7 สิ่งที่อาการสะอึกกำลังพยายามบอกเกี่ยวกับสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 สิ่งที่อาการสะอึกกำลังพยายามบอกเกี่ยวกับสุขภาพ

"สะอึก" เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกระบังลม และอวัยวะที่เกี่ยวกับการหายใจหดตัวแบบฉับพลัน โดยเกิดขึ้นได้กับทุกคนเป็นบางโอกาส อย่างไรก็ตาม โดยมากแล้วอาการสะอึกจะเกิดขึ้นในระยะสั้นๆ และหายไปเอง แต่หากคุณสะอึกนานกว่าที่เคย มันก็อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของร่างกาย โดยอาจบ่งบอกได้ถึงปัญหาสุขภาพดังนี้

7 ที่อาการสะอึกกำลังพยายามบอกเกี่ยวกับสุขภาพ

1. เป็นโรคกรดไหลย้อน

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนประกอบไปด้วยการรู้สึกแสบร้อนกลางอก รู้สึกขมในปาก และคลื่นไส้ นอกจากนี้การสะอึกไม่หยุดก็เป็นสัญญาณของโรคกรดไหลย้อนเช่นกัน หากคุณยังคงสะอึกต่อเนื่อง คุณก็ควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้รู้ว่าคุณเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ ซึ่งมันสามารถรบกวนการใช้ชีวิต สุขภาพของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. คุณกำลังเครียด

อาการสะอึกอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณจำเป็นต้องหาเวลาดูแลตัวเองเสียแล้ว ซึ่ง The Mayo Clinic ยกให้ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการสะอึก ดังนั้นหากคุณมีอาการสะอึกเกิดร่วมกับระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น ให้คุณหาวิธีช่วยฟื้นฟูความสงบภายใน เช่น นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย ไปเที่ยวกับเพื่อน ฯลฯ

3. เป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง

อาการสะอึกสามารถบ่งบอกได้ถึงการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด โดยประกอบไปด้วยมะเร็งที่เกิดขึ้นในสมอง กระเพาะอาหาร หรือต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีการค้นพบว่า การสะอึกมากกว่า 30 วัน มีความเชื่อมโยงกับโรคมะเร็งที่กล่าวไปในผู้ป่วยบางคน การที่อาการสะอึกยังคงอยู่กับคุณเป็นเวลานานมักบ่งบอกได้ว่ามีบางสิ่งที่ร้ายแรงเกิดขึ้นภายในร่างกาย แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญพบว่าอาการสะอึกที่บ่งบอกถึงสัญญาณของโรคมะเร็งนั้นเป็นเรื่องที่หายากมาก

4. สัญญาณของโรคปอดบวม

จากข้อมูลของ The Merck Manual of Diagnosis and Therapy มีการระบุว่า การสะอึกที่เกิดขึ้นยาวนานสามารถบ่งชี้ถึงการเป็นโรคปอดบวม นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอก หนาว เป็นไข้ หายใจลำบาก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แพทย์มีแนวโน้มที่จะทำการเอ็กซ์เรย์ปอดเพื่อดูว่าคุณเป็นโรคปอดบวมจริงหรือไม่

5. เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลาง

หนึ่งในอาการของโรค Neuromyelitis Optica Spectrum Disorder (NMOSD) คือ การมีอาการสะอึกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การอาเจียน สูญเสียการมองเห็น หรือคลื่นไส้ ก็ยังเป็นอาการของโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางที่ส่งผลต่อสมอง ก้านสมอง เส้นประสาทตา และไขสันหลัง อย่างไรก็ตาม หากคุณมีอาการสะอึกและมีอาการอื่นๆ ตามที่เรากล่าวไป การไปพบแพทย์ก็เป็นทางเลือกที่ดี 

6. เป็นส่วนหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง

จากผลสำรวจระดับชาติที่ทำโดย The Ohio State University Wexner Medical Center พบว่า ผู้หญิงส่วนมากไม่รู้ว่าอาการสะอึกสามารถบ่งชี้ได้ถึงการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง  ซึ่ง The National Stroke Association ระบุให้อาการสะอึกที่เกิดขึ้นควบคู่กับอาการคลื่นไส้  สับสน และมีร่างกายอ่อนแอ เป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ผู้หญิงบางคนอาจประสบ

7. ไตทำงานได้แย่ลง

หากคุณป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง และเริ่มสะอึกบ่อยครั้ง นั่นก็สามารถบ่งบอกได้ว่าไตของคุณกำลังเสื่อมสภาพมากกว่าเดิม  อาการสะอึกที่เกิดควบคู่กับอาการปวดกระดูก มีกลิ่นลมหายใจผิดปกติ และกล้ามเนื้อกระตุก ถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าไตมีสภาพแย่ลง นอกจากนี้อาการเบื้องต้นของโรคไตเรื้อรัง เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ฯลฯ

แม้ว่าอาการสะอึกจะเป็นอาการที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่การสะอึกมากกว่าที่เคยก็อาจเป็นสิ่งที่คุณควรระวังค่ะ นอกจากการสะอึกต่อเนื่องจะทำให้คุณรู้สึกรำคาญได้แล้ว มันอาจเป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บอกว่าสุขภาพของคุณกำลังมีปัญหา ดังนั้นคุณไม่ควรนิ่งนอนใจ และไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hiccups: Why You Get Hiccups ..and How To Make Them Stop. WebMD. (https://www.webmd.com/digestive-disorders/why-do-i-hiccup#1)
How to Get Rid of Hiccups, Causes & Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hiccups/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป