ภาวะกลืนลำบาก

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 11 นาที
ภาวะกลืนลำบาก

ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นอาการทางการแพทย์ที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหารหรือของเหลวบางประเภท หรือบางกรณีอาจจะกลืนไม่ได้เลย

สัญญาณอื่นของภาวะกลืนลำบากมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ไอ หรือสำลักเมื่อดื่มหรือรับประทาน
  • อาหารไหลย้อนกลับ บางครั้งอาจจะออกมาจากจมูก
  • มีความรู้สึกเหมือนอาหารติดอยู่ในลำคอหรือหน้าอก
  • มีน้ำลายไหล

เมื่อผ่านไปนานเข้า ภาวะนี้จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เพิ่มเติมเช่นน้ำหนักลด และมีการติดเชื้อในอกซ้ำซาก

คุณควรไปพบแพทย์เมื่อคุณประสบกับภาวะกลืนลำบาก

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะกลืนลำบาก?

ภาวะกลืนลำบากมักเกิดมาจากภาวะสุขภาพอื่น เช่น

  • ภาวะที่ระบบประสาท เช่นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือโรคสมองเสื่อม (dementia) 
  • มะเร็งต่าง ๆ เช่นมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งหลอดอาหาร 
  • โรคกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease - GORD) 

ภาวะกลืนลำบากยังสามารถเกิดกับเด็กที่มีภาวะความบกพร่องด้านการเรียนรู้หรือพัฒนาการได้เช่นกัน

ภาวะนี้ยังเกิดได้จากปัญหาต่าง ๆ ที่: ปากหรือลำคอ  หรือเรียกว่าภาวะกลืนลำบากที่คอหอยส่วนบน (oropharyngeal หรือ "high" dysphagia) หลอดอาหาร (ท่อที่ลำเลียงอาหารจากปากลงไปยังกระเพาะอาหาร) หรือเรียกว่าภาวะกลืนลำบากที่คอหอยส่วนล่าง ("low" dysphagia)

การรักษาภาวะกลืนลำบาก

การรักษาภาวะกลืนลำบากจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและประเภทของภาวะ โดยประเภทของภาวะนี้สามารถถูกวินิจฉัยได้จากการสังเกตความสามารถในการกลืนของคุณ และจากการตรวจสอบหลอดอาหารของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หลายกรณีจะดีขึ้นเมื่อได้รับการรักษา แต่ก็ไม่ใช่จะเป็นเช่นนี้ทุกครั้ง โดยการรักษาภาวะกลืนลำบากมีดังนี้: การบำบัดภาษาและการพูดเพื่อเรียนรู้เทคนิคกลืนอาหารแบบใหม่ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอาหารและของเหลวที่ทานเข้าไป เพื่อให้กลืนลงได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น ใช้วิธีการป้อนอาหารแบบอื่น เช่นการใช้ท่อสวนจมูกหรือให้อาหารผ่านทางสายต่อกระเพาะ การผ่าตัดขยายหลอดอาหารที่ตีบแคบด้วยการถ่างหรือใช้ท่อโลหะหรือพลาสติกดามไว้

สาเหตุของภาวะกลืนลำบาก

การกลืนเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากขึ้น โดยมีตัวอย่างและรายละเอียดของสาเหตุดังต่อไปนี้

สาเหตุทางประสาท

ระบบประสาทเป็นกลุ่มระบบของสมอง เส้นประสาท และไขสันหลัง หากเกิดความเสียหายที่ระบบประสาทจะทำให้การทำงานเส้นประสาทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการเริ่มและการควบคุมการกลืนมีปัญหาจนทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากขึ้น

โดยตัวอย่างสาเหตุทางระบบประสาทมีดังนี้:

ภาวะทางประสาทที่ทำให้สมองและระบบประสาทเสียหายไปตามกาลเวลา

โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด และภาวะด้านพัฒนาการ

ภาวะที่เป็นมาตั้งแต่เกิด หรือภาวะด้านพัฒนาการต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากมีดังนี้: ความบกพร่องด้านการเรียนรู้: ที่ซึ่งผู้ป่วยทำความเข้าใจ เรียนรู้ และสื่อสารกับผู้อื่นลำบาก โรคสมองพิการ (cerebral palsy): กลุ่มของภาวะทางระบบประสาทที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวและการประสานงานของอวัยวะ โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (a cleft lip and palate): ความผิดปรกติแต่กำเนิดที่ทำให้เกิดช่องแยกบนริมฝีปากบนหรือบนเพดานปาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะอุดตัน

ภาวะที่ทำให้เกิดการอุดตันในลำคอ หรือการตีบแคบของหลอดอาหารมีดังนี้:

มะเร็งปาก หรือมะเร็งลำคอ เช่นมะเร็งหลอดอาหาร หรือมะเร็งหลอดอาหารส่วนบน: เมื่อคุณหายจากมะเร็งเหล่านี้ จะไม่เกิดการอุดตันขึ้นอีก

ภาวะกระเปาะในหลอดอาหารส่วนบน (Zenker diverticulum): ที่ซึ่งบนหลอดอาหารส่วนบนมีถุงขนาดใหญ่เกิดขึ้นจนลดความสามารถในการกลืนอาหารแข็งและอาหารเหลว เป็นภาวะหายากที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ

โรคหลอดอาหารอักเสบจากเม็ดเลือดขาวอิโอซิโนฟิล (eosinophilic oesophagitis): ภาวะที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า eosinophil เข้าไปสะสมบนผนังเยื่อบุหลอดอาหารจนก่อปฏิกิริยากับอาหาร ทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้ หรือกรดไหลย้อนขึ้น การสะสมของเม็ดเลือดขาวนี้จะทำลายเยื่อบุหลอดอาหารและทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากขึ้น

การบำบัดด้วยรังสี (radiotherapy): กระบวนการนี้จะทำให้เนื้อเยื่อเป็นแผลจนทำให้ลำคอและหลอดอาหารตีบแคบลง

โรคกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease - GORD): กรดในกระเพาะอาหารสามารถทำให้เนื้อเยื่อคอเป็นแผลและทำให้หลอดอาหารตีบแคบลงได้

การติดเชื้อ เช่นวัณโรค (tuberculosis) หรือเชื้อราในช่องปาก (thrush): ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารขึ้น (ภาวะหลอดอาหารอักเสบ หรือ oesophagitis)

ภาวะของกล้ามเนื้อ

ภาวะที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ดันอาหารลงไปตามหลอดอาหารสู่กระเพาะอาหารก็สามารถทำให้เกิดภาวะกลืนลำบากได้เช่นกัน แต่ก็นับว่าภาวะเหล่านั้นหายากมาก โดยมีอยู่ 2 ภาวะดังนี้:

Scleroderma: ภาวะที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเนื้อเยื่อดีจนทำให้กล้ามเนื้อลำคอและหลอดอาหารเกิดการแข็งตัว

Achalasia: ภาวะที่ทำให้กล้ามเนื้อภายในหลอดอาหารสูญเสียความสามารถในการคลายและเปิดตัว

สาเหตุอื่น ๆ

เมื่อคุณแก่ตัวลง กล้ามเนื้อที่ใช้กลืนอาหารจะอ่อนแอลงจนทำให้ภาวะกลืนลำบากเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจำนวนมาก กระนั้นก็มีการรักษาที่มีสามารถช่วยผู้ที่ประสบกับภาวะกลืนลำบากจากวัยอยู่

โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease - COPD) คือภาวะต่าง ๆ ที่ปอด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจเข้าออกลำบาก ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกลืนลำบากตามมา

ภาวะกลืนลำบากยังสามารถเกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดศีรษะและคอได้อีกด้วย

การวินิจฉัยภาวะกลืนลำบาก

ควรไปพบแพทย์เมื่อคุณมีอาการกลืนลำบากเพื่อรับการประเมินขั้นต้น และเข้ารับการทดสอบเพิ่มเติมพร้อมกับการรักษาตามความจำเป็น

การทดสอบจะมีขึ้นเพื่อบ่งชี้สาเหตุของภาวะนี้ว่าเกิดที่ปากหรือคอ ("high" dysphagia) หรือที่หลอดอาหารของคุณ ("low" dysphagia)

การวินิจฉัยประเภทของภาวะกลืนลำบากจะช่วยให้แพทย์จัดการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดโอกาสภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ลง เช่นการสำลัก หรือโลหิตจาง

โดยแพทย์ของคุณอาจจะต้องการทราบถึง: ระยะเวลาที่คุณประสบภาวะกลืนลำบาก คุณมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ หรือทรุดลงหรือไม่ ภาวะนี้ส่งผลต่อความสามารถในการกินอาหารแข็ง อาหารเหลว หรือทั้งสองอย่างหรือไม่ คุณมีน้ำหนักลดลงหรือไม่

การเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ

ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่คาดการณ์ไว้ คุณอาจต้องเข้าพบ: ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหู จมูก และลำคอ (ear , nose and throat specialist - ENT) นักบำบัดการพูดและภาษา (speech and language therapist -SLT) นักประสาทวิทยา (neurologist): ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะที่เกิดกับสมอง เส้นประสาท และไขสันหลัง ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร (gastroenterologist): ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ อายุรแพทย์ (geriatrician): ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

ประเภทของการทดสอบที่คุณอาจได้รับมีดังต่อไปนี้

การทดสอบการกลืนน้ำ

การทดสอบการกลืนน้ำมักดำเนินการโดยนักบำบัดด้านการพูดและภาษา โดยมักจะเป็นการประเมินขั้นแรกถึงเรื่องความสามารถในการกลืนของคุณที่มีประโยชน์มาก คุณจะได้รับน้ำ 150ml มาดื่มอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้

เวลาที่คุณดื่มน้ำทั้งหมดและจำนวนการกลืนจะถูกบันทึกไว้ โดยคุณอาจต้องทำการกลืนพุดดิ้งหรือผลไม้นิ่ม ๆ ขนาดเล็กเข้าไปด้วย

Videofluoroscopy

Videofluoroscopy คือการกลืนสารแบเรียม (barium) เข้าไปเพื่อทำการประเมินความสามารถในการกลืนและเพื่อชี้ตำแหน่งของปัญหา

จะมีการใช้เครื่องเอกซเรย์การเคลื่อนไหวทั้งหมดจนทำให้แพทย์สามารถระบุถึงปัญหาได้อย่างละเอียดมาก

คุณต้องทำการกลืนอาหารหรือเครื่องดื่มที่ผสมสารแบเรียมลงไปเพื่อให้ภาพที่ได้จากการเอกซเรย์ชัดเจนมากขึ้น

กระบวนการ Videofluoroscopy มักใช้เวลานานประมาณ 30 นาที คุณอาจรู้สึกคลื่นไส้หลังการทดสอบ สารแบเรียมอาจทำให้คุณท้องผูกและยังทำให้อุจจาระของคุณมีสีขาวเป็นเวลาไม่กี่วัน กระนั้นแบเรียมก็ไม่นับเป็นสารพิษอันตรายแต่อย่างใด

Nasoendoscopy

Nasoendoscopy หรือที่เรียกว่า fibreoptic endoscopic evaluation of swallowing (FEES) เป็นกระบวนการตรวจสอบจมูกและหลอดลมอย่างใกล้ชิดที่ใช้ท่อขนาดเล็กที่มีความยืดหยุ่นสอดเข้าร่างกาย (endoscope)

ท่อ endoscope จะถูกผ่านจมูกเพื่อให้แพทย์เห็นภาพภายในลำคอและหลอดลมส่วนบนของคุณ ท่อดังกล่าวจะมีไฟฉายและกล้องติดอยู่ที่ปลายเพื่อเก็บภาพของลำคอออกมาบนหน้าจอ โดยวิธีการนี้จะทำให้มองเห็นการตีบตันหรือตำแหน่งที่มีปัญหาได้อย่างชัดเจน

FEES สามารถใช้เพื่อทดสอบหาภาวะกลืนลำบากจากหลอดอาหารส่วนบนได้ด้วยการให้คุณดื่มของเหลวสำหรับทดสอบเข้าไป (มักจะเป็นน้ำเติมสี หรือนม)

ก่อนเข้ารับการทดสอบนี้ คุณจะได้รับยาชาเฉพาะที่ในรูปของสเปรย์เข้าไปในจมูกของคุณ

กระบวนการนี้นับเป็นการทดสอบที่ปลอดภัยและใช้เวลาดำเนินการไม่นาน

Manometry และการสังเกตค่า pH ตลอด 24 ชั่วโมง

Manometry คือกระบวนการที่ใช้ประเมินการทำงานของหลอดอาหาร โดยเป็นการสอดสายสวน (catheter) ที่มีตัวเซนเซอร์ทางจมูกเข้าไปยังหลอดอาหารเพื่อวัดค่าการทำงานของหลอดอาหาร

การทดสอบนี้จะวัดแรงกดภายในหลอดอาหารขณะการกลืน ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ระดับการทำงานของหลอดอาหาร

ส่วนการสังเกตค่า pH 24 ชั่วโมงจะเป็นการสอดท่อเข้าไปยังหลอดอาหารทางจมูกเพื่อวัดปริมาณกรดที่ไหลย้อนออกมาจากกระเพาะอาหาร วิธีการนี้จะช่วยบ่งชี้สาเหตุการเกิดภาวะกลืนลำบากได้

Diagnostic gastroscopy

Diagnostic gastroscopy หรือการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น (oesophagogastroduodenoscopy - OGD) คือกระบวนการที่ใช้ตรวจสอบระบบทางเดินอาหารภายในด้วยกล้อง endoscope

กล้อง endoscope จะถูกสอดผ่านลำคอของคุณลงไปยังหลอดอาหาร และภาพภายในจะถูกส่งกลับมาบนหน้าจอโทรทัศน์ วิธีการนี้มักจะใช้เพื่อการตรวจหาบาดแผลที่เนื้อเยื่อและการเติบโตของเซลล์เนื้อร้าย

การประเมินทางโภชนาการ

หากภาวะกลืนลำบากส่งผลต่อความสามารถในการกินของคุณ คุณอาจต้องเข้ารับการประเมินทางโภชนาการเพื่อตรวจสอบว่าคุณไม่ได้ขาดสารอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นการทดสอบด้วย: การชั่งน้ำหนัก การคำนวณดัชนีมวลกาย (body mass index - BMI) เพื่อวัดว่าคุณมีน้ำหนักที่สอดคล้องกับส่วนสูงหรือไม่ การตรวจเลือด

การรักษาภาวะกลืนลำบาก

ปัญหาการกลืนลำบากส่วนมากจะสามารถรักษาให้หายได้ กระนั้นแนวทางการรักษาที่คุณได้รับจะแตกต่างไปตามประเภทของภาวะที่คุณประสบ

การรักษาจะขึ้นอยู่กับว่าปัญหาการกลืนของคุณมาจากลำคอหรือปาก

ภาวะนี้จะทำการรักษายากหากเกิดจากภาวะที่ส่งผลต่อระบบประสาท เนื่องจากว่าปัญหาเหล่านั้นมักไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ยาหรือแม้แต่การผ่าตัด

การรักษาภาวะกลืนลำบากส่วนบน (high dysphagia) มีอยู่ 3 ประเภทหลักดังนี้: การบำบัดการกลืน การปรับเปลี่ยนอาหารการกิน การป้อนอาหารผ่านท่อ

การบำบัดการกลืน

คุณอาจถูกส่งตัวไปพบนักบำบัดด้านการพูดและภาษา (speech and language therapist - SLT) เพื่อเข้ารับการบำบัดการกลืนหากคุณมีภาวะกลืนลำบากส่วนบน

โดย SLT เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้อาหารหรือปัญหาการกลืน

SLT สามารถใช้เทคนิคมากมายที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะทางต่าง ๆ อย่างเช่นการฝึกสอนวิธีการกลืนใหม่แก่คนไข้ เป็นต้น

การปรับเปลี่ยนอาหารการกิน

คุณอาจถูกส่งตัวไปพบนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนอาหารที่คุณรับประทานโดยคงสารอาหารที่คุณควรได้รับในแต่ละวันให้อยู่ในระดับสมดุล

ผู้เชี่ยวชาญต่างสามารถให้คำแนะนำเรื่องการจัดหาอาหารอ่อนและของเหลวข้น ๆ ที่ทำให้คุณกลืนได้ง่ายขึ้น และยังคอยช่วยเหลือจัดเวลาการรับประทานให้ตรงตามความจำเป็นของคุณ

การป้อนอาหารผ่านท่อ

การป้อนอาหารผ่านท่อส่งจะทำให้คุณได้รับสารอาหารไประหว่างที่คุณฟื้นฟูความสามารถในการกลืนของตนเอง วิธีการนี้จะจัดให้กับผู้ป่วยภาวะกลืนลำบากชนิดรุนแรงที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

การป้อนอาหารวิธีนี้ทำให้คุณได้รับยาสำหรับภาวะอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น โดยสายท่อที่ใช้สำหรับป้อนนั้นมีอยู่ 2 ประเภท:

สายสวนจมูกผ่านระบบทางเดินอาหาร (nasogastric tube): ท่อที่สอดผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร

สายต่อเข้ากระเพาะอาหาร (percutaneous endoscopic gastrostomy - PEG): ท่อที่จะถูกฝังเข้าไปในกระเพาะอาหารโดยตรง

สายสวนจมูกจะถูกจัดให้ใช้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ โดยจะมีการเปลี่ยนสาย และสลับการสอดเข้าไปยังรูจมูกอีกข้างหลังจากสอดติดต่อกันเป็นช่วงเวลาหนึ่งเดือน ท่อ PEG ถูกออกแบบมาให้ใช้ในระยะเวลายาวนาน และสามารถใช้ซ้ำได้หลายเดือนกว่าจะต้องทำการเปลี่ยนท่อใหม่

ผู้ป่วยภาวะกลืนลำบากส่วนมากจะเลือกใช้ท่อ PEG เพราะสายท่อสามารถซ่อนอยู่ใต้เสื้อผ้าได้ อย่างไรก็ตามก็เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่าท่ออีกประเภท

ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่ร้ายแรงจากการใช้สายสวน PEG คือท่อลงผิดที่ การติดเชื้อที่ผิวหนัง และท่อรั่วหรือตัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากการใช้สายสวน PEG คือภาวะติดเชื้อ และภาวะเลือดออกภายใน

อีกทั้งการกลับไปรับประทานอาหารตามปรกติจะทำได้ยากกว่าผู้ที่ใช้วิธีเจาะท่อเข้ากระเพาะอาหารโดยตรง เนื่องจากความสะดวกสบายของท่อ PEG ทำให้ผู้ใช้งานส่วนมากมีความรู้สึกอยากที่จะเคี้ยวกับกลืนอาหารน้อยลง และยังทำให้พวกเขามีการบริหารการกลืนและการปรับเปลี่ยนอาหารการกินน้อยกว่านั่นเอง

คุณควรปรึกษาข้อดีและข้อเสียของการสอดท่อทั้งสองประเภทกับทีมรักษาของคุณก่อนการตัดสินใจทุกครั้ง

ภาวะกลืนลำบากส่วนล่าง

ภาวะกลืนอาหารลำบากส่วนล่าง (Low dysphagia) เป็นปัญหาการกลืนที่เกิดจากปัญหาที่หลอดอาหาร

การใช้ยา

คุณอาจจะสามารถใช้ยารักษาภาวะกลืนอาหารลำบากส่วนล่างได้ขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะ ยกตัวอย่างเช่นการใช้ยา proton pump inhibitors (PPIs) สำหรับอาการอาหารไม่ย่อยอาจช่วยให้อาการดีขึ้น

สารพิษบูโทลินั่ม

สารพิษบูโทลินั่ม (Botulinum toxin) สามารถนำมาใช้กับ achalasia ได้ ซึ่ง achalasia คือภาวะที่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อในหลอดอาหารเกิดการแข็งตัวจนทำให้ของเหลวไม่สามารถไปถึงกระเพาะอาหารได้

สารชนิดนี้ใช้เพื่อทำให้กล้ามเนื้อชาและตึงตัวขึ้นเพื่อป้องกันอาหารไปถึงกระเพาะอาหาร โดยผลของสารอาจคงอยู่ได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น

การผ่าตัด

ภาวะกลืนอาหารลำบากส่วนล่างบางกรณีมักสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

Endoscopic dilatation

Endoscopic dilatation คือหัตถกรรมรักษาภาวะกลืนลำบากจากการอุดตัน และยังสามารถดำเนินการเพื่อยืดหลอดอาหารออกในกรณีที่เกิดบาดแผลขึ้น  

Endoscopic dilatation จะดำเนินการไปพร้อมกับการตรวจหลอดอาหารของคุณด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร

กล้อง endoscope จะถูกสอดผ่านลำคอไปยังหลอดอาหาร และภาพภายในร่างกายจะถูกส่งขึ้นหน้าจอที่อยู่ภายนอก

ด้วยการใช้ภาพที่ได้เป็นตัวชี้ทาง จะมีการสอดบอลลูนเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดการตีบแคบเพื่อทำการขยายออก หากมีการใช้บอลลูน แพทย์จะทำให้บอลลูนพองตัวออกขยายหลอดอาหารก่อนทำให้แฟ่บลงเพื่อนำบอลลูนออกมา

คุณอาจจะได้รับยาระงับประสาทชนิดอ่อนก่อนดำเนินการเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายขึ้น โดยความเสี่ยงจากหัตถกรรมนี้คือการฉีกขาดหรือทะลุของหลอดอาหาร (มีน้อยมาก)

การสอดท่อโลหะ

หากคุณเป็นมะเร็งหลอดอาหารที่ไม่สามารถรักษาได้ แพทย์มักจะแนะนำให้คุณเข้ารับการผ่าตัดสอดท่อโลหะแทน Endoscopic dilatation เพราะว่าผู้ป่วยมะเร็งจะมีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของหลอดอาหารสูงมากหากมีการยืดออก

ท่อโลหะที่สอดเข้าหลอดอาหารจะถูกนำทางโดยการเอกซเรย์ โดยท่อโลหะจะค่อย ๆ ขยายตัวออกเพื่อเปิดช่องทางให้อาหารไหลผ่านได้ คุณต้องทานอาหารบางประเภทเพื่อช่วยให้ท่อโลหะเปิดอยู่ต่อไปโดยไม่เกิดการอุดตันขึ้นมา

ภาวะกลืนลำบากที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

หากลูกของคุณเกิดมาพร้อมปัญหาการกลืนลำบาก การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของภาวะนี้

โรคสมองพิการ

ภาวะกลืนลำบากที่มาจากโรคสมองพิการ (Cerebral palsy) สามารถรักษาได้ด้วยการบำบัดการพูดและภาษา ลูกของคุณจะถูกฝึกวิธีการกลืน วิธีปรับตัวกับประเภทอาหารที่ทานเข้าไป และวิธีการใช้สายป้อนอาหาร

โรคปากแหว่งเพดานโหว่

โรคปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip and palate) เป็นภาวะผิดปรกติแต่กำเนิดที่ทำให้เกิดอาการกลืนลำบากเช่นกัน มักรักษาได้ด้วยการผ่าตัด

ภาวะหลอดอาหารตีบแคบ

การตีบแคบของหลอดอาหารสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดที่ใช้ขยายหลอดอาหารที่เรียกว่า dilatation

โรคกรดไหลย้อน

ภาวะกลืนลำบากที่มาจากโรคกรดไหลย้อน (Gastro-oesophageal reflux disease - GORD) สามารถรักษาได้ด้วยการทานอาหารข้น ๆ ชนิดพิเศษแทนการดื่มน้ำนมมารดาหรือนมชง บางครั้งอาจมีการใช้ยาร่วมด้วย

การให้นมหรือขวดน้ำแก่เด็ก

หากคุณหรือลูกของคุณมีปัญหาการดื่มนมจากขวดหรือไม่สามารถให้นมจากเต้าได้ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ผดุงครรภ์หรือแพทย์ทั่วไปเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกลืนลำบาก

ภาวะกลืนลำบากอาจนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ ตามมา โดยปัญหาที่พบได้จากภาวะนี้คือการไอหรือสำลักเมื่ออาหารลงผิดทางและเข้าไปอุดกั้นทางเดินหายใจของคุณ

หากเกิดอาการไอหรือสำลักบ่อยครั้ง คุณอาจจะเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำเนื่องจากความกลัวและทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) และภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในที่สุด

ผู้ป่วยภาวะกลืนลำบากบางรายอาจมีแนวโน้มเกิดภาวะติดเชื้อในอกอย่างภาวะปอดบวมจากการหายใจ (aspiration pneumonia) ซึ่งเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ในทันที

ภาวะกลืนลำบากยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณอย่างมากเพราะทำให้คุณหมดสนุกกับการกิน ซึ่งทำให้คุณไม่อยากไปเข้าร่วมสังคมหรือพบปะเพื่อนฝูง

การไอและสำลัก

หากคุณประสบกับอาการกลืนลำบาก จะมีความเสี่ยงที่อาหารหรือน้ำลงผิดทางจนเข้าไปอุดตันทางเดินอากาศ ทำให้คุณหายใจติดขัด และทำให้คุณสำลักหรือไอออกมา

หากคุณเป็นภาวะนี้ คุณอาจเริ่มมีอาการกลัวการสำลักขึ้นมาได้ แต่สิ่งที่ควรทำคือการรับประทานอาหารและน้ำตามปรกติ ห้ามหยุดห้ามงดเด็ดขาดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำและทุพโภชนาการ

หากคุณสำลักอาหารบ่อยครั้ง คุณอาจจะมีความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมจากการหายใจได้ (aspiration pneumonia)

โรคปอดบวมจากการหายใจ

โรคปอดบวมจากการหายใจ (aspiration pneumonia) คือภาวะติดเชื้อในอกที่เกิดขึ้นหลังจากการสูดบางสิ่งเข้าไปในปอดโดยไม่ตั้งใจจนเกิดความระคายเคือง เช่นเศษอาหาร หรือแม้แต่สร้างความเสียหายกับปอดขึ้นมา สำหรับผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อภาวะปอดบวมจากการหายใจมากขึ้นเป็นพิเศษ

อาการของโรคปอดบวมจากการหายใจมีดังนี้: ไอ: อาจเป็นได้ทั้งการไอแห้ง หรือไอมีเสมหะสีเหลือง เขียว น้ำตาล หรือปนเลือด มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด: การหายใจของคุณอาจจะกลายเป็นช่วงสั้น ๆ ถี่ หรืออาจจะรู้สึกหายใจไม่ออกแม้จะพักผ่อนอยู่ก็ตาม

ให้รีบติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณกำลังรักษาภาวะกลืนลำบากอยู่และเริ่มมีอาการข้างต้น

อาการของโรคปอดบวมจากการหายใจมีหลายระดับตั้งแต่เบาบางมากจนถึงรุนแรง แต่ทั้งหมดสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ สำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงจะต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อรับยาปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือด (ผ่าตัวหยดยา)

สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ จะมีโอกาสที่การติดเชื้อทำให้ของเหลวท่วมปอดซึ่งจะหยุดการทำงานของปอดได้ ภาวะเช่นนี้เรียกว่ากลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome - ARDS)

โอกาสที่คุณจะเป็นโรคปอดบวมจากภาวะกลืนลำบากจะสูงมากขึ้นหากคุณมีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ เช่นเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือคุณมีสุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดี

ภาวะกลืนลำบากในเด็ก

หากเด็กประสบกับภาวะกลืนลำบากเป็นเวลานานไม่ได้รับประทานอาหารที่สมดุลเพียงพอ พวกเขาจะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ

เด็กที่มีปัญหาการรับประทานเช่นนี้อาจมีความรู้สึกว่าการรับประทานอาหารเป็นเรื่องเครียด ซึ่งยังนำไปสู่ปัญหาด้านพฤติกรรมตามมาเช่นกัน


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dysphagia (swallowing problems). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/swallowing-problems-dysphagia/)
Dysphagia: Symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/177473)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)