แตงกวาผัดไข่ เมนูลดน้ำหนักง่ายๆ ได้ผลชัวร์

สองวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่รสชาติอร่อย และมากด้วยประโยชน์ที่คุณต้องทึ่ง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แตงกวาผัดไข่ เมนูลดน้ำหนักง่ายๆ ได้ผลชัวร์

เมนูเพื่อสุขภาพที่เรานำมาฝากกันในวันนี้มีเมนู แตงกวาผัดไข่ จาก “แตงกวา” และ “ไข่” ที่เป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งสองอย่างนี้มีทั้งกากใยและโปรตีนครบถ้วนจึงสามารถนำมาในเมนูช่วยลดน้ำหนักแบบง่ายๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ต้องออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้นจึงจะเห็นผลชัดเจน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักแตงกวาและไข่กันก่อน

แตงกวา

แตงกวา เป็นพืชที่เราหาซื้อได้ง่ายเพราะคนไทยนิยมรับประทานแตงกวาเป็นเครื่องเคียงของอาหารคาว อาหารรสจัด เช่น น้ำพริกชนิดต่างๆ ส้มตำ หลน หรืออาหารที่มีความมันเพื่อลดทอนความเลี่ยน  หรือนำแตงกวามาประดับตกแต่งจานก็มี   ในทางกลับกันอาจเป็นเพราะความเคยชินที่เห็นว่าแตงกวาเป็นเพียงแค่ผักตกแต่งจาน หลายคนจึงละเลยที่จะรับประทานเข้าไปและเหลือทิ้งไว้บนจานข้าว โดยหารู้ไม่ว่าผักชนิดนี้มีประโยชน์กับร่างกายไม่น้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ประโยชน์ของแตงกวา

  1. ช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดอาการขาดน้ำ เพราะแตงกวามีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 96%
  2. แตงกวามีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 96% จึงช่วยลดความร้อนในร่างกายทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งเพิ่มความชุ่มชื้น
  3. แคลอรี่ต่ำ ไม่มีไขมัน แต่อุดมไปด้วยวิตามินมากมายทั้งวิตามินเอ บี และซี
  4. เสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท
  5. ช่วยรักษาสมดุลในร่างกายให้เป็นปกติ เช่น การรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
  6. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
  7. ช่วยในการขับถ่ายและระบบย่อยอาหาร แก้อาการท้องผูก เนื่องจากมีกากใยสูง
  8. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ เนื่องจากแตงกวามีส่วนประกอบของน้ำที่ค่อนข้างสูง
  9. มีสารต้านอนุมูลอิสระ กลุ่มฟลาโวนอยด์ และแทนนิน จึงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้
  10. แก้อาการนอนไม่หลับ
  11. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอโดยทำเป็นน้ำแตงกวาดื่มได้
  12. ช่วยลดการเกิดกลิ่นปากโดยสารจากแตงกวาจะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้
  13. ช่วยทำให้ผม เล็บ เงางาม และแข็งแรง
  14. ถือเป็นทรีตเมนต์ที่ดีต่อสุขภาพผิว เพราะมีส่วนประกอบของโพแทสเซียม และแมกนีเซียม 
  15. ช่วยลดการเกิดถุงใต้ตาและลดอาการตาบวม

ไข่

ไข่ ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารหลักของผู้คนทุกชนชาติโดยเฉพาะไข่ไก่ เพราะรับประทานง่าย ทำอาหารได้หลากหลาย และอุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย

ประโยชน์ของไข่

  1. ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีน ใน 1 ฟอง จะมีโปรตีนคุณภาพดีจำนวน 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด
  2. ไข่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น วิตามินเอ บี 5 บี 2 บี 12 ดี อี  แคลเซียม สังกะสี ฟอสฟอรัส ซีลิเนียม   
  3. ไข่ 1 ฟอง จะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม จัดเป็นแหล่งโคลีนที่ดีเพราะโคลีนจัดว่าเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด หากได้รับโคลีนในปริมาณที่เพียงพอยังสามารถช่วยป้องกันและรักษาอาการทางระบบประสาทและสมองได้  
  4. ไข่ 1 ฟองมีไขมันอยู่ 5 กรัม และมีเพียง 1.5 กรัมเท่านั้นที่เป็นไขมันชนิดอิ่มตัว ไขมันในไข่จึงมีคุณภาพดี 
  5. ไข่ ดีต่อดวงตาเพราะอุดมไปด้วยสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูเทอิน (Lutein) และซีอาแซนทิน (Zexanthin) ซึ่งพบที่เลนส์ของดวงตาและแมคูลา  สารทั้งสองนี้มีความสำคัญต่อดวงตาแต่เป็นสารที่มนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นได้  ผลวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การรับประทานไข่วันละ 1 ฟองสามารถป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงการเป็นต้อกระจกลงได้เช่นกัน 
  6. จากผลงานวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน เส้นเลือดอุดตันในสมอง และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ 
  7. คอเลสเตอรอลมีเฉพาะในไข่แดง ไข่ขาวไม่มีคอเลสเตอรอล งานวิจัยชิ้นใหม่พบว่า การบริโภคไข่แต่พอสมควรจะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อปริมาณคอเลสเตอรอล การบริโภคไข่วันละ 2 ฟองเป็นประจำไม่มีผลกระทบต่อระดับไขมันในร่างกายเพิ่มเติม แต่ยังจะช่วยทำให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น 
  8. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดีเพราะมีซัลเฟอร์สูงรวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด สังเกตได้ว่า ผมจะยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์ หรือวิตามินบี 12 มาก่อน
  9. ไข่ อาจช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมได้ จากผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ถึงร้อยละ 44

แตงกวาผัดไข่ ประโยชน์รวมกันแบบคูณสอง

จะเห็นว่า ทั้งแตงกวาและไข่มีประโยชน์มากมาย ที่สำคัญเรายังสามารถนำแตงกวาและไข่มาปรุงอาหารร่วมกันได้ เมนูที่เรานำเสนอในวันนี้ ได้แก่ แตงกวาผัดไข่ เมนูหลักร้อยแต่ประโยชน์หลักล้าน  ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหาร มีแคลอรีต่ำ มีวิตามินหลายชนิด มีโปรตีนสูง ช่วยเรื่องสุขภาพผม ผิวพรรณความงาม รวมทั้งช่วยลดน้ำหนักได้ 

จากปริมาณพลังงานพบว่า  แตงกวาให้พลังงานแค่ 45 กิโลแคลอรี่  ไข่ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี  นอกจากพลังงานจะต่ำแล้ว แตงกวายังช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารเนื่องจากมีกากใยสูงและมีปริมาณน้ำมาก แถมไข่ยังมีโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ จากงานวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำและมีปริมาณน้ำสูงมีความสัมพันธ์ในทางที่ดีกับการลดน้ำหนักตัว

คราวนี้มาดูกันว่า เราจะสามารถลดน้ำหนักด้วยเมนูแตงกวาและไข่ภายใน 2 สัปดาห์ได้อย่างไร 

วางแผนการลดความอ้วน

สัปดาห์ที่ 1 

เริ่มต้นกันด้วยการวางแผนกินไข่ต้ม แตงกวา และแตงกวาผัดไข่

  • เช้า แตงกวาผัดไข่ (ใช้น้ำในการผัดแทนน้ำมัน) กับข้าวกล้อง 1 ทัพพี
  • กลางวัน  ไข่ต้ม 2 ฟอง แตงกวา 1 ถ้วย ข้าวกล้อง 1 ทัพพี
  • เย็น  แตงกวา 1 ถ้วย

สัปดาห์ที่ 2 

สามารถรับประทานอาหารอย่างอื่นได้ เช่น เนื้อต้ม หรือนึ่ง ไก่ต้ม เต้าหู้ ผัก และผลไม้ (น้ำตาลน้อย) อาหารเหล่านี้ไม่ควรใส่น้ำมันเป็นส่วนประกอบ โดยที่คุณควรรับประทานอาหารเย็นก่อน 5 โมงเย็น 

แนะนำเพิ่มเติมว่า คุณสามารถดื่มน้ำเต้าหู้ (ไม่ใส่น้ำตาล) และนมในตอนเช้าได้ รวมถึงไข่ยังคงเป็นอาหารหลักในอาหารหลักสามมื้อของวัน โดยคุณสามารถรับประทานผัก ผลไม้ หรือขนมปังและกาแฟน้อยลงได้

กฎในการรับประทาน

ที่ต้องจำเอาไว้ให้แม่น การรับประทานไข่ไม่ต้องจำกัดจำนวนฟองในช่วงสัปดาห์แรก แต่สำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูงควรรับประทานเพียงไข่ขาวอย่างเดียว หรืออาจจะเป็นเต้าหู้แทนก็ได้เช่นกัน วิธีรับประทานแบบนี้ทำได้ภายในสองสัปดาห์เช่นเดียวกัน

หวังว่า เคล็ดลับดีๆ จากไข่และแตงกวาในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ที่ช่วยให้ใครหลายๆ คนกลับมามีสุขภาพที่ดี  มีรูปร่างที่ต้องการอีกครั้ง ลองนำไปประยุกต์ให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
D Kumar, Free Radical Scavenging and Analgesic Activities of Cucumis sativus L. Fruit Extract (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3019374/), December 2010
Isabelle Guelinckx, Contribution of Water from Food and Fluids to Total Water Intake: Analysis of a French and UK Population Surveys (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5084017/), 14 October 2016
Marta Stelmach-Mardas, Link between Food Energy Density and Body Weight Changes in Obese Adults (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4848697/), 20 April 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับรายชื่ออาหาร สารอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ และคุณรู้หรือไม่ว่าความเครียดและกาเฟอีนสามารถทำให้คอเลสเตอรอลของคุณเพิ่มขึ้นได้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม