โรคลมพิษคือผื่นคันที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง และอาจจะเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีอาการกระจายเป็นวงกว้างก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ผื่นที่เกิดขึ้นมักจะมีอาการคันรุนแรงและมีขนาดตั้งแต่ไม่กี่มิลลิเมตรไปจนถึงขนาดเท่าฝ่ามือ
แม้ว่าผิวหนังที่มีอาการจะเปลี่ยนรูปร่างภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นดังกล่าวก็จะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่วันหลังจากนั้น
แพทย์อาจวินิจฉัยโรคลมพิษเป็นสองประเภท ดังนี้: โรคลมพิษเฉียบพลัน: หากว่าผื่นหายไปโดยสมบูรณ์ภายใน 6 สัปดาห์ โรคลมพิษเรื้อรัง: เป็นกรณีหายากที่ซึ่งมีผื่นต่อเนื่องแบบมา ๆ หาย ๆ เป็นเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ และเป็นบ่อยภายในช่วงเวลาหลายปี
สำหรับโรคลมพิษที่หายากมากกว่าข้างต้นที่เรียกว่าโรคลมพิษชนิดหลอดลมอักเสบจะทำให้หลอดเลือดภายในผิวหนังเกิดการอักเสบขึ้น และมีร่องรอยยาวนานกว่า 24 ชั่วโมงที่สร้างความเจ็บปวดมากกว่า และอาจทิ้งรอยฟกช้ำไว้ด้วย
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
ควรไปพบแพทย์ทันทีที่อาการโรคลมพิษไม่หายไปภายใน 48 ชั่วโมง หรือติดต่อแพทย์ทันทีที่อาการของคุณ: มีความรุนแรงขึ้น ทำให้รู้สึกวิตกกังวล ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่น ๆ นอกจากข้างต้น
ใครสามารถเป็นโรคลมพิษได้บ้าง?
โรคลมพิษเฉียบพลันเป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อย โดยคาดประมาณกันว่ามนุษย์ประมาณ 1 ใน 5 จะเป็นโรคนี้ ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิต
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เด็ก ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 30 ถึง 60 ปี และผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้มักจะประสบกับภาวะนี้ได้ง่าย
สาเหตุของโรคลมพิษ
โรคลมพิษเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับฮิสตามีนและสารเคมีส่งสัญญาณอื่น ๆ ในผิวหนังสูง สารเหล่านี้จะทำให้หลอดเลือด ณ บริเวณที่มีอาการเปิดออก (ทำให้เกิดสีแดงหรือชมพูขึ้น) และรั่วไหลออก ซึ่งของเหลวที่ออกมาจะทำให้เกิดอาการบวมและคันขึ้น
สารฮิสตามีนจะถูกปล่อยออกมาเมื่อ: เกิดปฏิกิริยาแพ้: อย่างเช่นแพ้อาหาร หรือปฏิกิริยาแพ้จากแมลงกัดต่อย ต้องกับความเย็นหรือความร้อน ติดเชื้อ: เช่นเป็นไข้หวัด ใช้ยาบางประเภท: อย่างเช่นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) หรือยาปฏิชีวนะ
แต่ก็มีกรณีผู้ป่วยโรคลมพิษจำนวนมากที่ไม่พบสาเหตุที่ก่อให้เกิดลมพิษ
ผู้ป่วยโรคลมพิษระยะยาวบางกรณีอาจเกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดและเข้าโจมตีเนื้อเยื่อสุขภาพดี ซึ่งสาเหตุเช่นนี้จะทำการวินิจฉัยยาก แต่ก็สามารถดำเนินการรักษาได้เหมือนทุกกรณี
ส่วนตัวกระตุ้นที่อาจทำให้อาการแย่ลง เช่น: การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน ความเครียดทางอารมณ์ อุณหภูมิอบอุ่น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การวินิจฉัยโรคลมพิษ
แพทย์มักจะวินิจฉัยโรคลมพิษได้จากการสังเกตผื่นที่ปรากฏออกมา และอาจมีการสอบถามเพื่อหาว่าอะไรเป็นสิ่งเร้าให้เกิดอาการขึ้นในกรณีของคุณ
หากแพทย์คาดว่าสาเหตุของลมพิษเกิดจากภูมิแพ้ คุณจะถูกส่งไปทดสอบภูมิแพ้ แต่หากคุณหายจากลมพิษเป็นเวลานานกว่า 6 สัปดาห์ ผลที่ได้จะออกมาว่าไม่ใช่เพราะภูมิแพ้
คุณอาจถูกส่งไปรับการตรวจต่าง ๆ ตั้งแต่การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (FBC) เพื่อหาภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการขึ้น
การรักษาโรคลมพิษ
โรคลมพิษส่วนมากไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เพราะผื่นมักจะหายไปเองภายในเวลาไม่กี่วัน
หากอาการคันทำให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว คุณสามารถใช้ยาต้านฮิสตามีนรักษาได้ ซึ่งเป็นยาที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป
สำหรับกรณีลมพิษรุนแรงอาจมีการใช้ยาเม็ดสเตียรอยด์ (ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ทางปาก)
หากคุณเป็นโรคลมพิษต่อเนื่อง แพทย์อาจส่งคุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเพื่อรับการรักษาด้วยยาเพื่อบรรเทาอาการไปพร้อมกับการตรวจหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคลมพิษขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคลมพิษ
มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยโรคลมพิษเฉียบพลัน และครึ่งของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังจะเกิดภาวะบวมใต้ชั้นผิวหนังขึ้น
อีกทั้งโรคลมพิษเรื้อรังยังก่อความรำคาญและส่งผลทางลบต่อสุขภาพทางอารมณ์หรือคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอีกด้วย
ภาวะแองจิโอดีมา
ภาวะแองจิโอดีมาหรือภาวะบวมใต้ชั้นผิวหนังมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและทำให้เกิดการคั่งของของเหว ซึ่งอาการของภาวะนี้สามารถเกิดขึ้น ณ ตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้ แต่มักจะเกิดขึ้นที่: ดวงตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ มือ เท้า
การใช้ยาอย่างยาต้านฮิสตามีนและยาเม็ดคอร์ติคอสเตียรอยด์สามารถลดอาการบวมได้
ผลกระทบทางอารมณ์
การชีวิตอยู่กับภาวะสุขภาพระยะยาวเป็นเรื่องลำบาก สำหรับโรคลมพิษเรื้อรังเองก็นับว่าส่งผลทางลบต่อคุณภาพชีวิตและอารมณ์ของผู้ป่วยอย่างมากเช่นกัน เนื่องมาจากอาการคันที่ผิวหนังแทบจะตลอดเวลานั่นเอง
การศึกษาหนึ่งพบว่าโรคลมพิษเรื้อรังสามารถส่งผลทางลบได้เหมือนกับโรคหัวใจ และยังพบว่าผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรัง 1 ใน 7 คนจะมีปัญหาทางจิตเวชขึ้น อย่างเช่น: ภาวะเครียด ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
หากภาวะลมพิษทำให้คุณรู้สึกแย่ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทั้งทางร่างกายและจิตใจทันที
คุณสามารถปรึกษาพูดคุยกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวเพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้ดีขึ้นจากความโดดเดี่ยว และช่วยให้คุณมีกำลังใจรับมือกับภาวะของโรคก็ได้
ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน
โรคลมพิษสามารถเป็นอาการหนึ่งของปฏิกิริยาแพ้รุนแรงได้ โดยอาการของภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลันมีดังนี้: ตา ริมฝีปาก มือ และเท้าบวม รู้สึกวิงเวียนหรือเป็นลม ทางเดินหายใจตีบจนทำให้เกิดเสียงหวีดแหลมและหายใจลำบาก ปวดท้อง คลื่นไส้ และอาเจียน หมดสติ
ให้ติดต่อขอรับความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลทันทีที่คุณหรือคนใกล้เคียงประสบกับภาวะภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน
สาเหตุของโรคลมพิษ
โรคลมพิษเกิดขึ้นเมื่อสารฮิสตามีนและสารเคมีอื่น ๆ ถูกปล่อยจากพื้นผิวของผิวหนังทำให้เนื้อเยื่อบวมขึ้น
โรคลมพิษระยะสั้น (เฉียบพลัน)
ตัวกระตุ้นให้เกิดลมพิษเฉียบพลันที่เกิดขึ้นเกือบครึ่งจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดลมพิษที่ชัดเจนมีดังนี้: ภาวะแพ้อาหาร: อย่างเช่นแพ้ถั่วลิสง แพ้หอย แพ้ไข่ และชีส เป็นต้น ปฏิกิริยาแพ้: ภาวะภูมิแพ้ที่เกิดจากปัจจัยทางสภาพแวดล้อมอย่างเช่นแพ้ละอองเกสร แพ้ไรฝุ่น หรือแพ้สารเคมี ปฏิกิริยาแพ้ลาเท็กซ์: มักเป็นปัญหาที่เกิดกับบรรดาบุคลากรด้านสุขภาพ การติดเชื้อ: มีความรุนแรงหลายระดับตั้งแต่ไข้หวัดไปจนถึง HIV แมลงกัดต่อย ความเครียดทางอารมณ์ การใช้ยาบางประเภทที่ก่อให้เกิดภาวะลมพิษเป็นผลข้างเคียง: เช่นยาปฏิชีวนะ ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ สิ่งเร้าทางกายภาพ: เช่นแรงกดบนผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ แสงแดด การออกกำลังกาย หรือน้ำ
โรคลมพิษระยะยาว (เรื้อรัง)
โรคลมพิษเรื้อรังอาจเกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีเนื้อเยื่อ หรือที่เรียกว่าปฏิกิริยาภูมิทำลายตนเอง
กรณีผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังประมาณสามถึงครึ่งถูกคาดว่าเป็นผลมาจากภาวะภูมิทำลายตนเอง
ยังไม่มีเหตุผลมาอธิบายว่าเหตุใดลมพิษจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเองจึงเกิดขึ้นมา แต่ในบางกรณีภาวะเช่นนี้ก็เกิดจากการผสมกันของภาวะภูมิทำลายตนเองอื่น ๆ เช่น: โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์: ที่ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าโจมตีข้อต่อต่าง ๆ โรคพุ่มพวง: ภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าโจมตีข้อต่อกับผิวหนัง และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหน็ดเหนื่อยตลอดเวลา
โรคลมพิษเรื้อรังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับภาวะสุขภาพและการติดเชื้อเรื้อรังได้ด้วย เช่น: การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ปรสิตที่ลำไส้ การทำงานมากหรือน้อยเกินไปของต่อมไทรอยด์
โรคลมพิษเรื้อรังมักจะแสดงอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ผู้ป่วยส่วนมากจะสังเกตได้ว่ากิจกรรมบางอย่างจะทำให้ภาวะเกิดขึ้นมาหรือทำให้อาการที่เป็นอยู่ทรุดลง ซึ่งอาจเป็นสิ่งต่อไปนี้: ความเครียด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน อุณหภูมิที่อบอุ่น การกดทับที่ผิวหนังเป็นเวลานาน: เช่นการสวมเสื้อผ้าคับ ๆ เป็นเวลานาน การใช้ยา: เช่น NSAID และยาแก้ปวดโคเดอีน สารในอาหารบางประเภท: เช่นซาลิไซเลตที่พบได้ในมะเขือเทศ น้ำส้ม และชา แมลงกัดต่อย การต้องกับความร้อน ความหนาวเย็น แรงดัน หรือน้ำ
อีกทั้งการใช้ ACE inhibitors เพื่อการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงก็สามารถเชื่อมโยงกับอาการบวมของผิวหนังชั้นลึกได้ (แองจิโอดีมา)
การวินิจฉัยโรคลมพิษ
โรคลมพิษสามารถถูกวินิจฉัยได้จากการสังเกตผื่นแดงที่เป็นเอกลักษณ์
หากคุณมีภาวะลมพิษเรื้อรัง อาจมีการทดสอบหลายอย่างเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะ
โรคลมพิษระยะสั้น (เฉียบพลัน)
แพทย์มักจะสามารถวินิจฉัยโรคลมพิษเฉียบพลันได้จากการตรวจผื่น และสอบถามเพื่อหาว่าสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้นอาการของคุณ เช่น: ผื่นเริ่มขึ้นที่ไหนและเมื่อไร คุณทานอะไรเข้าไปก่อนที่จะมีผื่น และรายละเอียดการกินอาหารตามปรกติของคุณ ถามว่าคุณมีการใช้ยาตัวใหม่ก่อนมีผื่นหรือไม่ สภาพแวดล้อมที่บ้านหรือที่ทำงานที่ซึ่งคุณอาจสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นได้ เช่นสัตว์เลี้ยง สารเคมี หรือถุงมือยาง คุณถูกแมลงกัดต่อยมาก่อนมีผื่นขึ้นหรือไม่ สุขภาพโดยรวมของคุณ และการติดเชื้อที่ประสบในอดีต คุณได้เดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ หากใช่..คุณไปที่ไหน? ประวัติครอบครัวกับโรคลมพิษ
กระนั้น กรณีป่วยโรคลมพิษเฉียบพลันมากกว่าครึ่งจะไม่สามารถสรุปสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการได้
ถ้าแพทย์คาดว่าอาการของคุณเกิดจากภูมิแพ้ คุณอาจถูกส่งไปยังคลินิกโรคภูมิแพ้แทน ที่ซึ่งจะมีการทดสอบภูมิแพ้เพื่อระบุสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดภาวะลมพิษ
โรคลมพิษระยะยาว (เรื้อรัง)
ถ้าคุณมีอาการของโรคลมพิษยาวนานกว่า 6 สัปดาห์ จะมีโอกาสมากที่ภาวะของคุณไม่ได้เกิดจากปฏิกิริยาแพ้ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบภูมิแพ้ขึ้น
แพทย์จะสอบถามว่าสิ่งใดทำให้ภาวะลมพิษของคุณแย่ลง เช่น: ยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ระดับความเครียดของคุณ
คุณอาจต้องเข้ารับการทดสอบมากมายเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของภาวะลมพิษเรื้อรัง ซึ่งอาจมีการทดสอบดังต่อไปนี้: การตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (FBC): เพื่อมองหาภาวะโลหิตจาง การทดสอบเพื่อวัดระบบแอนติบอดีในเลือดของคุณ การตรวจอุจจาระ: เพื่อมองหาร่องรอยของปริสิตในลำไส้ การตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือด (ESR): เพื่อมองหาปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย การทดสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์: เพื่อมองหาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ การทดสอบการทำงานของตับ: เพื่อหาว่าคุณมีปัญหาที่ตับหรือไม่
การรักษาโรคลมพิษ
กรณีลมพิษส่วนมากไม่จำเป็นต้องดำเนินการรักษาใด ๆ เพราะอาการจะไม่รุนแรงและมักจะหายเองภายในเวลาไม่กี่วัน
โรคลมพิษระยะสั้น (เฉียบพลัน)
หากคุณมีอาการของโรคลมพิษที่น่ารำคาญ คุณสามารถใช้ยาต้านฮิสตามีนจากร้านขายยาได้
ให้ไปพบแพทย์หรือเภสัชกรหากว่าอาการของคุณแย่ลงหลังจากใช้ยา และหากอาการมีความรุนแรงมากแพทย์อาจจะจ่ายยาตัวอื่นให้แก่คุณแทน อย่างเช่นยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นต้น
ให้คุณกลับไปพบแพทย์หากว่าอาการยังคงทรุดลง หรือการรักษาไม่ได้ผลหลังจาก 2 อาทิตย์แล้ว
การวินิจฉัยโรคลมพิษ
โรคลมพิษสามารถถูกวินิจฉัยได้จากการสังเกตผื่นแดงที่เป็นเอกลักษณ์
หากคุณมีภาวะลมพิษเรื้อรัง อาจมีการทดสอบหลายอย่างเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะ
ยาต้านฮิสตามีน
ยาต้านฮิสตามีนมีฤทธิ์ในการยับยั้งฮิสตามีนและหยุดอาการคันและลดผื่นลง ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่: ยาเซทิริซิน ยาเฟโซเฟนาดิน ยาอิโอราทาดิน
สำหรับผู้ป่วยส่วนมากจะใช้ยาต้านฮิสตามีนสมัยใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการง่วงนอน แต่ก็มีกรณียกเว้นบ้าง ดังนั้นแม้จะได้รับยาประเภทนี้มาแล้วคุณก็ควรใช้เวลาสังเกตฤทธิ์ของยาที่ใช้ก่อนขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรหนัก ยาต้านฮิสตามีนทุกชนิดจะก่อให้เกิดอาการง่วงนอนหากทานยาพร้อมกับแอลกอฮอล์ และก่อนใช้ยาทุกครั้งต้องอ่านและปฏิบัติตามฉลากยาทุกครั้ง
ยาต้านฮิสตามีนมักไม่ใช้กับสตรีมีครรภ์เพราะยังไม่มีความมั่นใจว่ายามีความปลอดภัยสมบูรณ์หรือไม่ แพทย์อาจแนะนำไปใช้ยาโคลร์เฟนามินแทนหากพิจารณาแล้วว่าคุณจะได้รับประโยชน์มากกว่าโทษ แต่กระนั้นยาตัวนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กในครรภ์
ยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์
คุณอาจได้รับยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดสูงมาใช้ อย่างเช่นเพรดนิโซโลน หากว่าอาการของลมพิษมีความรุนแรงมาก
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะกดระบบภูมิคุ้มกันของคุณลงจนทำให้อาการของโรคลมพิษน้อยลงตาม ซึ่งแพทย์มักแนะนำให้ให้ใช้ยาเพรดนิโซโลนติดกันสามถึงห้าวัน
แพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาสเตียรอยด์แบบเม็ดเป็นเวลานานเพราะว่ายาประเภทนี้จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น: ความดันโลหิตสูง ต้อหิน ต้อกระจก เบาหวาน
โรคลมพิษระยะสั้น (เฉียบพลัน)
การรักษาภาวะลมพิษเรื้อรังจะเกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการและเลี่ยงสิ่งเร้าที่จะทำให้อาการทรุดลง
หากคุณเป็นโรคลมพิษเรื้อรังและมีภาวะบวมใต้ชั้นผิวหนังร่วมด้วย แพทย์อาจส่งตัวคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง เนื่องจากภาวะบวมใต้ชั้นผิวหนังจะมีความอันตรายกว่าซึ่งอาจทำให้คุณหายใจลำบากได้
คุณควรถูกส่งไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเช่นกันหากว่าคุณเป็นโรคลมพิษเรื้อรังที่มีอาการต่อเนื่องแม้จะได้รับการรักษามาแล้ว
ยาต้านฮิสตามีน
โรคลมพิษเรื้อรังสามารถรักษาได้ด้วยยาต้านฮิสตามีนเช่นกัน โดยคุณต้องใช้ยาเป็นประจำเรื่อย ๆ ในขณะที่มีอาการของโรคอยู่
แพทย์อาจแนะนำให้เพิ่มขนาดยาที่ใช้ขึ้นหากอาการของคุณไม่ตอบสนองต่อการรักษา การเพิ่มขนาดยามักจะช่วยควบคุมอาการได้ในที่สุด กระนั้นนี่ก็เป็นทางเลือกที่ต้องปฏิบัติตามการดูแลของแพทย์ผู้ดูแลยอย่างรอบคอบเท่านั้น
ครีมเมนทอล
ครีมเมนทอลสามารถใช้เป็นการรักษานอกเหนือจากการใช้ยาต้านฮิสตามีนเพราะฤทธิ์ในการบรรเทาอาการคัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้จ่ายยาประเภทนี้แก่คุณเอง
ยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์
สำหรับโรคลมพิษที่รุนแรงกว่าอาจมีการรักษาด้วยยาเม็ดคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างเพรดนิโซโลน ซึ่งผลข้างเคียงของยาประเภทนี้มีดังนี้: ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นและน้ำหนักตัวเพิ่ม อารมณ์เปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ
การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สำหรับรักษาโรคลมพิษเรื้อรังจึงมักไม่ค่อยดำเนินการกันเนื่องจากผลข้างเคียงข้างต้น
ยาต้านฮิสตามีน H2
ยาต้านฮิสตามีนที่สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไปจะเรียกว่ายาต้านฮิสตามีน H1 แต่ในความเป็นจริงแล้วยาต้านฮิสตามีนมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน
ยาต้านฮิสตามีน H2 สามารถใช้เพื่อรักษาภาวะลมพิษเรื้อรังได้เพราะยาตัวนี้มีฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแคบลง ซึ่งจะลดอาการแดงที่ผิวหนังลงได้
ยาต้านฮิสตามีน H2 สามารถใช้แทน H1 หรือใช้ร่วมกันได้ ส่วนผลข้างเคียงของยาต้านฮิสตามีน H2 นั้นมักไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่หากเกิดก็จะมีดังนี้: ปวดศีรษะ ท้องร่วง วิงเวียน
หากมีอาการจากผลข้างเคียงของยาต้านฮิสตามีน H2 คุณห้ามขับรถหรือใช้งานเครื่องจักรหนักเด็ดขาด
Leukotriene receptor antagonists
ยากลุ่ม Leukotriene receptor antagonists เป็นยาอีกประเภทที่สามารถใช้เพื่อลดอาการบวมและแดงของผิวหนังได้
ยากลุ่มนี้จะมีประโยชน์ในการเป็นวิธีรักษาในระยะยาวแทนยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพราะไม่มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงมุมกว้างเหมือนยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
ผลข้างเคียงของ Leukotriene receptor antagonists นับว่าหายากและไม่รุนแรง โดยมีทั้งอาการปวดศีรษะและคลื่นไส้เท่านั้น
ยาไซโคลสปอริน
กรณีผู้ป่วยลมพิษสองในสามพบว่าการใช้ยาไซโคลสปอรินมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคลมพิษอย่างมาก
ยาไซโคลสปอรินนั้นมีฤทธิ์คล้ายกับคอร์ติโคสเตียรอยด์ คือการกดภูมิคุ้มกันร่างกายที่ไม่ดีลง ซึ่งเป็นยาที่อยู่ในรูปแบบของยาแคปซูลหรือยาน้ำ
ผลข้างเคียงของยาไซโคลสปอรินมีดังนี้: ความดันโลหิตสูง ปัญหาที่ไต ระบบคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ สั่นแบบที่ควบคุมไม่ได้ อ่อนแอต่อการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อในอก ระบบปัสสาวะ และการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่าไซโตมากาโลไวรัส
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยาไซโคลสปอรินก็สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งคุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการใช้ยาประเภทนี้
ผลข้างเคียงอย่างระดับคอเลสเตอรอลกับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมักเป็นประเด็นสำคัญเพราะสองประการนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือเส้นเลือดหัวใจตีบขึ้นได้
แม้ว่าคุณจะตอบสนองต่อยาไซโคลสปอรินได้ดีมาก แพทย์ก็มักจะแนะนำให้คุณเลิกใช้ยาตัวนี้หลังการใช้ไม่กี่เดือน
ยาโอมาลูซิมาบ
สำหรับผู้ป่วยโรคลมพิษที่ไม่ตอบสนองต่อยาต้านฮิสตามีน ณ ขณะนี้ก็มียาตัวใหม่ที่สามารถใช้ได้เช่นยาโอมาลูซิมาบ ซึ่งเป็นยาฉีดและคาดว่าสามารถลดแอนติบอดีตัวที่เป็นต้นเหตุของภาวะลมพิษได้
อาหาร
แม้จะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าอาหารก็มีส่วนในกรณีผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรัง แพทย์ก็คาดกันว่ามีสารเคมีในอาหารสองกลุ่มที่อาจส่งผลต่อโรคลมพิษในบางกรณี นั่นก็คือ vasoactive amines กับ salicylates
การเลี่ยงหรือลดปริมาณอาหารที่มีสารเคมีทั้งสองนี้อาจทำให้อาการของโรคลมพิษดีขึ้นได้ ทำให้คุณควรทำการจดบันทึกว่าคุณควรเลี่ยงรับประทานอาการประเภทไหนบ้าง
คุณควรเข้าพบนักโภชนาการก่อนจำกัดอาหารการกิน เพื่อให้พวกเขาจัดแผนการรับประทานอาหารให้แก่คุณโดยที่ไม่ทำให้คุณทานอาหารประเภทอื่นมากเกินไป
การหลีกเลี่ยงสิ่งเร้า
หากคุณสามารถชี้ชัดว่าสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคลมพิษขึ้น หรือทำให้อาการทรุดลง การพยายามเลี่ยงสิ่งเร้านั้น ๆ จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมอาการได้
สิ่งกระตุ้นที่เป็นแอลกอฮอล์กับคาเฟอีนเป็นสิ่งที่สามารถเลี่ยงได้ง่าย ๆ ถ้าหากคุณคาดว่ายาบางประเภทเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการลมพิษ คุณควรติดต่อแพทย์ที่เป็นคนจ่ายยานั้น ๆ ให้ออกยาประเภทอื่นให้แก่คุณแทน
สำหรับการเลี่ยงความเครียดนั้นอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอาการลมพิษของคุณส่งผลทางลบต่อคุณภาพชีวิต ถ้าคุณเป็นลมพิษรุนแรงหรือเป็นลมพิษซ้ำ ๆ คุณอาจพยายามมองหาวิธีการผ่อนคลายแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การทำสมาธิไปจนถึงการสะกดจิตเพื่อลดความเครียดของคุณก็ได้