หายใจลำบาก (Labored Breathing)

อาการหายใจลำบาก สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจมีทั้งอาการรุนแรง และอาการรุนแรงที่เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ก็ได้ ดังนั้นหากมีอาการจึงควรไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
หายใจลำบาก (Labored Breathing)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

อาการหายใจลำบาก จะทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถหายใจได้สะดวกอย่างที่เคยเป็น และอาจต้องใช้ความพยายามที่จะหายใจ จึงทำให้หลายคนรู้สึกกลัวและรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก แต่ไม่ใช่ทุกสาเหตุจะเกี่ยวข้องกับปอด ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุ เนื่องจากภาวะนี้อาจเกิดขึ้นจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์บางชนิด

สาเหตุของอาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากเกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งบางสาเหตุอาจเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง เช่น

นอกจากนี้ยังพบอาการหายใจลำบาก ได้จากสาเหตุเฉียบพลันดังต่อไปนี้

  • โลหิตจาง (Anemia)
  • พิษจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmonoxide Poisoning)
  • กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ (Croup)
  • การมีของเหลวคั่งรอบๆ ปอดเนื่องจากภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion) หรือ ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardial Effusion)
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Heart Attack)
  • โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
  • ภาวะปอดรั่ว หรือ ภาวะโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)
  • การอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน จากการสำลักบางสิ่งบางอย่าง
  • ความวิตกกังวล (Anxiety)

เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?

การหายใจเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของสมอง ดังนั้น เมื่อเกิดอาการหายใจลำบาก แพทย์มักจะพิจารณาไว้ก่อนว่าอาจเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ หากมีอาการมึนงง สับสน หอบ หายใจมีเสียงหวีด หรือไม่สามารถนอนราบได้ร่วมอยู่ด้วย ก็ยิ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด

เด็กก็สามารถเกิดอาการหายใจลำบากได้เช่นกัน โดยอาการที่บ่งชี้ว่าต้องรีบเข้ารับการรักษา ได้แก่

  • หายใจเร็วกว่าปกติ
  • มีน้ำลายไหลมากเกินไป หรือกลืนลำบาก
  • ผิวหนังมีสีม่วงหรือมีสีเทารอบจมูก ปาก หรือเล็บ
  • มีเสียงดังขณะหายใจ
  • วิตกกังวลหรืออ่อนเพลียเฉียบพลัน

การวินิจฉัยอาการหายใจลำบาก

แพทย์จะพยายามเชื่อมโยงอาการหายใจลำบากกับสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ในขณะนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) อยู่แล้ว อาการหายใจลำบากอาจบ่งบอกได้ว่าอาการของโรคแย่ลง เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจเพิ่มเติมที่อาจช่วยวินิจฉัยอาการหายใจลำบากได้ดีขึ้น ได้แก่

  • การตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical Exam) : แพทย์จะตรวจร่างกายโดยใช้หูฟัง (Stethoscope) เพื่อฟังการทำงานของปอด นับจำนวนครั้งของการหายใจ และตรวจดูลักษณะโดยรวมของร่างกาย
  • ตรวจประเมินการทำงานของปอด (Functional Assessment)
  • การเอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray) : เพื่อดูว่ามีการอุดกั้นเกิดขึ้นในปอดหรือไม่ มีของเหลวสะสมในปอดหรือไม่ และมีภาวะปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือไม่
  • การตรวจซีทีสแกน (Computed Tomography (CT) Scan) : เป็นการตรวจเพื่อให้ได้ภาพโดยละเอียดของปอดและอวัยวะอื่นภายในร่างกาย เพื่อดูความผิดปกติที่เกิดขึ้น
  • การตรวจเลือด : การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count (CBC)) เพื่อวัดปริมาณเม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่ขนส่งออกซิเจนในเลือดว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด และตรวจ Arterial Blood Gas (ABG) เพื่อวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด

การรักษาอาการหายใจลำบาก

การรักษาอาการหายใจลำบาก จะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ เช่น

  • การให้ยาขยายหลอดลม เพื่อขยายหลอดลมที่ตีบแคบให้เปิดกว้าง
  • การให้ออกซิเจน
  • การให้ยาสำหรับคลายกังวลในผู้ที่มีอาการหายใจลำบากจากความวิตกกังวล
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • การให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ
  • การผ่าตัดเอาเนื้องอกหรือสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจออก

ที่มาของข้อมูล

Rachel Nall, What Causes Labored Breathing? (https://www.healthline.com/symptom/labored-breathing),February 26, 2015.


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Heavy breathing: 10 causes and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318210)
Labored Breathing: Causes and When to Seek Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/labored-breathing)
Breathing difficulties - first aid. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000007.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)