ทำความรู้จักกับอาการสะอึกเรื้อรัง พร้อมวิธีรับมือ

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำความรู้จักกับอาการสะอึกเรื้อรัง พร้อมวิธีรับมือ

อาการสะอึกเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่มันก็สามารถรบกวนชีวิตประจำวันและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ซึ่งวิธีรับมือกับปัญหาดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนการนอนและการทานอาหาร สำหรับสาเหตุของอาการสะอึกเรื้อรังนั้นยังไม่ชัดเจน แต่มักเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัว สำหรับบทความในวันนี้ เราจะพาคุณไปดูสาเหตุที่เป็นไปได้พร้อมกับวิธีรักษา แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยดีกว่า

อาการสะอึกเรื้อรังคืออะไร?

การสะอึกเกิดจากการหดตัวอย่างฉับพลันของกะบังลมตามด้วยการที่เส้นเสียงปิดอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การตื่นเต้น ความเครียด การทานอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดอย่างน้ำอัดลมก็อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เรามีอาการดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วอาการสะอึกจะหายไปเองภายในไม่กี่นาที แต่บางคนก็อาจสะอึกนานเป็นชั่วโมงในบางครั้ง หากสะอึกนานกว่า 48 ชั่วโมง มันก็จะถูกจัดให้เป็นอาการสะอึกเรื้อรัง และถือเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง นอกจากทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดใจแล้ว การสะอึกเรื้อรังก็มักไปรบกวนการนอนและทำให้ยากต่อการทานอาหารหรือดื่มน้ำ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลที่รุนแรงตามมา เช่น อ่อนเพลีย ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด ฯลฯ

สาเหตุ

แม้ว่าอาการสะอึกเรื้อรังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่ามันอาจเกิดจากยาหรือปัญหาสุขภาพดังนี้

  • ด้วยความที่การสะอึกเป็นส่วนหนึ่งของการหดตัวของกะบังลม ดังนั้นการที่ส่วนนี้ของร่างกายระคายเคืองหรืออักเสบอย่างการเป็นโรคปอดบวมหรือเยื่อหุ้มปอดอักเสบก็สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณมีอาการสะอึกเรื้อรัง
  • เส้นประสาทที่ควบคุมการหายใจอาจเสียหายหรือระคายเคือง ซึ่งเส้นประสาทสักแห่งในร่างกายอาจถูกกดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย เช่น การตั้งครรภ์ หรือการเติบโตของเนื้องอก
  • ส่วนของสมองที่ควบคุมการกระทำที่ทำโดยไม่รู้ตัวอย่างการหายใจอาจไม่ได้ทำงานตามปกติ ซึ่งอาจเกิดหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือหลังจากที่สมองบาดเจ็บ นอกจากนี้การเป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างโรคปอกประสาทเสื่อมแข็งก็สามารถทำให้เราสะอึกไม่หยุดเช่นกัน
  • การสะอึกเรื้อรังอาจเป็นอาการของโรคระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก ตับ ถุงน้ำดี และตับอ่อน ตัวอย่างเช่น โรคโครห์น แผลในกระเพาะอาหาร ตับอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ฯลฯ
  • มีการรายงานเกี่ยวกับคนที่สะอึกเรื้อรังหลังจากผ่าตัดสมอง และผ่านกระบวนการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเช่น การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • การทำเคมีบำบัด และการทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

การรักษา

  • การทานยา และการหาเหตุพื้นเดิมก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อที่จะได้รู้วิธีป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นอีกครั้ง สำหรับตัวอย่างยา เช่น ยาระงับประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ฯลฯ
  • การผ่าตัดเส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกะบังลม

วิธีรับมือ

  • พักผ่อนให้เพียงพอและงีบหลับในระหว่างวันถ้าเป็นไปได้ ซึ่งมันสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเหนื่อยล้า
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
  • การสะอึกทำให้ยากต่อการทานอาหารและดื่มน้ำ ซึ่งจะทำให้เราไม่มีเรี่ยวแรง ขาดน้ำ ขาดสารอาหาร หรือน้ำหนักลด ทั้งนี้การทานอาหารจำนวนน้อยลงตลอดวันแทนการทานอาหารมื้อใหญ่ตามเวลาปกติจึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า
  • การทานอาหารเผ็ดและน้ำอัดลมสามารถทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง แต่ให้เลือกดื่มเป็นน้ำเปล่า และจิบน้ำทีละนิดตลอดวัน
  • ทานอาหารคำเล็กและเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic hiccups: Treatment, causes, and how to cope. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320234)
Chronic Hiccups: Causes, Treatments, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/chronic-hiccups)
How to Get Rid of Hiccups, Causes & Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hiccups/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป