กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความดันสูงกินอะไรดี อาหารสำหรับคนความดันสูง

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความดันสูงกินอะไรดี อาหารสำหรับคนความดันสูง

ความดันสูงกินอะไรดี อาหารสำหรับคนความดันสูง

โรคความดันสูง เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ถึงแม้ความดันสูงจะเกิดไห้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ก็สะท้อนได้ว่าโรคนี้มักเกิดจากการสะสมจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา จนสุดท้ายมาออกฤทธิ์เมื่อมีอายุที่มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการทานอาหาร โดยเฉพาะส่วนใหญ่ที่มักทานตามใจปาก เน้นอาหารอร่อยรสชาติถูกใจ ถึงแม้จะเค็มบ้างเผ็ดบ้างแต่ก็ทานเพื่อความสุขโดยไม่ทันระวังตัวจนเมื่ออายุมากขึ้นถึงได้ส่งผลเสียที่ตามมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาหารที่เป็นภัยต่อความดันสูง

โรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถพบได้บ่อยในวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม ความเครียด การทานอาหาร และการที่มักไม่ค่อยออกกำลังกาย เมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ อีกมากมาย หากไม่พูดถึงสาเหตุที่มาจากพันธุกรรมสาเหตุรองลงมามักจะเป็นเรื่องของพฤติกรรมการทานอาหาร และการใช้ชีวิตของเรา มาดูกันเลยว่าอาหารอะไรที่เป็นภัยต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงบ้าง

  • อาหารรสเค็ม เพราะโซเดียมเป็นภัยร้ายที่ทำให้เกิดโรคความดันสูง เกลือหรือโซเดียมเป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย  โซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมอัตราการถ่ายเทของน้ำในเซลล์ มีบทบาทสำคัญในการสื่อสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท ช่วยเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าหากมีมากเกินไป จะกลายเป็นการไปดูดน้ำในเซลล์ต่าง ๆ เพราะโซเดียมนี้มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดี ทำให้เป็นอันตรายต่อภาวะความดันสูง สังเกตจากเมื่อเราทานเกลือ หรืออาหารที่ใส่ผงชูรสเยอะเราจะหิวน้ำเป็นพิเศษนั่นเอง ลักษณะเดียวกันกับการที่นำเกลือไปทำไอศกรีมนั่นก็เพราะเกลือจะไปช่วยดูดความชื้นออกทำให้ไอศกรีมมีความแข็ง
  • อาหารที่มีไขมันสูง อาหารประเภททอด แกงที่มีกะทิทั้งหลายควรเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะคนที่มีน้ำหนักมากมักเป็นโรคความดันสูง เพราะคนที่มีอายุมากขึ้นความสรมารถในการเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก ๆ ยิ่งก่อให้เกิดการสะสมตามส่วนต่าง ๆ ตองร่างกาย ยิ่งเป็นการเพิ่มอุปสรรค์ต่อการเผาผลาญพลังงาน
  • กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในกาแฟจะมีคาเฟอีนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเจ้าคาเฟอีนนี้เองที่ส่งผลทำให้ระดับความดันเลือดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว คนกลุ่มนี้เมื่อได้รับคาเฟอีนเข้าไปจะทำให้มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ แถมยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของยาลดความดันโลหิตบางกลุ่มอีกด้วย

อาหารที่ควรทานเพื่อลดความดันโลหิตสูง

  1. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ นอกจะมีแมกนีเซียมสูงอย่างที่กล่าวมาแล้ว ยังอุดมไปด้วย โพแทสเซียม และแคลเซียมสูง ควรเลือกโยเกิร์ตรถธรรมชาติเพราะไม่มีคลอเรสเตอรอล ซึ่งดีต่อสุขภาพมากกว่า
  2. ปลานิล ปลาเนื้อขาวส่วนใหญ่อุดมไปด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียม และโพแทสเซียม โดยเฉพาะปลานิลที่มีประโยชน์ต่อคนที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิต
  3. กีวี กีวีอุดมด้วยวิตามินซีสูงมาก ซึ่งเจ้าวิตามินซีนี่เองที่จะทำงานร่วมกับแร่ธาตุโพแทสเซียมช่วยปรับสมดุลระดับความดันโลหิตของเราได้
  4. อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีกรดไขมันชนิดดี (HDL) ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในกระแสเลือด โดยเฉพาะไขมันเลวชนิดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่ถึงร้อยละ 10 ที่จะช่วยคงสมดุลของระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้
  5. ผักคะน้า ผักใบเขียวอย่างคะน้าอุดมด้วยวิตามินซีสูง เมื่อปรุงสุกแล้วจะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมกับแคลเซียมเป็นจำนวนมาก ทำงานร่วมกับวิตามินซี ช่วยเพิ่มการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานเป็นปกติ
  6. พริกหยวกแดง มีแร่ธาตุโพแทสเซียมที่พร้อมจะช่วยปรับสมดุลความดันเลือดของเราให้เป็นปกติ
  7. บรอกโคลี อุดมด้วยโพแทสเซียมที่จะช่วยปรับสมดุลระดับความดันเลือดของเราให้เป็นปกติได้
  8. ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะถั่ว นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีไขมันดีที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้ควรเลือกธัญพืชประเภทที่ไม่อบเกลือ เพื่อเลี่ยงโซเดียมนั่นเอง
  9. แตงโม เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส มีส่วนช่วยควบคุมการไหลเวียนของโลหิต และควบคุมการขยายตัวของเส้นเลือด
  10. ขึ้นฉ่าย มีประโยชน์ในการช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร และยังเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูงซึ่งช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือดได้ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดช่วยลดและยังลดความเครียดที่ก่อให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน

เมื่อมีศัตรูอย่างโซเดียม ก็มักจะมีมิตรต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเสมอ จะเห็นว่าอาหารที่ดีต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูงมักเป็นอาหารที่มี อาหารที่มีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมเสียส่วนใหญ่ เจ้าโพแทสเซี่ยมแมกนีเซียมนี้ เปรียบเสมือนตัวช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ และที่สำคัญถึงแม้จะเลือกอาหารที่ดีแล้ว หากจะให้ดีกว่านี้ควรส่งเสริมการออกกำลังกายด้วย เพราะการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโรคอื่น ๆ และเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วย


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
DASH Diet Foods for High Blood Pressure (Hypertension). WebMD. (https://www.webmd.com/hypertension-high-blood-pressure/guide/dash-diet#1)
15 natural ways to lower your blood pressure. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318716)
15 foods that help lower blood pressure. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322284)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล
Glycemic Index (GI) ดัชนีน้ำตาล

สำรวจความหมาย และปริมาณดัชนีน้ำตาลในอาหารต่างๆ

อ่านเพิ่ม