กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ชยากร พงษ์พยัคเลิศ แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ชยากร พงษ์พยัคเลิศ แพทย์ทั่วไป

ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสิวที่คาง

รวมสาเหตุและการรักษาสิวที่คาง เพื่อกำจัดสิวเป็นซ้ำให้หายอย่างได้ผล
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 8 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับสิวที่คาง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สิวที่คาง เป็นอีกปัญหาสิวเรื้อรังของหลายคนที่แก้ไม่หาย นอกจากนี้ สิวบริเวณส่วนล่างของใบหน้ายังมีบริเวณคาง ขอบกราม และคอ
  • สาเหตุของสิวที่คางเกิดมีอยู่หลายอย่าง โดยเฉพาะฮอร์โมน เพราะบริเวณคาง เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนอย่างเข้มข้น จนทำให้เกิดสิวได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีสบู่ล้างหน้า เครื่องสำอาง ยาบางชนิด การสัมผัสสิ่งสกปรก การโกนหนวดไม่สะอาด
  • หากสิวที่เป็นอยู่ในระดับปานกลาง ก็สามารถใช้ยารักษาสิว ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อสิว ครีมทาสิวเรตินอลในการรักษาสิวได้ หรืออาจเป็นยาแบบรับประทาน
  • สิวที่มีต้นเหตุมาจากฮอร์โมนนั้น แพทย์อาจมีการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมนว่า มีความผิดปกติอย่างไร และอาจให้ยาลดการทำงานของฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิว เช่น ยาคุมกำเนิด
  • ในเบื้องต้น วิธีป้องกันสิวที่ดี คือ หมั่นรักษาความสะอาดบนใบหน้า หลีกเลี่ยงเวชสำอางที่ทำให้เกิดอาการแพ้ และคุณอาจเข้ารับบริการรักษาสิวจากโรงพยาบาล หรือคลินิกความงามชั้นนำได้ (ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอย และหลุมสิวได้ที่นี่)

สิว ไม่ว่าจะเกิดขึ้นบริเวณใดของใบหน้าย่อมมีสาเหตุ ในบางครั้งจะพบได้ว่าคนเรามักเป็นสิวที่บริเวณเดิมซ้ำๆ รักษาหายยาก โดยเฉพาะกับสิวที่บริเวณส่วนล่างของใบหน้า ซึ่งมักจะพบได้มากบริเวณคางนั่นเอง

สาเหตุของสิวที่คาง

หากแบ่งสัดส่วนใบหน้าออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน ออกเป็น ส่วนบน กลาง และล่าง หากพบว่าสิวมักขึ้นบริเวณคาง ขอบกราม หรือคอ โดยอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. สิวฮอร์โมน 

 เป็นความจริงที่ว่า สิวฮอร์โมนจะมีรูปแบบการเกิดในบริเวณคาง เนื่องจากบริเวณใบหน้าส่วนล่างเป็นบริเวณที่มีความเข้มข้นของฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดสิวมากที่สุด

2. เครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิว และผม  

ผลิตภัณฑ์ที่เต็มไปด้วยสารให้ความชุ่มชื้นจำพวกน้ำมัน (Heavy oil) ทั้งที่ใส่อยู่ในเครื่องสำอาง ครีมบำรุงผิวหน้าและบำรุงผม มักก่อให้เกิดสิวบริเวณคาง กรามได้

3. การสัมผัสสิ่งสกปรกบริเวณส่วนล่างของใบหน้า 

เมื่อมีการสัมผัสวิ่งสกปรกใดๆ ก็ตามในบริเวณใบหน้าส่วนล่าง ย่อมก่อให้เกิดสิวขึ้นได้ มักพบในแปรงแต่งหน้า สายรัดหมวกกันน็อก การวางคางบนเครื่องดนตรีบางชนิดเป็นประจำ เช่น ไวโอลิน

นอกจากนี้การโกนหนวด การใช้ปลอกหมอนที่ไม่ค่อยสะอาด และการสัมผัสโทรศัพท์ ก็สามารถก่อให้เกิดสิวที่คางได้เช่นกัน

4. ตัวยาบางอย่าง

สิวบริเวณคาง หรือกรามมักเกิดหลังจากการใช้ตัวยาสเตียรอยด์ หรือตัวยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าและโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder)

5. โรคผิวหนังคล้ายสิวที่พบบ่อย (acne-like conditions)

โรคผิวหนังคล้ายสิวที่พบบ่อย ได้แก่ รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาสิวที่คาง

การรักษาสิวที่คางให้ได้ผล ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. หาสาเหตุ 

การรักษาที่ต้นเหตุการเกิดสิวจะทำให้สิวหายเร็วมากยิ่งขึ้น หากพบว่า มีสาเหตุตามที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรม และทำความสะอาดสิ่งที่จะต้องมาสัมผัสใบหน้า

2. เริ่มการรักษาสิวอย่างถูกต้อง 

หากเป็นสิวระดับน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ยาทารักษาสิวได้ โดยจำเป็นต้องได้รับตัวยาทาเฉพาะในการรักษาสิว ได้แก่ Benzoyl peroxide ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อสิว (Antibiotic) หรือครีมรักษาสิวเรตินอล (Retinol) ที่ช่วยลดการทำงานของฮอร์โมนกระตุ้นสิว 

การรักษาด้วยการใช้ยาจะเริ่มเห็นผลได้ใน 4-6 สัปดาห์ โดยต้องทายาอย่างสม่ำเสมอ หรืออาจใช้การกดสิว ร่วมกับการฉีดสิวอักเสบในบางบริเวณ โดยสามารถทำภายใต้การดูแลของแพทย์

3. เริ่มยาแบบรับประทาน (หากการรักษาสิวเบื้องต้นไม่ได้ผล) 

หากเป็นสิวระดับปานกลางจนถึงมาก หรือการดูแลตนเองพร้อมทายาเองไม่เห็นผล แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการประเมินการรักษาใหม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาจมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับยาไปรับประทาน ได้แก่ ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อสิวแบบรับประทาน (Antibiotic) ยาไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) หรือยาช่วยควบคุมฮอร์โมน 

ซึ่งในการใช้ตัวยาเหล่านี้ จะต้องมีความระมัดระวังผลข้างเคียงและอาการแพ้มากกว่ายาทาเฉพาะที่

4. ตรวจและรักษาสิวฮอร์โมน

หากคุณสงสัยว่า ตนเองเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมน โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นสิวรักษาหายยาก อาจต้องเข้ารับการเจาะเลือดตรวจฮอร์โมนบางชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) สเตียรอยด์ฮอร์โมน DHEA, SHBG หรือ ตรวจหาโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) 

หลังจากการตรวจหาฮอร์โมนแล้ว จะเข้าสู่การรักษาโดยใช้ยาที่ช่วยลดการทำงานของฮอร์โมนก่อสิว หรือฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) เช่น ยาคุมกำเนิด ยาขับปัสสาวะ (Spironolactone) ซึ่งมีผลลดการทำงานของฮอร์โมนแอนโดรเจนด้วยเช่นกัน

ไม่ว่าคุณจะเป็นสิวที่คาง หรือบริเวณใดของใบหน้า หรือจะเป็นสิวที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นหนอง อย่างแรกที่ต้องทำ คือ ควรหาสาเหตุที่เกิดขึ้น ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เป็นสิวบริเวณดังกล่าวหลายครั้ง และไม่ยอมหาย จากนั้นอาจจดบันทึก แล้วไปพบแพทย์ พร้อมกับนำยา และสบู่ล้างหน้าติดตัวไปด้วย

เพราะบางครั้ง นอกเหนือจากฮอร์โมนในร่างกาย สารเคมีที่คุณนำไปสัมผัสกับใบหน้าทุกวันก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณเป็นสิวบนใบหน้าไม่ยอมหายเสียทีซึ่งในการตรวจหาสาเหตุของสิว แพทย์อาจจำเป็นต้องตรวจโรคพิเศษ และใช้ตัวยารับประทานเฉพาะ 

อย่าละเลยสิวทุกบริเวณบนใบหน้าของคุณ เพราะคิดว่า อาจรักษาไม่หาย บางทีที่คุณยังเป็นสิวเรื้อรังอยู่ เพียงเพราะยังหาสาเหตุไม่พบก็ได้ และหากคุณปล่อยสิวบริเวณดังกล่าวเอาไว้ ก็อาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นนูนตามมา และทำให้ผิวหน้าของคุณมีรอยที่ต้องปกปิดไปอีกนาน

ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอย และหลุมสิว เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รองศาสตราจารย์นายแพทย์นภดล นพคุณ, Clinical Practice Guideline Acne
John Kraft MD. And Anatoli Freiman MD. Management of acne. Clinical, cosmetic and investigational dermatology 2011 Apr 19;183(7):E430-E435
Mohamed L Elsaie. Hormonal treatment of acne vulgaris: an update. Clinical, cosmetic and investigational dermatology 2016; 9 : 241-248

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาคุมรักษาสิว
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับยาคุมรักษาสิว

หาคำตอบว่ายาคุมกำเนิดสามารถช่วยรักษาสิวได้อย่างไร แล้วประสิทธิภาพการคุมกำเนิดของมันจะดีหรือไม่ ผู้ชายกินแล้วจะมีผลข้างเคียงไหม

อ่านเพิ่ม
สิว (Acne)
สิว (Acne)

สิวแต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร เกิดจากอะไร การรักษาสิวและการป้องกันการเกิดสิวสามารถทำได้อย่างไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม