เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบถุงยาง และยาคุมฉุกเฉิน

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบถุงยาง และยาคุมฉุกเฉิน

ตามจริงแล้ว ทั้ง 2 วิธีนี้ไม่ควรนำมาเปรียบเทียบกันเลยค่ะ เพราะถุงยางถือเป็นวิธีคุมกำเนิดปกติ และยาคุมฉุกเฉินก็เป็นวิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินตามชื่อ การเลือกใช้จึงแตกต่างกันอยู่แล้ว

แต่เนื่องจากพบว่ามีนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้แทนวิธีคุมกำเนิดปกติอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่เหมาะสมนะคะ แต่ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร ก็ยังอาจเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน อย่ากระนั้นเลย จับมาเปรียบเทียบให้เห็นจะจะกันไปเลยดีกว่า จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปสักที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. รูปแบบและวิธีใช้


    ใช้ในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์

    ใช้หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว


    การใช้ถุงยางจะต้องมีการเตรียมการณ์ล่วงหน้าค่ะ นั่นคือต้องมีการเตรียมซื้อถุงยางมาไว้ใช้ในเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ ในขณะที่ยาคุมฉุกเฉิน จะใช้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว แต่ต้องใช้ภายใน 120 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์นะคะ โดยแนะนำให้ใช้ยาคุมฉุกเฉินในกรณีที่ไม่มีการเตรียมการณ์ไว้ก่อน เช่น ถูกข่มขืน หรือใช้ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากวิธีคุมกำเนิดปกติ เช่น ถุงยางรั่วซึมหรือฉีกขาด

    เมื่อเปรียบเทียบวิธีการใช้ ก็ต้องยอมรับว่าการใส่ถุงยาง อาจขัดจังหวะของการทำกิจกรรมได้ค่ะ โดยเฉพาะถ้าผู้ใช้ไม่ชำนาญ และการขวางกั้นของถุงยางอาจทำให้คู่รักรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติไม่มากก็น้อย

    ดังนั้น หากพิจารณาในเรื่องความสะดวกในการใช้ โดยไม่สนใจว่าเป็นการใช้ที่เหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องยกให้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีที่สะดวกมากกว่าถุงยางค่ะ

  2. ประสิทธิภาพ


    มีโอกาสตั้งครรภ์ 2 – 18%

     

    หากใช้ถูกวิธีและถุงยางไม่ฉีกขาด

    จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 2%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 15 – 25%

    ต่อให้ใช้เร็วที่สุดภายหลังมีเพศสัมพันธ์

    ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 15 %

    จากประสิทธิภาพของทั้ง 2 วิธี จะเห็นได้ว่ายาคุมฉุกเฉินไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงเลยนะคะ เพราะแม้จะใช้ครบถ้วนโดยเร็ว ก็ยังมีความเสี่ยงสูงกว่าการใช้ถุงยางที่ถูกต้องเป็นอย่างมาก แต่ในกรณีที่ใช้ถุงยางไม่ถูกต้อง หรือมีการฉีกขาด การใช้ยาคุมฉุกเฉินโดยเร็วอาจลดความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ลงได้บ้าง

    จากประสิทธิภาพที่แตกต่างกันมากตามที่กล่าวมา จึงเป็นสาเหตุที่มีการแนะนำให้ใช้ยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีสำรองในกรณีที่เกิดความผิดพลาดจากวิธีหลักนั่นเองค่ะ

  3. ผลข้างเคียง / ความเสี่ยง


    แพ้ถุงยางที่ทำจากยางธรรมชาติ

    คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนคลาดเคลื่อน


    การแพ้ถุงยางที่ทำจากยางธรรมชาติ พบได้น้อยมากค่ะ อีกทั้งอาการมักจะไม่รุนแรง ส่วนผลข้างเคียงจากยาคุมฉุกเฉิน แม้จะพบบ่อยกว่า แต่ก็ไม่รุนแรงเช่นกัน แต่สิ่งที่ถุงยางอนามัยเหนือกว่ายาคุมฉุกเฉินอย่างชัดเจนก็คือ สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบความเสี่ยงทั้งหมด ถือว่าถุงยางอนามัยมีความปลอดภัยมากกว่านะคะ

  4. ราคา


    กล่องละ 20 – 100 บาท

    (1 กล่องมีถุงยาง 2 – 3 ชิ้น)

    กล่องละ 40 – 60 บาท


    ทั้งถุงยางอนามัยและยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีราคาแตกต่างกันมากค่ะ และหากไม่ยึดติดยี่ห้อ สามารถซื้อถุงยางมาตรฐานในราคาที่ต่ำกว่ายาคุมฉุกเฉินได้ด้วย

    ต่อให้ไม่มีการเปรียบเทียบ การนำยาคุมฉุกเฉินมาใช้แทนถุงยางอนามัยก็เป็นความคิดที่ไม่เหมาะสมอยู่แล้วนะคะ และเมื่อเปรียบเทียบในภาพรวม คงยิ่งเห็นได้ชัดว่ายาคุมฉุกเฉิน มีข้อดีเหนือกว่าถุงยางอนามัยแค่ในเรื่องของความสะดวกในการใช้เท่านั้นค่ะ แต่มีข้อด้อยกว่าถุงยางอนามัยมาก ๆ หากพิจารณาเรื่องของประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงทั้งจากการตั้งครรภ์และจากการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

    ดังนั้น หวังว่าต่อไป คุณผู้อ่านจะไม่ใช้ยาคุมฉุกเฉินแทนวิธีคุมกำเนิดปกตินะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Emergency contraception. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007014.htm)
How effective is emergency contraception?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/how-effective-emergency-contraception/)
Effect of emergency oral contraceptive use on condom utilization and sexual risk taking behaviours among university students, Northwest Ethiopia: a cross-sectional study. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3494538/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป