สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคสมองเสื่อม คือ มีการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีการเสื่อมของเซลล์สมอง และมีการตายของเซลล์สมองที่ไวกว่าการแก่ตามธรรมชาติของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม เช่น เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตัน เกิดจากโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากก้อนโปรตีนลิววี่ บอดี้ ในสมอง เป็นต้น

ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงและความเสียหายในสมองที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบมากที่สุดคือ โรคที่มีการเสื่อมของเซลล์สมอง และมีการตายของเซลล์สมองที่ไวกว่าการแก่ตามธรรมชาติของร่างกาย โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมักเกิดขึ้นเนื่องจากมีการสร้างโปรตีนที่ผิดปกติในสมอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้ความสามารถทางสมองของผู้ป่วยลดลง และในบางครั้งอาจส่งผลต่อความสามารถทางร่างกายของผู้ป่วยด้วย

ความผิดปกติของโปรตีนที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของโรคสมองเสื่อมที่ผู้ป่วยเป็น ส่วนใหญ่แล้วโรคสมองเสื่อมจะไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากบุคคลในครอบครัวเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) ในบางครั้งอาจพบว่ามีการถ่ายทอดในครอบครัวเดียวกัน

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (vascular dementia)

โรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตันมีสาเหตุมาจากสมองขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดในสมองอุดตัน

สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายที่จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม ถ้าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกจำกัดหรือขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดอุดตัน จะทำให้เซลล์สมองตายและทำให้เกิดความเสียหายกับสมอง

ถ้าเส้นเลือดในสมองแคบลงและแข็งขึ้น จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองค่อยๆ ลดปริมาณลง เส้นเลือดในสมองจะแคบลงและแข็งตัวมากขึ้นอันเนื่องมาจากการสะสมของไขมันที่ผนังของเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแคบลงและเลือดไหลเวียนได้จำกัด โดยภาษาทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โดยจะพบมากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ที่สูบบุหรี่

หลอดเลือดแดงแข็งที่พบในเส้นเลือดขนาดเล็กในสมองจะทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด และทำให้สมองขาดเลือด ซึ่งเรียกว่าโรคของเส้นเลือดขนาดเล็ก (small vessel disease)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าเลือดที่ไหลเวียนในสมองถูกขัดขวางอย่างรวดเร็วระหว่างการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) กรณีนี้จะเกิดความเสียหายขึ้นที่เซลล์สมอง

ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) จะต้องมีการพัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน อย่างไรก็ตามหากคุณเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคของเส้นเลือดขนาดเล็ก (small vessel disease) คุณอาจมีความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดที่พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีการสูญเสียเซลล์สมองไป ทำให้สมองมีขนาดเล็กลง

ส่วนหนึ่งของสมองที่เรียกว่า เปลือกสมอง (cerebral cortex) เป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการหดตัวของเนื้อสมอง เปลือกสมองด้านนอกนี้เป็นชั้นของเนื้อสีเทาที่ปกคลุมสมองอยู่ เนื้อสีเทานี้มีหน้าที่ในการประมวลผลความคิดและการทำงานที่ซับซ้อนมากมายของสมอง เช่น การจัดเก็บและการเรียกคืนความทรงจำ การคำนวณ การสะกดคำ การวางแผน และการจัดระเบียบต่างๆ

จะพบกลุ่มของโปรตีนที่เรียกว่า พล้าก (plaques) และ แทงเกิล (tangles) ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ กลุ่มของโปรตีน plaques และ tangles นี้จะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียเซลล์สมอง การทำงานประสานกันของเซลล์สมองจะสูญเสียไป และจะมีการลดลงของสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง

โปรตีน plaques และ โปรตีน tangles นี้จะส่งผลกระทบต่อสารเคมีที่ทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ (dementia with lewy bodies)

ลิววี่ บอดี้ (lewy bodies) เป็นก้อนโปรตีนขนาดเล็กทรงกลมที่สะสมอยู่ภายในเซลล์สมอง ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดการสะสมของก้อนโปรตีนชนิดนี้ และยังไม่ทราบว่าเพราะอะไรก้อนโปรตีนนี้จึงสร้างความเสียหายต่อสมองและทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

มีความเป็นไปได้ที่ก้อนโปรตีนลิววี่ บอดี้นี้จะรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง 2 ชนิดคือ สารสื่อประสาทโดปามีน (dopamine) และสารสื่อประสาทอะเซติลโคลีน (acetylcholine) โดยสารสื่อประสาททั้งสองชนิดนี้มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นๆ เราเรียกสารสื่อประสาทในภาษาอังกฤษว่า neurotransmitters

ทั้งสารโดปามีนและอะเซติลโคลีน มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการควบคุมหน้าที่การทำงานของสมอง เช่น ความจำ การเรียนรู้ อารมณ์ และความตั้งใจ ความใส่ใจ

โรคสมองเสื่อมจากโปรตีนลิววี่ บอดี้ นี้ มีความสัมพันธ์กับโรคพาร์กินสัน (parkinson’s disease) เป็นอย่างมาก โดยโรคนี้คือภาวะที่ส่วนต่างๆ ของสมองจะมีความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ทำให้เกิดอาการทางกายเกิดขึ้น เช่น มีอาการสั่นโดยไม่ได้ตั้งใจ (tremor) กล้ามเนื้อแข็ง และเคลื่อนไหวช้า ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ อาจมีอาการของโรคพาร์กินสันเกิดขึ้นด้วย

สาเหตุของโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia)

โรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม คือโรคที่มีความเสียหายและมีการหดตัวของสมอง 2 บริเวณ บริเวณของสมองบริเวณแรกที่ได้รับผลกระทบเรียกว่า สมองส่วนขมับ (temporal lobe) และอีกบริเวณเรียกว่า สมองส่วนหน้า (frontal lobe) โรคสมองเสื่อมชนิดนี้เป็นหนึ่งในชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี

ประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อมนี้ จะมียีนผิดปกติกลายพันธุ์ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ของเขา

โรคการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurone disease) บางครั้งมีความสัมพันธ์กับโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม โรคนี้เป็นโรคที่พบได้น้อย ผู้ป่วยจะมีการทำลายของระบบประสาทเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อลีบ

สาเหตุอื่นๆ ของโรคสมองเสื่อมที่พบได้น้อย

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม หรือภาวะที่คล้ายกับโรคสมองเสื่อม อาจสามารถรักษาได้ หรือเป็นโรคที่ไม่มีการดำเนินโรคที่แย่ลง (หมายความว่าผู้ป่วยจะไม่มีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป) โดยสาเหตุอื่นๆ ได้แก่:

โรคสมองเสื่อมสามารถป้องกันได้หรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่จะป้องกันไม่เกิดโรคสมองเสื่อมทุกชนิด

อย่างไรก็ตามวิถีการดำเนินชีวิตที่มีสุขภาพดีสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมเมื่อคุณอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถป้องันโรคหัวใจหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้

ในการลดความเสี่ยงของการเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคร้ายแรงทางสุขภาพอื่นๆ คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:

  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • หากคุณสูบบุหรี่ ให้หยุดสูบบุหรี่
  • รักษาระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

อาหารกับโรคสมองเสื่อม

อาหารไขมันต่ำ ใยอาหารสูง รวมไปถึงผักและผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้

การจำกัดปริมาณเกลือในอาหารที่รับประทานไม่ให้เกิน 6 กรัมต่อวันจะช่วยได้ การรับประทานเกลือมากเกินไปจะส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมบางชนิดได้

ระดับคอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมบางชนิด ดังนั้นแนะนำให้ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง

น้ำหนักตัวส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างไร?

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสามารถทำให้ความดันโลหิตสูง ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมบางชนิด ความเสี่ยงจะยิ่งเพิ่มขึ้นหากคุณมีภาวะอ้วน วิธีการที่แนะนำสำหรับการประเมินน้ำหนักตัวคือการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (body mass index (BMI))

เมื่อคุณคำนวณค่าดัชนีมวลกายแล้วพบว่า ค่าดัชนีมวลกายอยู่ระหว่าง 23.0-24.9 หมายความว่าคุณมีน้ำหนักเกิน และถ้าค่าดัชนีมวลกายมีค่าตั้งแต่ 25.0 ขึ้นไป แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วน และถ้ามีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 ขึ้นไป แสดงว่าคุณเป็นโรคอ้วนอันตราย

การออกกำลังกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม

การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดและควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับของการมีสุขภาพดี และช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมบางชนิดอีกด้วย

สำหรับคนโดยส่วนใหญ่แล้ว แนะนำให้ออกกำลังกายแอโรบิกความหนักปานกลางอย่างน้อย 150 นาที (2 ชั่วโมง 30 นาที) ต่อสัปดาห์  เช่น การปั่นจักรยาน หรือ การเดินเร็ว

แอลกอฮอล์กับโรคสมองเสื่อม

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดด้วย

แนะนำให้จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดความเสี่ยงของการมีความดันโลหิตสูง,โรคหัวใจหลอดเลือด และโรคสมองเสื่อม

สำหรับขีดจำกัดของปริมาณแอลกอฮอล์ที่แนะนำให้ดื่มต่อวันคือ 3-4 หน่วยแอลกอฮอล์ (สำหรับผู้ชาย) และ 2-3 หน่วยแอลกอฮอล์ (สำหรับผู้หญิง) โดย 1 หน่วยแอลกอฮอล์เทียบเท่ากับ ครึ่งไพน์ของเบียร์ความแรงปกติ, หรือแก้วเล็กๆ ของไวน์

การหยุดสูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อม

การสูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดแดงหดตัว ทำให้ความดันโลหิตสูง และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจหลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคสมองเสื่อม

คุณสามารถโทรปรึกษาสายด่วนเลิกบุหรี่ได้ที่ โทร. 1600 ได้ทุกวัน วันจันทร์-ศุกร์ (7.30-20.00 น.) และวันเสาร์-อาทิตย์ (9.00-17.00 น.)

แพทย์หรือเภสัชกรสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือคุณในการเลิกบุหรี่ได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia/about-dementia


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Dementia - Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatments - alz.org (https://www.alz.org/alzheimers-dementia/what-is-dementia)
Dementia: Stages, Causes, Symptoms, and Treatments (https://www.webmd.com/alzheimers/types-dementia#1)
Causes of dementia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/dementia/causes/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป