ความเครียดทำให้สิวขึ้นได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเครียดทำให้สิวขึ้นได้จริงหรือ?

หลายคนในที่นี้น่าจะเคยได้ยินมาบ้างว่า สุขภาพจิตมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพกาย ซึ่งดูเหมือนว่าความเครียดจะส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของร่างกาย โดยส่งผลได้ตั้งแต่ระบบทางเดินอาหารไปจนถึงระบบภูมิคุ้มกัน และไม่เว้นแม้แต่ผิวของเราค่ะ ซึ่งมีงานวิจัยค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดและการเกิดสิว โดยสรุปได้ดังนี้

1.ความเครียดทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น  

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ตัวรับ (Receptors) ฮอร์โมนแห่งความเครียดที่อยู่ในเซลล์ผิวของเรามีหน้าที่ผลิตซีบัม ทั้งนี้ซีบัมคือน้ำมันที่ผิวผลิตออกมา ซึ่งจะมีการผสมกับเซลล์ผิวที่ตายแล้วและทำให้เกิดสิว ในช่วงที่เครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนแห่งความเครียดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนคอร์ติซอล และนั่นก็จะทำให้มีการผลิตซีบัมเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเกิดสิวในคนที่ผิวมีความไวต่อการเกิดสิว นอกจากนี้คอร์ติซอลอาจทำให้ผิวเกิดการอักเสบอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

2.สิวที่เกิดจากความเครียดอาจเพิ่มความเครียดให้มากขึ้นไปอีก

คนที่มีสิวที่ไม่ว่าจะเกิดจากความเครียดหรือไม่ ก็ล้วนแต่รู้สึกเครียด วิตกกังวล และรู้สึกเศร้า ความเครียดที่ก่อตัวขึ้นก็จะทำให้สภาพผิวแย่ไปกันใหญ่ ซึ่งวงจรนี้จะเกิดขึ้นต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้ความเครียดอาจทำให้เราบีบหรือแกะสิว การทำเช่นนี้จะทำให้แผลหายช้าลง และอาจทำให้เกิดสิวใหม่ สุดท้ายแล้วคุณก็จะไม่สามารถหลุดออกจากวงจรนี้ได้

3.ความเครียดสามารถทำให้เกิดการอักเสบในผิว

ในขณะที่เราเครียด ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียดจะถูกหลั่งออกมามากขึ้น และนั่นก็จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งจะทำให้คนที่ผิวมีความไวต่อสิวมีสภาพผิวที่แย่กว่าเดิม

4.ความเครียดอาจทำให้เราทานอาหาร หรือมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

ความเครียดสามารถส่งผลต่อการทานอาหาร และนั่นก็มีผลต่อการเกิดสิวเช่นกัน อย่างไรก็ดี อาหารที่มีคาร์บ น้ำตาล และมีผลิตภัณฑ์จากนมสูง สามารถทำให้คนที่มีสิวมีอาการแย่ลงกว่าเดิม เมื่อเราเครียด เราก็มีแนวโน้มที่จะทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างเช่นเคย รวมถึงยังละเลยการดูแลตัวเอง และนอนไม่เพียงพอหรือนอนไม่ได้คุณภาพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้สิวไม่หายขาดสักทีค่ะ

วิธีจัดการกับความเครียดและป้องกันไม่ให้สิวขึ้น

มีหลายวิธีที่ช่วยจัดการกับความเครียดได้ ตัวอย่างเช่น

  • จิตบำบัด – การได้พูดคุยกับนักจิตวิทยาสามารถช่วยจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลได้ ซึ่งการบำบัดโดยใช้วิธีที่เรียกว่า Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT จะช่วยผู้ป่วยระบุและเปลี่ยนแปลงรูปแบบความคิด และพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือทำให้เกิดอันตราย
  • ทำสมาธิ – ช่วยให้คุณมีจิตใจที่สงบ และช่วยบรรเทาความวิตกกังวล
  • สะกดจิตบำบัด –  การรับมือกับความเครียดด้วยวิธีนี้จะต้องทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและถูกโน้มน้าวได้ง่าย และเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลงหรือเลิกนิสัยที่ไม่ดี
  • โยคะและไทชิ – เป็นการฝึกที่ต้องใช้การเคลื่อนไหว การหายใจ และสมาธิ เพื่อทำให้ร่างกายผ่อนคลายและทำให้มีสุขภาพดี แต่หากคุณมีเวลาไม่มาก การสูดลมหายใจผ่านทางจมูก 3 วินาที และหายใจออกให้นานขึ้นผ่านทางปากก็สามารถช่วยผ่อนคลายได้มากทีเดียว
  • ยา – การทานยารักษาโรคซึมเศร้า ยาโพรพราโนลอล หรือเมโทโพรลอล สามารถช่วยจัดการกับความวิตกกังวลและความเครียดได้

การรักษาสิว

สำหรับสิวที่เกิดจากความเครียด มียาหลายชนิดที่สามารถช่วยทำให้สิวลดลง ตัวอย่างเช่น  เบนซอยล์เปอร์ออกไซด์ กรดซาลิซิลิก เรตินอยด์ทั้งชนิดทาเฉพาะจุด (Tretinoin) และกิน (Isotretinoin) ยาปฏิชีวนะทั้งชนิดทาเฉพาะจุด (Clindamycin) และกิน (Minocycline หรือ Azithromycin) ยาคุมกำเนิด น้ำมันทีทรี ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม หากคุณลองจัดการกับความเครียดหรือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ อย่างนอนพักผ่อนให้เพียงพอ หรือทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว แต่ปรากฏว่าสิวยังคงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง มีท่าทีที่รุนแรงขึ้น หรือไม่สามารถควบคุมได้ การไปพบแพทย์ผิวหนังก็เป็นทางออกที่ดีค่ะ



1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์
12 วิธีในการจัดการความเครียดระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถกลับมาควบคุมชีวิตตัวเองได้อีกครั้ง?

อ่านเพิ่ม
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก
การคลายความเครียดสำหรับเด็ก

การคลายความเครียดสำหรับเด็ก : จะทำให้การผ่อนคลายความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเด็กได้อย่างไร

อ่านเพิ่ม