โรคพุพอง (Impetigo) เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและตุ่มหนอง แม้ว่าจะเป็นภาวะที่ไม่ร้ายแรงและจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษาภายในหนึ่งอาทิตย์ หรือภายในไม่กี่สัปดาห์หากไม่ทำการรักษา
โรคพุพองเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยกับเด็กเล็ก แต่ก็สามารถเกิดกับผู้คนได้ทุกช่วงวัย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการของโรคพุพอง
โรคพุพองมีอยู่สองประเภท:
- โรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ (พบได้มากที่สุด)
- โรคพุพองแบบมีตุ่มน้ำ
โดยอาการของทั้งสองประเภทจะถูกอธิบายไว้ดังนี้:
โรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ
อาการของโรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำจะเริ่มขึ้นด้วยอาการแดงปวดบนจมูก ปาก และอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้าและแขนขา
อาการปวดจะเปลี่ยนไปเป็นสะเก็ดหนาสีทองที่มีขนาดประมาณ 2 cm อย่างรวดเร็ว รูปร่างของสะเก็ดเหล่านี้อาจดูคล้ายกับมีธัญญาหารเกาะบนผิวหนังผู้ป่วย
หลังจากสะเก็ดแห้ง สะเก็ดจะทิ้งรอยแดงไว้บนผิวหนัง ซึ่งจะค่อย ๆ หายไปโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้ โดยอาจใช้เวลาระหว่างที่มีอาการแดงไปจนอาการหายไปนั้นอาจมีเวลาประมาณไม่กี่วันไปจนถึงไม่กี่สัปดาห์
อาการปวดมักจะไม่รุนแรงมาก แต่อาจสร้างความคันขึ้นได้ คุณไม่ควรสัมผัสหรือเกาตำแหน่งเหล่านั้นเพราะอาจยิ่งทำให้การติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น หรือเข้าไปติดที่ส่วนอื่นของร่างกาย และผู้อื่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการอื่น ๆ ของโรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำเช่นมีไข้สูง และต่อมต่าง ๆ บวม ต่างก็เป็นอาการหายากและจะเกิดกับกรณีที่ป่วยเป็นโรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำแบบรุนแรง
โรคพุพองแบบมีตุ่มน้ำ
อาการของโรคพุพองแบบมีตุ่มน้ำจะเริ่มขึ้นด้วยตุ่มหนองที่มักปรากฏขึ้นตรงกลางของร่างกายระหว่างเอวและคอ หรือบนแขนและขา ตุ่มหนองมักจะมีขนาดประมาณ 1-2 cm
ตุ่มหนองอาจกระจายตัวออกอย่างรวดเร็วก่อนจะแตกออกหลังจากผ่านไปหลายวันจนทิ้งสะเก็ดสีเหลืองไว้ และจะสมานตัวเองโดยไม่ทิ้งแผลเป็นไว้
ตุ่มหนองอาจสร้างความเจ็บปวดและทำให้ผิวหนังโดยรอบคันได้ เช่นเดียวกับโรคพุพองแบบไม่มีตุ่มน้ำ สิ่งสำคัญคือห้ามสัมผัสหรือเกาผิวหนังที่มีอาการเด็ดขาด
โรคพุพองแบบมีตุ่มน้ำจะมีอาการอย่างไข้และต่อมต่าง ๆ บวมได้ง่ายกว่าแบบไม่มีตุ่มน้ำ
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ให้พบแพทย์เมื่อคุณคาดว่าตนเองหรือลูกของคุณมีอาการของโรคพุพอง บรรดาแพทย์จะสามารถวินิจฉัยโรคพุพองได้จากการสังเกตอาการภายนอกที่มีอาการ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคพุพองไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็มีอาการคล้ายคลึงกับภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ อย่างภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (การติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นลึกสุด) ทำให้ควรต้องเข้ารับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง
แพทย์มักจะจัดการรักษาเพื่อจัดการกับการติดเชื้อได้เร็วกว่าการปล่อยให้ร่างกายรักษาตัวเอง
สาเหตุของโรคพุพอง
โรคพุพองเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย มักจะเป็นเชื้อ Staphylococcus aureus หรือ Streptococcus pyogenes
ผิวหนังมักจะติดเชื้อแบคทีเรียได้สองวิธีดังนี้:
ผ่านรอยแผลบนผิวหนัง เช่นรอยบาด โรคหิด หรือโรคเรื้อน ซึ่งโรคพุพองที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้จะเรียกว่าโรคพุพองทุติยภูมิ
แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสผู้ติดเชื้อได้ง่าย อย่างการสัมผัสร่างกายโดยตรงหรือใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
เนื่องจากภาวะนี้จะไม่ก่ออาการใด ๆ จนกว่าจะผ่านไป 4 ถึง 10 วันหลังติดเชื้อครั้งแรกทำให้ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้โดยไม่ตั้งใจได้
โรคพุพองจะไม่สามารถแพร่เชื้อต่อได้หลังจากรับการรักษาไปแล้ว 48 ชั่วโมง หรือหลังจากที่อาการปวด ตุ่มหนอง หรือสะเก็ดหยุดลง
ผู้ป่วยและเด็กที่เป็นเบาหวานหรือมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อย่างเช่น HIV หรือกำลังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีอยู่ จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพุพองสูงที่สุด
การรักษาโรคพุพอง
โรคพุพองมักจะดีขึ้นเองโดยไม่ต้องรับการรักษาโดยประมาณสองถึงสามสัปดาห์
อย่างไรก็ตามการรักษาที่มีมักจะแนะนำเพื่อลดระยะเวลาป่วยลงเป็นประมาณเจ็ดถึงสิบวัน และยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ด้วย
การรักษาหลัก ๆ จะเป็นการใช้ครีมหรือยาปฏิชีวนะแบบทาน ซึ่งมักจะจ่ายให้ใช้เป็นเวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์
การป้องกันการแพร่กระจายของโรคพุพอง
ระหว่างการรักษาโรคพุพอง สิ่งสำคัญคือการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นและส่วนอื่นของร่างกายคุณ
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่สามารถแพร่เชื้อได้หลังผ่านการรักษาไป 48 ชั่วโมง หรือเมื่ออาการปวดดีขึ้น คุณควรลาและหยุดงาน โรงเรียน หรือไม่ไปสถานที่ที่ผู้คนพลุ่งพล่านในช่วงนี้
คำแนะนำต่อไปนี้มีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ:
- ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าปูเตียงเดียวกับผู้ป่วยโรคพุพอง และซักผ้าเหล่านี้ในอุณหภูมิสูงหลังใช้งาน
- ล้างบริเวณที่ปวดด้วยสบู่และน้ำก่อนคลุมด้วยผ้าปิดแผลหรือเสื้อผ้าหลวม ๆ
- เลี่ยงการสัมผัสหรือเกาบริเวณที่ปวด ห้ามไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสผิวหนังของคุณ และพยายามดูแลเล็บมือให้สั้นและสะอาดอยู่เสมอ
- เลี่ยงการสัมผัสกับทารกแรกเกิด ไม่จัดเตรียมอาหาร เล่นกีฬากระทบกระทั่ง หรือไปโรงยิมจนกว่าความเสี่ยงติดเชื้อจะผ่านไป
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสผิวหนังที่มีอาการ
- ล้างหรือเช็ดของเล่นเด็กให้สะอาดหมดจดในน้ำยาซักผ้าและน้ำอุ่นก่อนปล่อยให้แห้ง
หากคุณคาดว่าคุณแพร่เชื้อให้ผู้อื่น พยายามพาผู้ป่วยใหม่มาพบแพทย์ทันที
การป้องกันการกลับมาของโรคพุพอง
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการกลับมาของโรคพุพอง พยายามดูแลแผลบาด แผลเกา หรือรอยกัดให้สะอาดอยู่เสมอ และต้องให้มั่นใจว่าภาวะที่ทำให้เกิดผิวหนังแตกได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เช่นโรคผิวหนังอักเสบ
หากคุณมีประสบกับอาการของภาวะพุพองบ่อยครั้ง แพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างจากจมูกของคุณเพื่อดูว่าคุณมีแบคทีเรีย staphylococcal หรือไม่ ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้อาจอาศัยอยู่ในจมูกของคุณโดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ก็ได้ แต่ก็สามารถทำให้เกิดภาวะพุพองได้หากเชื้อเข้าสู่ผิวหนังที่แตกใกล้เคียง
หากคุณมีเชื้อแบคทีเรียตัวนี้ในจมูก แพทย์จะจ่ายครีมฆ่าเชื้อในจมูกมาให้คุณใช้หลายครั้งต่อวันเป็นเวลานานห้าถึง 10 วันเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียและลดความเสี่ยงต่อการกลับมาของโรค
ภาวะแทรกซ้อนของโรคพุพอง
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคพุพองนั้นหายาก แต่หากเกิดขึ้นก็มักจะเป็นภาวะร้ายแรง ให้คุณไปพบแพทย์ทันทีที่อาการพุพองของคุณเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลง
ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคพุพองมีดังนี้:
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (cellulitis): การติดเชื้อที่ชั้นลึกสุดของผิวหนังและเนื้อเยื่อโดยรอบ
ไข้อีดำอีแดง (scarlet fever): การติดเชื้อแบคทีเรียหายากที่ทำให้เกิดผื่นสีชมพูทั่วร่างกาย
โรคสะเก็ดเงินชนิดผื่นเล็ก (guttate psoriasis): ภาวะติดเชื้อที่เกิดกับเด็กและวัยรุ่นหลังการติดเชื้อแบคทีเรีย
การติดเชื้อในกระแสเลือด (septicaemia): การติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด
กลุ่มอาการผิวหนังลอกหลุด (Staphylococcal scalded skin syndrome - SSSS): ภาวะผิวหนังร้ายแรงที่ดูเหมือนกับว่าผิวหนังโดนน้ำร้อนลวก
post-streptococcal glomerulonephritis: การติดเชื้อของหลอดเลือดขนาดเล็กภายในไต
ในกรณีที่หายากมาก โรคพุพองอาจทำให้เกิดแผลเป็นได้ โดยเฉพาะหากคุณเกาตุ่มหนองหรือผิวหนังที่ปวด
การเพิ่มความเสี่ยง
นอกจากสถานการณ์ข้างต้น มีปัจจัยมากมายที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพุพองดังนี้:
เป็นเด็ก: โรคพุพองมักเกิดกับเด็กเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังคงพัฒนาได้ไม่เต็มที่ และเพราะว่าพวกเขาใช้เวลาในสถานที่ที่เชื้อแพร่ได้ง่าย อย่างเช่นที่โรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก
เป็นเบาหวาน
เป็นพาหะของแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ในจมูกของมนุษย์บางคนโดยที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอะไร แต่ก็สามารถก่อให้เกิดโรคพุพองได้หากเชื้อเข้าสู่ผิวหนังใกล้เคียงที่เสียหาย
อยู่ในสภาพอากาศที่ชื้นและอบอุ่น: โรคพุพองมักจะพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศดังนี้ อากาศที่อุ่นและชื้นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นช่วงที่มนุษย์จะถูกแมลงกัดต่อยได้ง่ายมากอีกด้วย
มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ทั้งจากภาวะสุขภาพอย่าง HIV หรือกำลังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีอยู่
การรักษาโรคพุพอง
โรคพุพองมักจะไม่รุนแรงและจะหายไปเองโดยไม่ต้องทำการรักษาประมาณสองถึงสามสัปดาห์ การรักษาที่มีจะมีเพื่อช่วยกำจัดการติดเชื้อให้หายภายในเจ็ดถึงสิบวัน และลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อแก่ผู้อื่น
หากแพทย์ยืนยันว่าคุณเป็นโรคพุพอง การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจะมีประสิทธิภาพมาก และหากการติดเชื้อนี้เกิดจากภาวะสุขภาพอื่น ๆ อย่างโรคผิวหนังอักเสบ แพทย์จะทำการรักษาภาวะต้นเหตุด้วย
ครีมปฏิชีวนะ
สำหรับกรณีผู้ป่วยโรคพุพองไม่รุนแรงที่มีอาการเฉพาะบริเวณเล็ก ๆ แพทย์จะรักษาด้วยครีมปฏิชีวนะที่ต้องใช้ทาผิวหนังสามถึงสี่ครั้งต่อวัน เป็นเวลาต่อเนื่องนานเจ็ดวัน
ก่อนทาครีม คุณต้องล้างผิวหนังบริเวณที่มีอาการด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ และพยายามขัดสะเก็ดออกให้หมด
สิ่งสำคัญคือต้องล้างมือทันทีหลังใช้ครีมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ หรือหากเป็นไปได้ควรสวมถุงมือยางในขณะทาครีม
ผลข้างเคียงของครีมปฏิชีวนะมีดังนี้:
- ระคายเคือง
- ผิวแดง
- คันบริเวณที่ทาครีม
หากอาการไม่ดีขึ้นภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่เริ่มการรักษา ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับตัวเลือกการรักษาอื่น ๆ อีกที
ยาปฏิชีวนะชนิดเม็ด
ยาปฏิชีวนะแบบทานจะจ่ายให้ในกรณีที่การติดเชื้อมีความรุนแรงกว่าและกระจายเป็นวงกว้างกว่าข้างต้น หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ครีมปฏิชีวนะ การรักษาลักษณะนี้มักกำหนดให้ทานยาปฏิชีวนะสองถึงสี่ครั้งต่อวันเป็นเวลานานเจ็ดวัน
หากแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้แก่คุณหรือลูกของคุณ คุณต้องคอยทานยาให้ครบคอร์สแม้ว่าอาการจะหายไปแล้วก็ตาม
ผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะแบบทานมีดังนี้:
ให้ปรึกษาแพทย์หากว่าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากใช้ยาปฏิชีวนะเจ็ดวัน
การทดสอบและการรักษาเพิ่มเติม
การทดสอบเพิ่มเติมมักจะเกิดขึ้นกับกรณีที่การติดเชื้อรุนแรงหรือกระจายเป็นวงกว้าง ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือเกิดอาการขึ้นซ้ำ ๆ
ในสถานการณ์เหล่านี้แพทย์จะส่งคุณไปพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรับการทดสอบเพิ่มเติมหรือทำให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากผิวหนังที่มีอาการไปตรวจ
การทำเช่นนี้มีเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะผิวหนังอื่น ๆ นอกจากโรคพุพอง และเพื่อหาว่าคุณมีเชื้อแบคทีเรียชนิดไหนที่ส่งผลต่อการติดเชื้อภายในจมูกของคุณ
หากแพทย์คาดว่าคุณเป็นโรคพุพองเพราะเชื้อแบคทีเรียในจมูกตามธรรมชาติ แพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อในจมูกแก่คุณเพื่อกำจัดแบคทีเรียเหล่านั้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคพุพอง
การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคพุพองเป็นเรื่องหายาก แต่หากเกิดขึ้นก็มักจะเป็นภาวะร้ายแรง ให้คุณแจ้งแพทย์ผู้ดูแลทันทีที่คุณเป็นโรคพุพองและมีอาการของโรคเปลี่ยนแปลงหรือทรุดลง
1.เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
ภาวะเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบเกิดขึ้นเมื่อการติดเชื้อกระจายลงไปยังชั้นผิวหนังที่ลึกขึ้นจนทำให้เกิดอาการผิวแดง ผิวอักเสบ มีไข้ และเจ็บปวด ภาวะนี้มักจะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะกับยาแก้ปวด
2.สะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็ก
ภาวะสะเก็ดเงินชนิดผื่นขนาดเล็กเป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังที่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ มักเกิดกับเด็กและวัยรุ่นหลังการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังจากการติดเชื้อที่คอ แต่ในบางกรณีก็สามารถเกี่ยวเนื่องมาจากโรคพุพองได้เช่นกัน
ภาวะสะเก็ดเงินชนิดผื่นจะก่อให้เกิดปื้นสะเก็ดขนาดเล็ก สีแดง รูปทรงคล้ายหยดน้ำบนหน้าอก แขน ขา และหนังศีรษะ
มีครีมที่สามารถใช้ควบคุมอาการได้ และบางกรณีอาการของสะเก็ดเงินประเภทนี้จะหายไปเองหลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์
3.ไข้อีดำอีแดง
ภาวะไข้อีดำอีแดงเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียหายากที่ทำให้เกิดผื่นจุดสีชมพูทั่วร่างกาย อาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อประเภทนี้มีทั้งคลื่นไส้ เจ็บปวด และอาเจียน ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ
โรคไข้อีดำอีแดงมักจะไม่ร้ายแรงแต่ก็สามารถติดต่อได้ ดังนั้นควรดูแลเด็กที่ป่วยแยกต่างหากและเลี่ยงสัมผัสกับคนไข้โดยตรง ควรให้เด็กหยุดเรียนและไม่พาไปพบเจอผู้คนจนกว่าพวกเขาจะได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
4.ติดเชื้อในกระแสเลือด
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือดที่ทำให้เกิดอาการ:
- ท้องร่วง
- ผิวเย็น
- มีไข้สูง
- หายใจเร็ว
- อาเจียน
- ความดันโลหิตต่ำ
- สับสน
- รู้สึกวิงเวียนและหมดสติ
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตและจำต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจากแพทย์อย่างเร่งด่วน
5.แผลเป็น
กรณีหายาก โรคพุพองสามารถทำให้เกิดแผลเป็นได้ อย่างไรก็ตามส่วนมากมักจะเป็นผลมาจากการเกาตุ่มหนอง สะเก็ด หรือบริเวณที่เจ็บปวดเสียมากกว่า ตุ่มหนองและสะเก็ดปกติจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้หากปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง
รอยแดงที่เกิดขึ้นหลังจากสะเก็ดและตุ่มหนองหายไปควรจะหายไปเอง ช่วงเวลาที่รอยแดงจะหายไปจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ไม่กี่วันไปจนถึงไม่กี่สัปดาห์
กลุ่มอาการผิวหนังลอกหลุด (SSSS) กลุ่มอาการผิวหนังลอกหลุด (SSSS) เป็นภาวะผิวหนังร้ายแรงที่ทำให้เกิดภาวะพุพองขึ้น โดยจะเกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus ที่ปล่อยสารพิษออกมาทำลายผิวหนัง ซึ่งจะทำให้เกิดตุ่มหนองที่ทำให้ดูราวกับว่าผิวโดนน้ำร้อนลวกมา
อาการอื่นของ SSSS มีดังนี้:
- ผิวหนังเจ็บปวด
- มีไข้สูง
- ผิวหนังหลุดลอกเป็นบริเวณกว้าง
- ผิวแดงทั่วร่างกาย
ผู้ป่วย SSSS ต้องเข้ารับการรักษาตามโรงพยาบาลทันทีเพื่อเข้ารับการฉีดยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดโดยตรง
Post-streptococcal glomerulonephritis Post-streptococcal glomerulonephritis เป็นการติดเชื้อของเส้นเลือดขนาดเล็กในไต และเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคพุพองที่หายาก
อาการของ Post-streptococcal glomerulonephritis มีดังนี้:
- ปัสสาวะสีเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลอมแดง
- ท้อง ใบหน้า ดวงตา เท้า และข้อเท้าบวม
- ความดันโลหิตพุ่งสูง
- เลือดปนปัสสาวะ
- ปริมาณปัสสาวะลดลง
ผู้ป่วย Post-streptococcal glomerulonephritis ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลทันทีเพื่อให้แพทย์คอยสอดส่องและควบคุมความดันโลหิตตลอดเวลา
Post-streptococcal glomerulonephritis เป็นภาวะอันตรายสำหรับผู้ใหญ่อย่างมาก แต่สำหรับเด็กอัตราการเสียชีวิตจากภาวะนี้จะหายากกว่า
การป้องกันโรคพุพอง
โรคพุพองเป็นโรคติดต่อได้ง่ายทำให้คุณต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้ออย่างมาก
การหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ
คำแนะนำต่อไปนี้มีเพื่อช่วยป้องกันการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นหรือส่วนอื่นของร่างกายคุณ:
- หยุดงาน ลาเรียน และไม่ไปสถานที่ที่มีผู้คนไปจนกว่าอาการปวด ตุ่มหนอง และสะเก็ดจะหายไป หรือภายหลังเริ่มการรักษา 48 ชั่วโมง
- ห้ามใช้ผ้าเช็ดหน้า ผู้ปูเตียง หรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้ป่วยพุพอง และซักผ้าเหล่านั้นในอุณหภูมิสูงหลังใช้งาน
- ล้างบริเวณที่ปวดด้วยน้ำสบู่อุ่น ๆ และคลุมด้วยผ้าปิดแผลหรือเสื้อผ้าไว้ตลอดเวลาที่ทำได้
- ห้ามสัมผัสกับบริเวณที่ปวด ห้ามให้ผู้อื่นสัมผัสบริเวณที่ปวด
- ห้ามเกาบริเวณที่ปวด และควรดูแลเล็บมือของคุณและลูกให้สะอาดและสั้นอยู่เสมอเพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายจากการเกา
- เลี่ยงการสัมผัสตัวทารกแรกเกิด การจัดเตรียมอาหาร การเล่นกีฬากระทบกระแทก หรือการไปออกกำลังกายที่โรงยิมไปจนกว่าช่วงแพร่เชื้อจะผ่านไป (หรือเมื่อผื่นหลุดลอกออก หรือหลังจากเริ่มการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไปแล้วอย่างน้อย 48 ชั่วโมง)
- ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสผิวหนังบริเวณที่ปวด
- ล้างหรือทำความสะอาดของเล่นเด็กให้สะอาดในสารซักฟอกกับน้ำอุ่น และปล่อยให้แห้งทั้งหมด
หากคุณคาดว่าคุณแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น ควรพาผู้ป่วยใหม่ไปพบแพทย์ทันทีที่เป็นไปได้
การป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการกลับมาของโรคพุพอง พยายามดูแลแผลบาด แผลเกา หรือแผลกัดให้สะอาด และดูแลภาวะที่ทำให้ผิวแตกอย่างโรคผิวหนังอักเสบอย่างเหมาะสม
หากคุณประสบกับโรคพุพองบ่อยครั้ง แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างจากจมูกของคุณเพื่อตรวจหาแบคทีเรีย staphylococcal ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่บางคนจะมีในจมูกโดยที่ไม่มีอาการใด ๆ แต่ก็จะทำให้เกิดโรคพุพองได้หากมีผิวหนังแตกอยู่ใกล้เคียง
หากคุณมีเชื้อแบคทีเรียประเภทนี้อยู่ คุณจะได้รับครีมฆ่าเชื้อมาใช้หลายครั้งต่อวันเป็นเวลานานห้าถึง 10 วันเพื่อกำจัดแบคทีเรียเหล่านั้นและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซ้ำ