กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ยาคุมฉุกเฉิน ดีหรือไม่ ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน ดีหรือไม่ ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 30 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ก.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาคุมฉุกเฉิน ดีหรือไม่ ควรใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนต่อเม็ดมากกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป จะใช้ในกรณีจำเป็น เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์เท่านั้น
  • ยาคุมฉุกเฉินมี 2 ชนิด ได้แก่ ยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนตัวเดียว และยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนรวม มีการออกฤทธิ์แตกต่างกัน แต่ปัจจุบันชนิดหลังได้รับความนิยมน้อยกว่าเพราะมีผลข้างเคียงมากกว่าชนิดแรก
  • หากรับประทานยาคุมกำเนิดภายใน 12 – 24 ชั่วโมง หลังจากการมีเพศสัมพันธ์จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 85% แต่หากทิ้งระยะนานไปเรื่อยๆ ประสิทธิภาพการป้องกันก็จะลดลงตามไปด้วย 
  • การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซ้ำกันหลายครั้งอาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาได้ จึงไม่ควรที่จะใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดในระยะยาว
  • ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาช้า หรือเร็วกว่าปกติ ดังนั้นจึงควรใช้เมื่อฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้น หรือใช้ภายใต้ตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

ยาคุมฉุกเฉิน หรือยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency contraception pill) ออกฤทธิ์ไม่ต่างกับยาคุมกำเนิดแบบธรรมดา เพียงแต่ยาเม็ดคุมฉุกเฉินจะมีปริมาณฮอร์โมนต่อเม็ดมากกว่ายาคุมกำเนิดทั่วไป และจะใช้ก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นฉุกเฉินเท่านั้น 

ยาคุมฉุกเฉินจะรับประทานหลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่หากต้องการคุมกำเนิดในระยะยาวแล้ว ยาเม็ดคุมกำเนิดแบบธรรมดาจะมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจก่อนแต่งงานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 549 บาท ลดสูงสุด 54%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉินและการออกฤทธิ์

ยาคุมฉุกเฉินที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทยมีทั้งชนิดฮอร์โมนเพียงตัวเดียวและชนิดฮอร์โมนรวม มีรายละเอียดดังนี้

1.ยาคุมฉุกเฉินแบบมีฮอร์โมนเพียงตัวเดียว 

ยาคุมฉุกเฉินแบบมีฮอร์โมนเพียงตัวเดียวคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ในหนึ่งเม็ดยาจะประกอบไปด้วยตัวยาลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) 0.75 มิลลิกรัม 

ยาคุมชนิดนี้ออกฤทธิ์โดยการช่วยชะลอ หรือยับยั้งการเจริญของถุงไข่ หรือการแตกของถุงไข่ ซึ่งก็จะเป็นการยับยั้งไม่ให้ไข่ตกนั่นเอง 

2.ยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนรวม

ยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนรวม หรือที่เรียกว่า Yuzpe Regimen จะมีฮอร์โมน 2 ชนิดรวมเข้าด้วยกัน คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Ethinyl Estradiol – EE) 0.1 มิลลิกรัม และโปรเจสเตอโรน (Levonorgestrel) ขนาด 0.5 มิลลิกรัมในหนึ่งเม็ดยา 

ยาคุมชนิดนี้ออกฤทธิ์โดยการเข้าไปขัดขวางการปฏิสนธิของอสุจิและไข่และช่วยยับยั้งการตกไข่ แต่ข้อเสียคือ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่าชนิดฮอร์โมนเพียงตัวเดียว จึงทำให้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแบบฮอร์โมนรวมไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนักในปัจจุบัน

วิธีใช้ยาคุมฉุกเฉิน

  1. หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินเม็ดแรกให้เร็วที่สุด โดยไม่ควรนานเกิน 120 ชั่วโมง หรือ 5 วัน หรือจะให้ดีก็ไม่ควรเกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน ถ้าดีที่สุดก็ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง และหลังรับประทานเม็ดแรกไปแล้ว 12 ชั่วโมงก็ต้องรับประทานเม็ดที่ 2 ซ้ำอีก 1 เม็ด
  2. สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ดพร้อมกันได้เลยทีเดียว โดยที่ไม่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย เมื่อเปรียบเทียบกับการแบ่งรับประทานออกเป็น 2 ครั้ง แต่ในบางรายโดยเฉพาะมือใหม่ อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ เนื่องจากตัวยาในรูปแบบการรับประทานครั้งเดียวจะมีความแรงเพิ่มมากขึ้นจากการแบ่งกิน 2 ครั้งถึง 2 เท่าตัว 
  3. หลังจากที่รับประทานยาในแต่ละเม็ดไปแล้ว หากมีการอาเจียนออกมาภายในเวลา 2 ชั่วโมง จะต้องซ้ำใหม่อีก 1 เม็ดในทันที
  4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนตามมาได้ การรับประทานยาแก้อาเจียนเสียก่อนก็สามารถที่จะช่วยบรรเทาอาการลงได้
  5. การรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมากกว่า 2 กล่อง หรือ 4 เม็ดต่อเดือนขึ้นไป อาจทำให้มีผลข้างเคียงกับรังไข่ในระยะยาวเกิดขึ้นได้
  6. หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และลืมรับประทานยาคุมชนิดปกตินานเกิน 3 วันก็สามารถที่จะรับประทานยาคุมฉุกเฉินได้
  7. ควรเก็บยาคุมฉุกเฉินเอาไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิห้องปกติ หรือมีอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส
  8. ยาบางอย่างอาจมีผลทำให้ระดับฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดฉุกเฉินลดลงได้ เช่น ยากันชัก ยารักษาวัณโรค

คำแนะนำในการใช้ยาคุมฉุกเฉิน

การใช้ยาคุมฉุกเฉินแม้จะมีความปลอดภัยสูง แต่หากใช้อย่างผิดวิธีก็อาจส่งผลในระยะยาวได้เหมือนกัน จึงมีคำแนะนำในการใช้ยาดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ควรขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนเสมอ ก่อนที่จะใช้ยาคุมฉุกเฉิน
  • แม้จะรับประทานยาคุมฉุกเฉินตามกำหนดอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม แต่ยังมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ได้ หากตั้งครรภ์จริงไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัย เพราะยาคุมฉุกเฉินจะไม่มีผลต่อทารกในครรภ์
  • หากรับประทานยาภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ ตัวยาจะออกฤทธิ์ในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ถึง 75 – 79% (จะต้องรับประทานยาทั้งหมด 2 เม็ด) แต่ถ้าหากรับประทานภายใน 12 – 24 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์จะช่วยป้องกันได้ถึง 85%  แต่หากพ้นจาก 72 ชั่วโมงไปแล้ว หรือเลยเวลาไป 72 – 120 ชั่วโมงก็จะสามารถป้องกันได้แค่ 60% เท่านั้น
  • แม้ว่าในระหว่างที่รับประทานยาเม็ดแรกกับเม็ดที่ 2 จะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างไร้กังวล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะวางใจได้ 100% เพราะยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้อยู่ โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์หลังจากที่รับประทานยาครบ 2 เม็ดไปแล้ว จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ให้สูงมากขึ้น
  • ภายในระยะเวลา 1 เดือนสามารถรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินได้มากกว่า 1 ครั้ง และการรับประทานยาคุมฉุกเฉินสามารถรับประทานได้มากกว่า 2 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 2 กล่องต่อเดือน
  • การใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซ้ำกันหลายครั้ง อาจส่งผลให้เกิดอันตรายร้ายแรงตามมาได้ จึงไม่ควรที่จะใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อคุมกำเนิดประจำ หรือใช้รับประทานเป็นยาคุมกำเนิดในระยะยาว
  • หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา ให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว

หากไม่แน่ใจว่า ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างไรและไม่กล้าปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ด้วยเหตุผลว่า เขิน อาย ไม่สะดวก หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ปัจจุบันหลายๆ แห่งมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เกี่ยวกับการใช้ยาคุมฉุกเฉินให้บริการแล้ว 

จะแค่โทรคุยแบบไม่เห็นหน้า หรือจะวีดีโอคอล ก็สามารถเลือกได้  

แต่หากกังวลใจไปถึงขั้นว่า หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินไม่ทันเวลาจริงๆ แล้วเกิดท้องไม่พร้อมขึ้นมาจะทำอย่างไร ก็มีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์เรื่องปัญหาท้องไม่พร้อมเช่นกัน  

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

การรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉิน อาจมีผลข้างเคียงได้บ้าง ดังนี้

อาการต่างๆ เหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองภายใน 24 ชั่วโมง

ผลข้างเคียงในระยะยาว

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด หากรับประทานในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้นานเกิน 2 กล่องต่อเดือน ไม่เพียงแต่ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะเทียบยาคุมกำเนิดแบบปกติไม่ได้เท่านั้น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่ยังมีผลให้รังไข่และเยื่อบุโพรงมดลูกมีอาการผิดปกติ อีกทั้งยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ถึง 2% อีกด้วย

การเลือกซื้อยาคุมฉุกเฉิน

สำหรับในประเทศไทย มียาคุมฉุกเฉินที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียวคือ ลีโวนอร์เจสเดรล (Levonorgestrel) รวมถึงยาคุมฉุกเฉินแบบฮอร์โมนรวม ซึ่งหมายความว่า รวมฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Levonorgestrel) กับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Ethinyl estradiol) เข้าไว้ด้วยกัน 

เราสามารถหาซื้อยาคุมฉุกเฉินได้ตามร้านขายยาทั่วไป ปัจจุบันได้มีการผลิตยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นออกมา คือ Ulipristal acetate แต่ยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย  

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นยาคุมที่ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ หรือเกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง เช่น ถุงยางขาด ฉีก รั่ว อีกทั้งยาคุมฉุกเฉินยังมีข้อจำกัดในการใช้พอสมควร 

ดังนั้นจึงไม่ควรนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้คุมกำเนิดแบบระยะยาว หรือนำมารับระทานอย่างต่อเนื่องเด็ดขาด หรือหากคิดว่า มีความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Emergency contraception. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception), 8 September 2020.
Leung Vivian W.Y. et al., "Mechanisms of action of hormonal emergency contraceptives". Pharmacotherapy. 30 (2): 158–168. doi:10.1592/phco.30.2.158. PMID 20099990.
Cleland K et al. (December 2014). "Emergency contraception review: evidence-based recommendations for clinicians". Clinical Obstetrics and Gynecology. 57 (4): 741–50. doi:10.1097/GRF.0000000000000056. PMC 4216625. PMID 25254919.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป