Digoxin - มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Digoxin - มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

ตัวอย่างยี่ห้อของยา Digoxin ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Toloxin

- ยาเม็ด ขนาด 0.25 มิลลิกรัม

T.O. Chemicals

Grexin

- ยาเม็ด ขนาด 0.25 มิลลิกรัม

Pharmasant Laboratories

Lanoxin

- ยาฉีด ความเข้มข้น 0.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร

GlaxoSmithkline

 

โรค และอาการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยานี้บรรเทา

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาหัวใจวายฉุกเฉิน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับหัวใจวายหรือหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Digoxin

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ไดจอกซิน เป็นยากลุ่ม คาร์ดิแอก ไกลโคไซด์ (cardiac glycoside) ที่มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (positive inotropic) โดยยาเพิ่มความแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหัวใจ ไดจอกซินสามารถลดการเหนี่ยวนำบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจที่ผ่านอาตริโอเวตริคูลาร์ โนด (atrioventricular node; AV node) ไดจอกซินยังออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดเลือด และออกฤทธิ์ทางอ้อมผ่านระบบประสาทส่วนออโตโนมิก และเพิ่มการทำงานของระบบประสาทส่วนวากัล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้ของยา Digoxin

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาหัวใจวายฉุกเฉิน ยาในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่สำหรับผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับยากลุ่ม cardiac gycoside มาก่อนในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขนาด 0.5 ถึง 1 มิลลิกรัม ให้ยาแบบ infusion ผ่านหลอดเลือดดำครั้งเดียวเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หรือแบ่งให้ยาโดยการให้แต่ละครั้งให้อยู่ในช่วง 10 ถึง 20 นาที ยาสำหรับ maintenance ให้เป็นยาในรูปแบบยารับประทาน ข้อบ่งใช้สำหรับหัวใจวายหรือหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด loading dose 0.75-1.5 มิลลิกรัมในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ให้ครั้งเดียวหรือแบ่งให้ยาทุก 6 ชั่วโมงในกรณีที่ไม่เร่งด่วน หรือกรณีที่มีความเสี่ยง ในผู้ป่วยโรคหัวใจวายระดับปานกลาง ไม่จำเป็นต้องให้ loading dose ให้ยาขนาด 250 ไมโครกรัม วันละหนึ่งถึงสองครั้ง ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติ ยาจะถึงระดับ steady state ใน 7 วัน ระดับยา maintenance ปกติอยู่ที่ 125-250 ไมโครกรัม วันละครั้ง แต่อาจอยู่ในช่วง 62.5-500 ไมโครกรัม วันละครั้งได้ ขนาดการใช้ยาในผู้สูงอายุ ลดขนาดให้ต่ำลงกว่าขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา Digoxin

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา Digoxin

- ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากดิจิทัลลิส (digitalis) - ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นระรัว (ventricular fibrillation) - ไม่ใช่ยานี้ในผู้ป่วยโรคหัวใจที่โครงสร้างหัวใจผิดปกติ - ไม่ใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) - ระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ (dysrhythmia) โพแทสเซียมในเลือดต่ำ ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด แคลเซียมในเลือดสูง แมกนีเซียมในเลือดต่ำ ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ - ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต - ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยไทรอยด์ทำงานผิดปกติ - ระวังการใช้ในผู้ป่วยสูงอายุ สตรีมีครรภ์ - ยาไดจอกซินในรูปแบบฉีดเข้าหลอดเลือด ใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากลุ่มคาร์ดิแอก ไกลโคไซด์ (cardiac glycoside) มามากกว่า 2 สัปดาห์

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา Digoxin

ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน อาการท้องเสียในผู้สูงอายุ สับสน มึนงง ง่วงนอน ตื่นตัว รบกวนการมองเห็น เต้านมโตในเพศชาย เกิดการระคายเคืองบริเวณที่ฉีดยาในการใช้ยาในรูปแบบยาฉีด การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำรวดเร็วเกินไปอาจนำไปสู่การหดตัวของหลอดเลือดและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว อาการอันไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีการถูกขัดขวางของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ข้อมูลการใช้ยา Digoxin ในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category C คือ ควรระมัดระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สำหรับสตรีให้นมบุตร ควรระวังการใช้ยา

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลการเก็บรักษายา Digoxin

เก็บที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลในการสั่งใช้ยา

แพทย์และเภสัชกรสามารถให้ข้อมูลการใช้ยาอย่างปลอดภัย ผู้ป่วยควรแจ้งข้อมูลเหล่านี้แก่แพทย์หรือเภสัชกรเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยและลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการใช้ยา

  • แจ้งข้อมูลการใช้ยารักษาโรคประจำตัว ยาที่เพิ่งรับประทานก่อนหน้านี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทาน (รวมถึงวิตามิน และสมุนไพร) ในกรณีมียาประจำตัวจำนวนมาก ให้พกยาเพื่อให้แพทย์หรือเภสัชกรช่วยตรวจสอบก่อนสั่งจ่ายยาใหม่ ไม่ให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาที่จะได้รับใหม่และยาที่เดิมที่ผู้ป่วยใช้อยู่
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา หรืออาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือแพ้อาหารชนิดใดอยู่ (เนื่องจากยาบางชนิดมีส่วนประกอบของไข่ขาว นม ยีสต์) อาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการบวม เกิดผื่น หายใจลำบาก หรือให้นำบัตรแพ้ยา พกติดตัวและแสดงบัตรนี้แก่แพทย์และเภสัชกรก่อนเข้าใช้บริการสุขภาพทุกครั้ง
  • แจ้งข้อมูลในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เนื่องจากยาบางชนิดส่งผลอันตรายต่อเด็กในครรภ์ หรือสามารถขับออกทางน้ำนมได้
  • แจ้งข้อมูลที่จะส่งผลต่อการรับประทานยา เช่น มีปัญหาการกลืนลำบาก มีปัญหาด้านการมองเห็นหรืออ่านฉลากยา วิธีการรับประทานยา เพื่อแพทย์หรือเภสัชกรจะได้ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Digoxin Drug Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682301.html)
Digoxin Oral : Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing. WebMD. (https://www.webmd.com/drugs/2/drug-4358/digoxin-oral/details)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป