้ำเหลืองโต
ต่อมน้ำเหลืองโตที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส สามารถป้องกันได้เบื้องต้น ดังนี้
- สวมใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในที่แออัด โดยเฉพาะช่วงไข้หวัดระบาด เช่น บนรถโดยสารสาธารณะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยโรคติดเชื้อที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
- ล้างมือบ่อยๆ ทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากทำกิจกรรมต่างๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
ต่อมน้ำเหลืองโตจะไม่สร้างอาการ หรือความผิดปกติร้ายแรง หากคุณรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ และรักษาสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดเป็นประจำ นอกจากนี้ หากคุณรู้สึกเจ็บป่วย และคลำเจอก้อนประหลาดที่คาดว่า จะเป็นภาวะต่อมน้ำเหลืองโต ก็ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการทันที
ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชาย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android