เท้าเป็นอวัยวะที่เกิดอาการคันได้ง่าย เพราะมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนี้ได้ เช่น การสัมผัสกับความชื้น การอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แห้ง การระคายเคืองเมื่อเดินเท้าเปล่า และการติดเชื้อต่างๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต และเชื้อรา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการคันเท้า จะทำให้รู้สึกอยากเกาที่ผิวหนังบริเวณนั้น และอาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตุ่มพอง รอยแตก ผิวแห้งเป็นเกล็ด คัน ผื่น บวมแดง เป็นต้น
สาเหตุของอาการคันเท้า
อาการคันเท้าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- โรคบางชนิด : อาการคันเท้าอาจเกิดจากโรคทางร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน โดยโรคที่เป็นสาเหตุของอาการคัน ได้แก่
- โรคตับ (Liver Disease)
- ภาวะคั่งของน้ำดี (Cholestasis)
- โรคมะเร็ง (Cancer)
- ประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
- ภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia Rubra Vera)
- โรคไต (Kidney Disease)
- โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Disease)
- อาการคันตามผิวหนังขณะตั้งครรภ์ (Pruritus Gravidarum) ซึ่งอาจพบร่วมกับภาวะคั่งของน้ำดีหรือไม่ก็ได้
- โรคผิวหนังบางชนิด เช่น
- โรคผื่นสัมผัสจากสารก่อภูมิแพ้ (Allergic Contact Dermatitis)
- โรคน้ำกัดเท้า หรือ โรคฮ่องกงฟุต (Athlete’s Foot หรือ Tinea Pedis)
- โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
- โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
- รอยแผลเป็น
- แมลงกัดต่อย
- ผิวหนังแห้ง
- การใช้ยาบางชนิด ยาที่ก่อให้เกิดอาการคันตามร่างกายและที่เท้า ได้แก่ ยาในกลุ่ม Opioids หรือ Narcotics เช่น ยาแก้ปวด Morphine sulfate ยาลดความดันโลหิตในกลุ่ม ACE-inhibitors และยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม Statins
เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์
หากอาการคันที่เท้าไม่ดีขึ้นจากการดูแลตนเองที่บ้าน หรือถ้าอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ก็ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติร่วมกับการตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของอาการคันที่เท้า ถ้าจำเป็น แพทย์อาจทำการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
- การขูดผิวไปตรวจ (Skin Scraping)
- การเพาะเชื้อ (Microbial Culture)
- การตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างไปตรวจ (Biopsy)
- การตรวจเลือด (Blood Test)
การรักษาอาการคันเท้า
แพทย์จะรักษาอาการคันเท้า โดยพิจารณาจากสาเหตุของอาการ โดยการรักษาที่นิยม ได้แก่
- การใช้ยาต้านฮีสตามีนชนิด H1-blocker เช่น Diphenhydramine เพื่อบรรเทาอาการคัน แต่ยาชนิดนี้มีผลข้างเคียงคือทำให้ง่วงนอน
- การใช้ยาต้านเชื้อราชนิดสเปรย์หรือชนิดครีม เพื่อบรรเทาอาการคันเท้าที่เกิดจากน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต ในกรณีที่เป็นการติดเชื้อราเรื้อรัง อาจต้องรักษาโดยยาต้านเชื้อราบางตัวที่แพทย์สั่งจ่ายเท่านั้น
- การใช้ยาแก้คันชนิดทาบนผิวหนัง เช่น Petrolatum และยาสเตียรอยด์ครีม อาจช่วยบรรเทาอาการคันเฉพาะที่ได้
- การใช้ยาในกลุ่ม SSRIs, Gabapentin หรือ ยาต้านเศร้ากลุ่ม Tricyclic Antidepressants อาจช่วยลดอาการคันในผู้ป่วยบางราย
การป้องกันอาการคันเท้า
การดูแลรักษาสุขภาพเท้าให้สะอาดจะช่วยลดอาการคันเท้าและป้องกันสาเหตุของอาการคันบางชนิดได้ เช่น ป้องกันการติดเชื้อราที่เท้า และควรปฏิบัติดังนี้ เพื่อช่วยให้สุขภาพเท้าดีขึ้น
- อย่าใส่ถุงเท้าและรองเท้าจนกว่าเท้าจะแห้งสนิท
- ทำความสะอาดเท้าด้วยสบู่อ่อนเป็นประจำ ดูแลผิวหนังระหว่างนิ้วเท้าเป็นพิเศษด้วยการทาครีมให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำเสร็จ
- สวมถุงเท้าที่ทำจากผ้าคอตตอน หรือ ผ้าขนสัตว์
- สวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อช่วยให้เท้าแห้งตลอดเวลา
ที่มาของข้อมูล
Rachel Nall, What Causes Feet Itching? (https://www.healthline.com/symptom/feet-itching),October 28, 2016.