กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์

ในบางครั้งมารดาหรือทารกในครรภ์อาจประสบกับปัญหาสุขภาพระหว่างการตั้งครรภ์ วิธีที่ดีในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ก็คือ การได้รับการดูแลก่อนคลอดอย่างเหมาะสม การเข้ารับการตรวจต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อป้องกัน ค้นหาปัญหา และควบคุมภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

โลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อคุณกำลังตั้งครรภ์ อาจพบว่าคุณเป็นโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ร่วมด้วย ซึ่งหมายถึงร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายและตัวทารก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะผลิตเลือดมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ แต่ถ้าคุณได้รับธาตุเหล็กหรือสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารผลิตเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

มันเป็นเรื่องปกติที่หญิงตั้งครรภ์จะพบภาวะโลหิตจางในระดับรุนแรงน้อย แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งโลหิตจางอาจเป็นในระดับรุนแรงมาก อันเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก หรือวิตามิน หรือจากสาเหตุอื่นๆ

โลหิตจางจะทำให้คุณมีอาการอ่อนเพลีย อ่อนแรง หากโลหิตจางมีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น การคลอดก่อนกำหนด

ข้อมูลต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการ และการรักษาโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์

ชนิดของโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์

มีโลหิตจางหลายชนิดที่สามารถเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ ได้แก่

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia)

โลหิตจางประเภทนี้เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในผู้ที่เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เลือดจะไม่สามารถขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายได้อย่างเพียงพอ

โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือโลหิตจางระหว่างการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อยที่สุด

โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (Folate-deficiency anemia)

โฟเลตเป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่พบได้ในธรรมชาติจากอาหารบางชนิด เช่น ผักใบเขียว ซึ่งจัดเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่ง ร่างกายต้องการโฟเลตเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย ซึ่งรวมถึงการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงด้วย

ระหว่างการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะต้องการปริมาณโฟเลตมากกว่าปกติ แต่บางครั้งผู้หญิงก็ได้รับโฟเลตจากอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติได้เพียงพอสำหรับการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย

สำหรับโฟเลตที่มนุษย์ผลิตขึ้นเพื่อใช้รับประทานจะอยู่ในรูปของ กรดโฟลิก (folic acid)

การขาดโฟเลตสามารถส่งผลให้เกิดความผิดปกติในทารกได้ เช่น หลอดประสาทไม่ปิด หรือ spina bifida และน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12

ร่างกายของเราจำเป็นต้องใช้วิตามินบี 12 ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดี ขณะกำลังตั้งครรภ์ หากได้รับวิตามินบี 12 จากอาหารไม่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้เพียงพอกับความต้องการ ผู้หญิงที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์จากนม และไข่ จะมีความเสี่ยงสูงต่อการขาดวิตามินบี 12 ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้ เช่น ความผิดปกติของหลอดประสาท และทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้

การสูญเสียเลือดขณะคลอดและหลังคลอดบุตรสามารถเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลหิตจางได้

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ทุกรายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโลหิตจาง เป็นเพราะว่าหญิงตั้งครรภ์ต้องการปริมาณของธาตุเหล็กและกรดโฟลิกที่มากกว่าปกติ แต่ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้น ถ้าคุณมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้:

  • ตั้งครรภ์แฝด (ตั้งครรภ์ทารกมากกว่า 1 คน)
  • ตั้งครรภ์ 2 ครรภ์ติดกันเกินไป (คลอดแล้ว และตั้งครรภ์อีกครั้งติดกันเกินไป)
  • อาเจียนมากจากอาการแพ้ท้อง (morning sickness)
  • เป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น (อายุน้อย)
  • ไม่รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างเพียงพอ
  • เป็นโลหิตจางตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์

อาการของโลหิตจางขณะตั้งครรภ์

อาการของโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ที่พบบ่อย มีดังนี้:

ในระยะแรกของโลหิตจาง คุณอาจไม่มีอาการที่สังเกตเห็นได้เด่นชัด และอาการหลายอาการอาจเป็นอาการที่พบได้ขณะตั้งครรภ์แม้ว่าคุณจะไม่ได้เป็นโลหิตจางก็ตาม ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจ จึงแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจเลือดเป็นประจำตามแพทย์นัดระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อตรวจว่าคุณมีภาวะโลหิตจางระหว่างการตั้งครรภ์หรือไม่

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเป็นโลหิตจางขณะตั้งครรภ์

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างรุนแรงระหว่างตั้งครรภ์ หรือไม่ได้รับการรักษา จะเพิ่มความเสี่ยงดังนี้:

  • คลอดก่อนกำหนด หรือ น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ
  • ต้องได้รับการให้เลือด (ถ้าคุณสูญเสียเลือดปริมาณมากระหว่างการคลอด)
  • เป็นภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression)
  • ให้กำเนิดทารกที่เป็นโลหิตจาง
  • พัฒนาการของทารกช้ากว่าที่ควรจะเป็น

โลหิตจางจากการขาดโฟเลตที่ไม่ได้รับการรักษา จะเพิ่มความเสี่ยงดังนี้:

  • คลอดก่อนกำหนด หรือ น้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำ
  • ทารกพิการร้ายแรงแต่กำเนิด คือมีความพิการที่กระดูกสันหลังและสมอง (หลอดประสาทไม่ปิด หรือ neural tube defects)

โลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ที่ไม่ได้รับการรักษา จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการให้กำเนิดทารกมีความผิดปกติของหลอดประสาท

การตรวจภาวะโลหิตจาง

ในการพบแพทย์ครั้งแรกระหว่างตั้งครรภ์ คุณจะได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจาง โดยจะทำการตรวจดังนี้:

  • ตรวจฮีโมโกลบิน (hemoglobin test): เป็นการตรวจวัดปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด ซึ่งเป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่ในการขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
  • ตรวจฮีมาโตคริต (hematocrit test): เป็นการตรวจวัดปริมาณ % ของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อยู่ในเลือดที่เจาะออกมาตรวจ

หากผลการตรวจพบว่าระดับของฮีโมโกลบิน หรือ ฮีมาโตคริต ต่ำกว่าปกติ หมายความว่า คุณอาจเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งแพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าคุณเป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจริงหรือไม่ หรือเป็นโลหิตจางจากสาเหตุอื่นๆ

แม้ว่าในตอนต้นของการตั้งครรภ์คุณจะไม่เป็นโลหิตจาง แต่ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้คุณตรวจเลือดซ้ำในไตรมาสที่ 2 และ 3 เพื่อดูว่าคุณเป็นโลหิตจางระหว่างนี้หรือไม่

การรักษาโลหิตจาง

หากพบว่าคุณเป็นโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ คุณอาจจำเป็นต้องรับประทานธาตุเหล็กเสริม และ/หรือ กรดโฟลิกเสริม เพิ่มเติมไปจากวิตามินบำรุงครรภ์ที่รับประทานอยู่ โดยแพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็กและกรดโฟลิกเพิ่มกว่าปกติ

เมื่อทำการรักษาโลหิตจางไปได้ระยะเวลาหนึ่ง แพทย์จะให้คุณกลับมาตรวจเลือดซ้ำเพื่อดูว่าระดับฮีโมโกลบินและฮีมาโตคริตดีขึ้นหรือไม่

ในการรักษาโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานวิตามินบี 12 เสริม

แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานอาหารจากสัตว์มากขึ้น เช่น

  • เนื้อสัตว์
  • ไข่
  • ผลิตภัณฑ์จากนม

ในบางกรณี สูติแพทย์ที่ดูแลคุณอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา (hematologist) ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคโลหิตจางและโรคเลือดอื่นๆ โดยแพทย์โลหิตวิทยานี้จะช่วยสูติแพทย์ในการดูแลและจัดการภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ได้

การป้องกันไม่ให้เห็นโลหิตจาง

ในการป้องกันไม่ให้เป็นโลหิตจางขณะตั้งครรภ์คือต้องแน่ใจว่าได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ โดยรับประทานอาหารให้หลากหลาย และเพิ่มการรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็ก

โดยแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงอย่างน้อย 3 หน่วยต่อวัน เช่น:

  • เนื้อสัตว์แดงไม่ติดมัน, สัตว์ปีก และปลา
  • ผักใบเขียวเข้ม
  • ซีเรียลหรือธัญพืชเสริมธาตุเหล็ก
  • ถั่ว และเต้าหู้
  • ไข่

อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น เช่น :

แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงไปพร้อมกับอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก ตัวอย่างเช่น คุณสามารถดื่มน้ำส้มร่วมกับอาหารเช้าซีเรียลเสริมธาตุเหล็ก เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณยังต้องรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงเพื่อป้องกันการขาดโฟเลตด้วย อาหารที่มีโฟเลตสูง ได้แก่

  • ผักใบเขียว
  • ถั่วแห้ง
  • ส้ม และน้ำส้ม
  • ขนมปังและซีเรียลที่เสริมกรดโฟลิก

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในการรับประทานวิตามินบำรุงขณะตั้งครรภ์ที่ประกอบไปด้วยธาตุเหล็กและกรดโฟลิกที่เพียงพอ

ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือรับประทานอาหารเจ ควรพูดคุยกับแพทย์ว่าคุณจำเป็นต้องรับประทานวิตามินบี 12 เสริมขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตรหรือไม่

 https://www.webmd.com/baby/guide/anemia-in-pregnancy#1


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnancy-related Complications. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/surgery/challenges/esc_pregnancy_more/en/)
Pregnancy Complications. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/maternalinfanthealth/pregnancy-complications.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม