กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การ HDL-c คอเลสเตอรอลชนิดดี

ทำไมถึงต้องตรวจ HDL-c หรือ HDL เมื่อไรที่ควรตรวจ การเตรียมตัวก่อนตรวจ ค่าปกติของ HDL คืออะไร เพิ่มค่า HDL อย่างไร HDL สูงเกินไปได้หรือไม่ หาคำตอบได้ที่นี่
เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การ HDL-c คอเลสเตอรอลชนิดดี

การตรวจ HDL-c หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีคืออะไร

คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ High-density lipoprotein (HDL cholesterol, HDL-c หรือ HDL) คือไลโปโปรตีน (lipoproteins) ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดคอเลสเตอรอลออกจากเนื้อเยื่อ และขนส่งไปทำลายที่ตับต่อไป โดยใน HDL ประกอบด้วยโปรตีนเป็นส่วนมากและมีจำนวนคอเลสเตอรอลน้อย จึงทำให้ HDL นั้นมีประโยชน์ถือเป็นไขมันที่ดีกับร่างกาย 

หากปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดสูงนั้นทำให้ HDL ขนส่งออกไปกำจัดไม่ทัน จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันได้ ดังนั้นหากมีปริมาณ HDL สูงจะยิ่งดีต่อร่างกายเพราะความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดอุดตันจะต่ำลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำไมถึงต้องตรวจ HDL

การตรวจ HDL-C หรือคอเลสเตอรอลชนิดดีจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการเก็บข้อมูลระดับไขมันในเลือดทั้งหมด เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดอุดตัน เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือแพทย์ในการพิจารณาเลือกวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยที่มีระดับไขมันในเลือดสูงหรือมีความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง

การตรวจ HDL-C นั้นอาจใช้ประโยชน์ในการตรวจติดตามผลการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงได้เช่นกัน

เมื่อไรถึงควรตรวจ HDL

ในผู้ใหญ่ การตรวจคอเลสเตอรอลชนิดดีจะรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพทั่วไป หรือตรวจสุขภาพประจำปี หรือในผู้ที่มีสุขภาพดีสามารถรับการตรวจได้ทุก 4 หรือ 6 ปี และในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงแพทย์อาจจะสั่งให้มีการตรวจที่ถี่ขึ้นกว่าปกติ 

  1. ตรวจคัดกรอง: เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่ทุกคนควรทำ โดยควรตรวจทุกปีหรือทุก 6 เดือนในผู้ใหญ่ ในเด็กควรมีการตรวจคัดกรองในช่วงอายุ 9-11 ปี และตรวจอีกครั้งเมื่อมีอายุ 17-21 ปี
  2. ตรวจติดตาม: โดยจะตรวจถี่ขึ้นกว่าการตรวจคัดกรองเมื่อพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ถ้ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจสูงก็ควรตรวจถี่ยิ่งขึ้น หรือเมื่อมีปัญหาทางสุขภาพหรือโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด หรือแพทย์อาจจะสั่งให้มีการตรวจ HDL เมื่อต้องการที่จะติดตามผลการรักษา หรือเพื่อประเมินผลการรักษาว่ายาที่ได้รับ หรือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตนั้นได้ผลหรือไม่ ระดับไขมันดีเพิ่มขึ้นหรือไม่

ความเสี่ยงอื่นที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจมีดังนี้

  • การสูบบุหรี่
  • ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • อายุมากกว่า 45 ปีในเพศชาย หรืออายุมากกว่า 55 ปีในเพศหญิง
  • มีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง
  • ภายในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจมาก่อน
  • มีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ HDL

หากเป็นการตรวจระดับไขมันในเลือดทุกชนิด ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหาร 9-12 ชั่วโมงก่อนการตรวจ ดื่มได้เฉพาะน้ำเปล่าเท่านั้น ในกรณีที่ไม่ต้องมีการงดอาหารแพทย์หรือพยาบาลจะแจ้งให้ผู้เข้าตรวจทราบ

การตรวจ HDL ควรตรวจในภาวะที่ผู้ตรวจมีสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย เนื่องจากค่าคอลเลสเตอรอลอาจจะลดลงหากอยู่ในภาะวะล้มป่วย หรือหัวใจวาย หรือร่างกายมีภาวะความเครียดจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัด เป็นต้น ควรรอประมาณ 6 สัปดาห์หลังจากการล้มป่วยเพื่อเข้ารับการตรวจ

ในเพศหญิงหากมีการตั้งครรภ์ก็อาจทำให้ค่า HDL เปลี่ยนไปได้ ควรตรวจหลังจากคลอดแล้วอย่างน้อย 6 สัปดาห์

การอ่านและแปลผลการตรวจ HDL

การที่มีระดับไขมันอยู่ในระดับปกตินั้นหมายถึงการมีหัวใจที่แข็งแรงและสุขภาพดี โดยแพทย์จะพิจารณาจากผลการตรวจค่าไขมันทั้งหมดรวมถึงค่า HDL-C ด้วย หลายองค์ประกอบร่วมกันนำมาพิจารณาว่าสุขภาพท่านดีหรือไม่ มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดมากน้อยเพียงใด แพทย์จะพิจารณาถึงปัจจัยอื่นด้วย เช่น การใช้ชีวิต อาหารที่รับประทาน และปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจหลอดเลือด เป็นต้น เพื่อนำมาเลือกใช้วิธีการรักษาและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจให้มากที่สุด

โดยหน่วยของผลการตรวจจะเป็น มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ mg/dL

การแปลผลการตรวจ HDL สำหรับผู้ใหญ่

ระดับ HDL ปกติอยู่ที่ 40-50 mg/dL ในเพศชายและ 50-59 mg/dL ในเพศหญิง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากมีค่า HDL น้อยกว่า 40 mg/dL ในเพศชาย และน้อยกว่า 50 mg/dL ในเพศหญิง หมายถึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับผลของค่าอื่นๆ หรือปัจจัยอื่นร่วมด้วย

จากการศึกษามากมาย พบว่าหากมีค่า HDL อยู่ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 60 mg/dL จะลดความเสี่ยงของโรคหัวใจได้

การแปลผลการตรวจ HDL สำหรับผู้มีอายุน้อยหรือเด็ก

ค่า HDL ปกติของเด็กควรอยู่ที่มากกว่า 45 mg/dL ระดับ HDL ที่ 40-45 mg/dL ถือว่าเริ่มมีความเสี่ยง 

หากมีค่า HDL น้อยกว่า 40 mg/dL หมายถึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจที่มากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับผลของค่าอื่นๆ หรือปัจจัยอื่นร่วมด้วย

ในบางห้องปฏิบัติการจะแสดงค่าของการตรวจในรูปแบบอัตราส่วนของ คอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) และ HDL ก็ได้ เช่น ผลตรวจคอเลสเตอรอลทั้งหมดได้ค่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และมีค่า HDL 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะได้อัตราส่วนเท่ากับ 4:1 หรือจะบอกเป็นค่าเดียวคือนำอัตราส่วนมาหารกันก็ได้ จะได้เป็น 4 เป็นต้น

ค่าที่ต้องการของอัตราส่วนของ คอเลสเตอรอลทั้งหมด (total cholesterol) และ HDL อยู่ที่ต่ำกว่า 5 (5:1) และค่าปกติอยู่ที่ 3.5 (3.5:1)

การรักษาภาวะ HDL ต่ำ

ยาบางชนิด เช่น Niacin สามารถลดระดับของคอเลสเตอรอลและเพิ่มระดับของ HDL ได้ แต่แพทย์จะให้ยาตามระดับของคอเลสเตอรอลไม่ใช่ระดับของ HDL หรือแม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์ก็สามารถเพิ่ม HDL ได้เช่นกัน แต่การดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 2 แก้วนั้นจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และเส้นเลือดสมองอุดตันนั้นเพิ่มขึ้นเช่นกัน

วิธีที่ดีกว่าในการเพิ่มคลอเลสเตอรอลดีหรือ HDL นั้น คือการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็สามารถเพิ่มระดับของ HDL ได้ เช่น การลดหรือเลิกสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย เป็นต้น

HDL สูงเกินไปได้หรือไม่

HDL จัดเป็นตัวป้องกัน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ แต่อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาพบว่าผู้ที่มีระดับ HDL สูงเกินไปอาจจะไม่ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจแต่อาจเพิ่มความเสี่ยงแทนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่มีระดับ HDL ระดับปกติ

มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีระดับ HDL สูงเกินไปบางรายเกินจากความผิดปกติของโครโมโซมทำให้มีระดับของ HDL ที่ผิดปกติได้


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cholesterol Levels Lab Test Information. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/lab-tests/cholesterol-levels/)
HDL (High-Density Lipoprotein) Cholesterol Test. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hdl-test)
HDL cholesterol: How to boost your 'good' cholesterol. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/high-blood-cholesterol/in-depth/hdl-cholesterol/art-20046388)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?
ควรรับประทานวิตามินเสริมถ้าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

การรับประทานวิตามินเสริมที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำ

อ่านเพิ่ม
สมุนไพรลดไขมันในเลือด 10 ชนิด
สมุนไพรลดไขมันในเลือด 10 ชนิด

สมุนไพรใกล้ตัว หาได้ไม่อยาก และมากด้วยคุณประโยชน์ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

อ่านเพิ่ม
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้
อะไรที่ช่วยลด-เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายคุณได้

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับรายชื่ออาหาร สารอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ และคุณรู้หรือไม่ว่าความเครียดและกาเฟอีนสามารถทำให้คอเลสเตอรอลของคุณเพิ่มขึ้นได้ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม