ความหมาย เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างช้า ๆ ประกอบด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) และโรคถุงลมปอดโป่งพอง (Emphysema)
สาเหตุ มักเกิดจากการสูบบุหรี่ อาจเกิดจากฝุ่นละออง สารระคายเคืองต่าง ๆ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
พยาธิสรรีภาพ เมื่อหลอดลมได้รับการระคายเคืองบ่อย ๆ จะทำให้เยื่อบุหลอดลมโดยเฉพาะต่อมเมือก (Mucous gland) หลังสารคัดหลั่งออกมา ต่อมาเซลล์จะมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและความยืดหยุ่นเสียไป ท่อหลอดลมจะตีบแคบลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จะทำให้ขนกวัดในเซลล์เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหวได้น้อยลง ต่อมและเซลล์เมือกไม่สามารถขับมูกจำนวนมากที่เหนียวออกไปได้ ส่วนโรคถุงลมปอดโป่งพองเกิดจากมีการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดลมเป็นเวลานาน เมือกที่ฉาบอยู่บนผิวของหลอดลมถูกทำลาย ทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและกลายเป็นแผลเป็น ขนกวัดถูกทำลายจึงทำให้สารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสามารถแทรกเข้าสู่เซลล์ของหลอดลม มีการอักเสบและสร้างเสมหะออกมามาก และเมื่อกลไกการขับเสมหะตามปกติถูกทำลายไปจะทำให้เสมหะที่สร้างขึ้นนั้นจับตัวกันเป็นก้อนอุดหลอดลมไว้อากาศผ่านเข้าออกจากถุงลมไม่ได้จึงดันให้ถุงลมโป่งออก ถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่น คือ ยืดได้หดไม่ได้ เมื่อมีการคั่งของอากาศนาน ๆ เข้าถุงลมจะยิ่งโป่งออกจนมีการฉีกขาดและหลอดเลือดบริเวณนั้นถูกทำลาย พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง หัวใจซีกขวาต้องทำงานหนักซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจซีกขวาล้มเหลว เรียกภาวะนี้ว่าคอร์พูลโมเนล (Cor pulmonale)
อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก หากปอดอักเสบเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันอย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี มักเป็นตอนเช้า จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ ต่อมาไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวันและมีเสมหะเป็นจำนวนมาก อาจมีสีขาว เหลือง เขียว อาจมีไข้ ไอมีเลือดปน ตามด้วยอาการหอบ ส่วนถุงลมโป่งพองมีอาการหอบเหนื่อยง่าย เวลาทำงานหรือออกแรง อาการจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นแรมปี พอ 5-10 ปีขึ้นไป จะมีอาการเหนื่อยง่ายแม้เวลาพูดหรือเดิน อาจมีอาการไอ มีเสมหะเรื้อรังแบบหอลดลมอักเสบเรื้องรังร่วมด้วย อาจมีไข้ ไอเสมหะมีสีเหลืองเขียวร่วมด้วยเนื่องจากมีการติดเชื้อแทรก หรือหายใจหอบคล้ายโรคหืด ซูบผอม อกมีลักษณะเป็นอกถัง ริมฝีปากเขียว
การวินิจฉัยโรค เคาะปอด ได้เสียงโปร่งจากกอากาศค้างอยู่ในถุงลม ฟังปอดได้ยินเสียงหายใจค่อย พบเสียงกรอบแกรบ (Crepitation) เสียงรอนไค (Rhonchi) และเสียงหวีด (Wheezing) เสียงหายใจเบากว่าปกติ ชัดบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาจพบนิ้วปุ้ม เล็บเขียว ปากเขียว หรือหัวใจล้มเหลว (มีอาการเท้าบวม นอนราบไม่ได้ หลอดเลือดที่คอโป่ง ตับโต)
วิธีรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เป้าหมายในการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคือการบรรเทาอาการของโรค ชะลอความเสื่อมในการทำงานของปอด ลดการกำเริบ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญในการชะลอการดำเนินไปของโรค คือ การเลิกบุหรี่ และการหลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารระคายเคืองปอด
การฟื้นฟูสภาพการทำงานของปอดก็สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ ได้แก่
การพยาบาล ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับออกซิเจน หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น ให้ยาขยายหลอดลม ยาแก้อักเสบ หรือให้ยาตามอาการ การดูแลด้านจิตใจและแนะนำผู้ป่วยให้รู้จักดูแลตนเองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แนะนำผู้ป่วยว่าโรคนี้เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เพียงแต่บรรเทาอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสติดเชื้อเป็นปอดอักเสบได้บ่อย ๆ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- การออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมพิเศษเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่ใช้หายใจ
- การปรับวิธีหายใจ
- การปรึกษาปัญหาทางจิตวิทยา
- การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาบรรเทาอาการ ได้แก่
- ยาขยายหลอดลม เพื่อให้อากาศผ่านทางเดินหายใจได้สะดวกขึ้น
- ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบ
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อทางทางเดินหายใจ
- วัคซีน สำหรับไข้หวัดและโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ Pneumococcus
- การฉีดโปรตีน alpha-1 antitrypsin ในบางกรณีที่ผู้ป่วยขาดโปรตีนดังกล่าว นำไปสู่โรคถุงลมโป่งพอง
การให้ออกซิเจนอาจจำเป็นในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยการบำบัดด้วยออกซิเจน หรือการให้ออกซิเจนผ่านท่อหรือหน้ากากครอบ วิธีต่าง ๆ เหล่านี้สามารถช่วยป้องกันความเสียหายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำให้นอนหลับสบายขึ้น และช่วยลดอาการของโรคอีกด้วย
การผ่าตัดในผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง
การปลูกถ่ายหรือการผ่าตัดปอดเพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานอาจเป็นแนวทางการรักษาแนะนำสำหรับกรณีที่โรครุนแรง
แนวทางการผ่าตัดเบื้องต้นสำหรับรักษาโรคปอดอุดตันเรื้อรัง ได้แก่
1. Lung volume reduction surgery (LVRS)
ผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังไม่สามารถหายใจเอาอากาศออกได้เต็มที่ ทำให้เกิดพื้นที่ปอดที่เรียกกันว่า dead space โดยอาการหายใจลำบากและแน่นหน้าอกที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากแรงที่ผู้ป่วยพยายามไล่อากาศที่ค้างอยู่ภายในปอดนั่นเอง ดังนั้นในการทำ LVRS ที่มีการผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อปอดที่ถูกทำลายออกไป จะทำให้มีปริมาณ dead space ที่น้อยลง เป็นการแก้ปัญหาพื้นที่ปอดมากเกินกว่าที่จะใช้ได้
2. Bullectomy
ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองประเภทจะเกิดถุงลมที่พองตัวขึ้นเป็นฟองอากาศในปอด เรียกว่า bullae จากการถูกทำลายของผนังถุงลม การทำ bullectomy ก็คือการตัดถุงดังกล่าวออก มักจะทำในผู้ที่ประสบปัญหากับอาการที่ตามมา หรือผู้ที่มีบริเวณเนื้อปอดที่เสียไปมาก
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
3. การปลูกถ่ายปอด
การปลูกถ่ายปอดเป็นทาวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรังรุนแรงที่อายุต่ำกว่า 60ปี โดยเกือบ 60% ของผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตข้างเดียว คือผู้ที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองแบบไม่ทราบสาเหตุ หรือจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งจะแสดงอาการได้ตั้งแต่อายุยังน้อยเมื่อเทียบกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประเภทอื่น ๆ ทั้งนี้ อัตราการรอดชีวิตถึง 5 ปีในผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายปอด คือประมาณ 50%
ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังคืออะไร?
ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่อาจเกิดได้เช่นหัวใจวาย กระดูกพรุน และโรคซึมเศร้า
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นโรคทางปอดที่มักทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เช่น ไอ หายใจเสียงวี๊ด และหายใจลำบาก และยังสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกหลายประการเมื่อเวลาผ่านไป
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับภาวะแทรกซ้อนที่หัวใจ
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีปัญหาในการได้รับออกซิเจนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และปัญหาในการขับคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายผลิตออกจากร่างกาย
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ขั้นรุนแรง อาจมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำและระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงได้ ซึ่งการมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำและคาร์บอนไดออกไซด์สูงเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวแบบฉับพลัน ซึ่งอาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ นอกจากนั้นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังทำให้เกิดการอักเสบซึ่งจะทำให้เกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบและแข็งได้เช่นกัน
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำยังส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดภายในปอด (Pulmonary arteries) ทำให้หลอดเลือดตบแคบและมีความดันเพิ่มขึ้น นำไปสู่ภาวะ pulmonary hypertension หรือก็คือความดันโลหิตในปอดสูง และเนื่องจากหัวใจห้องล่างขวาทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปปอดผ่านทางหลอดเลือด pulmonary arteries ดังนั้นการมีความดันโลหิตในหลอดเลือดดังกล่าวสูงจะทำให้หัวใจห้องล่างขวาต้องทำงานมากขึ้น โตขึ้น และไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด ซึ่งเรียกว่า or pulmonale (หัวใจด้านขวาวาย)
งานวิจัยในการประชุมสมาคมนานาชาติโรคทรวงอกแห่งสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 28.7% ที่เกิดภาวะหัวใจวาย ซึ่งในคนที่ไม่ได้เป็นโรคปอดจะพบเพียงแค่ 13% เท่านั้น
ภาวะแทรกซ้อนทางกายอื่น ๆ ของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคหัวใจระดับรุนแรงไม่ใช่ภาวะแทรกซ้อนเพียงอย่างเดียวของโรคนี้ แต่ยังสามารถพบภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น
- เยื่อหุ้มปอดแตก (Pneumothorax)
- มะเร็งปอด
- กรดไหลย้อน
- กระดูกพรุนหรือกระดูกบาง
- ภาวะทุพโภชนาการ
มะเร็งปอดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักเกิดขึ้นควบคู่กัน แต่รายงานในวารสารมะเร็งช่องอก (Journal of Thoracic Oncology) ปี 2013 พบว่าโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง แต่มะเร็งปอดที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นเป็นผลมาจากการสูบบุหรี่
อย่างไรก็ตามมีนักวิจัยหลายคนเขียนจดหมายถึงบรรณาธิการวารสารเพื่อแย้งว่า ในความเป็นจริงแล้วโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ตัวหนึ่งของการเกิดมะเร็งปอด ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกับมะเร็งปอดต่อไป
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลายคนมักได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกรดไหลย้อนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลง การศึกษาขนาดใหญ่ในประเทศเกาหลี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร BMC Pulmonary Medicine ระบุว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างน้อย 28% ที่เป็นกรดไหลย้อน
แต่ยังไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่างโรคทั้งสองได้ และอาจเกี่ยวข้องกับจากปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่มีร่วมกัน นั่นก็คือการสูบบุหรี่
โรคกระดูกพรุนและปอดอุดกั้นเรื้อรังมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคที่เหมือนกันหลายข้อ เช่น อายุ และการสูบบุหรี่ และการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังส่งผลต่อการอักเสบ การทำงานที่ลดลง การขาดวิตามินดีและการใช้สเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการมีมวลกระดูกที่น้อยลงและเป็นโรคกระดูกพรุนได้
งานวิจัยในวารสารอายุรศาสตร์โรคปอด (respiratory medicine) พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 68% มีโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบาง
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักและภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งเกี่ยวข้องการความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นและการใช้ความพยายามมากขึ้นในการหายใจ บทความในวารสาร Parenteral and Enteral Nutrition ปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 11% ที่มีปัญหาทุพโภชนาการ ซึ่งมากกว่าโรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหลงลืม
