เมื่อเข้าสู่วัยทอง จะกินอะไรดี เพื่อช่วยเรื่องของกระดูกและฮอร์โมน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เมื่อเข้าสู่วัยทอง จะกินอะไรดี เพื่อช่วยเรื่องของกระดูกและฮอร์โมน

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ร่างกายของเราจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งในเรื่องฮอร์โมน และอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย เช่นกระดูก เป็นต้น เราจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมการกิน ให้เหมาะสมกับร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สุขภาพของเรายังคงสมบูรณ์ เหมือนกับตอนที่เรายังมีฮอร์โมนและอวัยวะที่เป็นปกติในวัยรุ่น และยังช่วยในเรื่องของอารมณ์การแสดงออกได้อีกด้วย

กินบำรุงกระดูกให้มากขึ้น

เมื่อเข้าสู่วัยทอง กระดุกของเราจะเริ่มเสื่อมสภาพง่ายขึ้น ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ที่เข้าสู่วัยทองจึงควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงๆเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน อาหารที่ให้แคลเซียมในปริมาณสูง เช่นลูกพรุน ผักใบเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรทานอาหารที่มีวิตามีดี เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้กับร่างกายให้ดีขึ้น และความลดอาหารจำพวกชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม เพราะจะมีคาเฟอีน ซึ่งจะลดประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมของร่างกายเรา ผู้ที่เข้าสู่วัยทองควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อย 1200 มิลลิกรัมต่อวัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดูแลหัวใจให้ดีขึ้น

ความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ เพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง ดังนั้นเราจึงควรรับมือด้วยการทานอาหารที่ช่วยในการลดความเสี่ยง เรื่องโรคหลอดเลือดและหัวใจ เริ่มจากอาหารที่มีไขมันโอเมกา 3 ที่จะช่วยลดไขมันที่ไม่ดีในหลอดเลือด เช่นปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลาแซลมอน นอกจากนี้การทานผักต่างๆก็ช่วยในการลดไขมันในหลอดเลือดได้ดีเช่นกัน

เพิ่มฮอร์โมนแห่งความสุข

การหลั่งสารแห่งความสุขจะลดลง เมื่อฮอร์โมนเซโรโทนินในสมองของเราลดลง ทำให้ความสุขของเราลดลง แต่มีอาหารบางชนิดที่ช่วยเพิ่มปริมาณฮอร์โมนแห่งความสุขชนิดนี้ เช่น กล้วย ไข่ ข้าวกล้อง แซลมอน เป็นต้น

ระวังเรื่องน้ำหนักดีๆ

เนื่องจากการเผาผลาญที่ลดลง จึงทำให้คนในวัยทองนั้นน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย หากใครที่เป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนอยู่แล้ว ควรเริ่มปรับปรุง การทานอาหารของตัวเอง เพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มมากจนเกินไป เพราะจะนำมาซึ่งโรคต่างๆ เริ่มจากโรคอ้วน โรคหลอดเลือดและหัวใจ และที่สำคัญคือกระดูกอาจรับน้ำหนักของเราไม่ไหว จนเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากมวลกระดูกที่ลดลง และคนในวัยนี้ความสามารถในการออกกำลังก็จะลดลงพอสมควรอีกด้วย

กระตุ้นโกรทฮอร์โมน

โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเติบโต และและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย ในวัยทองการหลั่งสารชนิดนี้จะลดลงมาก เราจึงควรรับประทานอาหารประเภทโปรตีนที่มีกรดอมิโนอาร์จินีนเป็นส่วนประกอบ เช่นงาขาว งาดำ กุ้งแห้ง ไข่ หรือนม เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนให้กับร่างกาย

หาตัวแทนให้เอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง)

แม้ว่าจะไม่มีวิธีใดที่สามารถทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนได้สมบูรณ์ แต่ฮอร์โมนโฟโตเอสโตรเจนในพืชบางชนิดก็ช่วยบรรเทาปัญหาของสาววัยทองได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งปากมดลูก ฮอร์โมนชนิดนี้พบได้ใน ถั่วต่างๆ งา ฟักทอง ข้าวโพด แครอท มันฝรั่ง และข้าวกล้อง เป็นต้น

เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องสุขภาพ อันมีสาเหตุมากจากการเข้าสู่วัยทอง เราจึงควรปรับการรับประทานอาหารของเราให้เหมาะสมกับร่างกายที่เปลี่ยนไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Optimizing bone health in older adults: the importance of dietary protein. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2907525/)
Bone Health Nutrition Issues in Aging. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3257623/)
10 Natural Ways to Build Healthy Bones. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/build-healthy-bones)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral Vascular Accidents)
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง (Cerebral Vascular Accidents)

ปัญหาสุขภาพรุนแรงและเป็นที่น่ากังวลที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดสมอง

อ่านเพิ่ม
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง
10 อาหารสุขภาพที่มีวิตามิน E สูง

รวบรวมอาหารเพื่อสุขภาพที่อุดมด้วยวิตามิน E เพื่อจะได้เติมประโยชน์ได้ร่างกายกันได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่ม