ภาวะแทรกซ้อนทางจิตจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรค มักมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันเช่นการยกของหนักหรือการเดินขึ้นบันได นอกจากนั้นมีผู้ป่วยเกือบ 30% ที่มีปัญหานอนไม่หลับ จึงทำให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชได้ เช่นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล (Anxiety) โรคตื่นตระหนก (Panic disorder) และโรคกลัวสถานที่ที่สามารถหลบหนีได้ยาก (agoraphobia)
ในความจริงแล้วพบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังประมาณ 40% ที่ได้รับผลกระทบจากโรคซึมเศร้ารุนแรง ตามรายงานใน International Journal of Chronic Obstructive Pulmonary Disease และการศึกษาในวารสาร Respiratory Medicine พบว่าผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 55% ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการป่วยทางจิตเวชร่วมด้วย
การป้องกันโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักเกิดจากการสูบบุหรี่ ดังนั้น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการก่อโรคคือการไม่สูบบุหรี่ หรือการเลิกบุหรี่ในผู้ที่สูบ หากคุณมีปัญหาในการเลิกบุหรี่ หมากฝรั่ง แผ่นแปะนิโคติน หรือการใช้ยาก็เป็นทางเลือกที่สามารถช่วยคุณได้
คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนหรือเข้าคลาสตามโรงพยาบาล สถานที่ทำงาน หรือสมาคมภายในชุมชน เช่นเดียวกับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อน ก็จะช่วยเสริมกำลังใจให้คุณเลิกบุหรี่ได้ดีขึ้น นอกจากการสูบบุหรี่แล้ว การได้รับสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของปอดปริมาณมากและเป็นเวลานาน เช่น มลพิษทางอากาศ ฝุ่น หรือควันสารเคมีในสถานที่ทำงาน ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค COPD ได้เช่นกัน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระคายเคืองเหล่านี้อาจหลีกเลี่ยงด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- ถ้าคุณจุดเตาเผาถ่านหรือเตาผิง ควรมีการระบายอากาศที่ดี
- ไม่ควรออกไปข้างนอกหากอากาศมีมลพิษมาก เช่น มีควันหมอก หรือไฟป่าในบริเวณใกล้เคียง
- หากสภาพแวดล้อมในที่ทำงานของคุณต้องเจอกับควันสารเคมีหรือฝุ่น ควรปรึกษาหัวหน้างานถึงอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ หรือมาตรการป้องกันอื่นๆ
การทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยระบบ GOLD
การทำนายสุขภาพในระยะยาวและอายุขัยของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเรื้อรังสามารถประเมินได้จาก 2 การทดสอบที่ซับซ้อนในการวินิจฉัยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การประเมินความรุนแรงของโรคมักใช้ระบบ GOLD (Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease)
ระบบ GOLD เป็นการประเมินจากหลายปัจจัยได้แก่ ค่า FEV1 (ปริมาตรอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรงใน 1วินาที), ความถี่ในการกำเริบของโรค, การรักษาพยาบาล และความรุนแรงของอาการหายใจหอบเหนื่อยตามกิจกรรมที่ทำ
ระบบดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยประเมินความรุนแรงของโรคปอดอุดตันเรื้อรังและคาดเดาสาเหตุที่ทำให้อาการแย่ลง เพื่อช่วยกำหนดการแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดต่อไป ไม่ใช่เพื่อบอกว่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่
ระบบ GOLD แบ่งการทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ดังนี้
- กลุ่ม A คือ ผู้ที่แสดงอาการของกลุ่มอาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเล็กน้อย และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดกรกำเริบหรืออาการทรุดลง
- กลุ่ม B คือ ผู้ที่แสดงอาการมากขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงน้อย
- กลุ่ม C คือ ผู้ที่แสดงอาการบางอย่าง และมีความเสี่ยงสูง
- กลุ่ม D คือ ผู้ที่แสดงอาการมากขึ้น และมีความเสี่ยงสูง
การทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วยดัชนี BODE
ในปี 2004 นักวิจัยคิดค้นเครื่องมือใช้ทำนายโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เรียกว่า ดัชนี BODE (Body mass index, Obstruction, Dyspnea, and Exercise) ตามรายงานในวารสาร New England Journal of Medecine
ดัชนี BODE ช่วยประเมินอัตราการตายของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และประเมินว่าผู้ป่วยจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกนานเท่าไหร่หลังถูกวินิฉัยว่าเป็นโรคดังกล่าว
การประเมินความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตภายในระยะเวลา 52 เดือประกอบด้วย 4 ปัจจัย ดังนี้
- ค่าดัชนีมวลกาย (body mass index)
- ระดับความรุนแรงของการอุดตันของทางเดินหายใจ จากค่า FEV1
- อาการหายใจหอบเหนื่อย
- ความสามารถในการออกกำลังกาย จากแบบทดสอบวัดระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที
อ้างอิงจากวารสาร Respiratory Medicine ปี 2009 พบว่าค่าดัชนี BODE ยังใช้ประเมินจำนวนและความรุนแรงของการกำเริบของโรคปอดอุดตันเรื้อรังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ผู้หญิงสูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคอะไรได้มากที่สุด