ภาวะสมองเสื่อม คือ อะไร?
ภาวะสมองเสื่อมเป็นความถดถอยในการทำงานของสมองซึ่งเกิดจากการสูญเสียเซลล์สมอง โดยเริ่มจากส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วลุกลามไปยังสมองส่วนอื่น ๆ โดยความเสื่อมจะดำเนินอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งอาจใช้เวลานานนับ 10 ปี ความผิดปกติจึงจะปรากฏชัดเจน
สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
ได้แก่ เรื่องของอายุและพันธุกรรม มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และมีอัตราการป่วยสูงขึ้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น พบว่าในผู้ที่อายุ 90 ปีขึ้นไปจะพบอัตราการเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 50
ศูนย์ดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วย-ผู้สูงอายุวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมแบ่งได้เป็นสองประเภท ได้แก่
1. โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้
ส่วนมากมักมาจากโรคทางกาย เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งมีสาเหตุจากความดันไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย
2. โรคสมองเสื่อมที่รักษาไม่หายขาด
ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดพยาธิสภาพบางประการในสมอง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการก่อตัวอย่างผิดปกติของโปรตีนอะไมลอยด์ในเนื้อสมอง การรักษาอาจต้องใช้ยาช่วย แต่ยาไม่ได้ทำให้โรคหายขาดเพียงแต่ช่วยประคับประคองและยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับผลกระทบจากภาวะสมองเสื่อมน้อยลง
ภาวะสมองเสื่อมนอกจากเป็นปัญหากับผู้ป่วยโดยตรงแล้วยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อครอบครัว
คนรอบข้างและสังคม ผู้ดูแลจึงควรตระหนักในเรื่องดังต่อไปนี้
1. ต้องทำความเข้าใจและยอมรับกับภาวะสมองเสื่อมของผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาเรื่องความจำ และการใช้ความคิดด้านต่าง ๆ ตลอดจนการสูญเสียความสามารถในการแก้ไขปัญหาหรือการควบคุมตนเองของ จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ-พฤติกรรม จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าอาการเหล่านั้นเกิดขึ้นสืบเนื่องจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นไม่ใช่ผู้ป่วยแกล้งทำ
2. ให้ความรัก ดูแลด้วยความรักและความเข้าใจ
ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ป่วยได้โดยการให้กำลังใจ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกสุขอนามัย การอาบน้ำ สวมใส่เสื้อผ้า รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยเมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้านเพื่อไม่ให้เกิดการพลัดหลงกัน
3. รู้ขีดจำกัดของตนเอง
นอกจากการดูแลผู้ป่วยแล้วตัวผู้ดูแลเองก็ควรจะดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย ควรรู้ขีดความอดทน สภาพทางอารมณ์ของตัวเอง เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมตลอดเวลาอาจก่อให้เกิดความเครียดหรือปัญหาทางด้านอารมณ์ บางครั้งผู้ดูแลอาจรู้สึกผิด ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตนเองทำว่าถูกต้องหรือไม่ หากรู้สึกเหนื่อยก็ควรหยุดพักให้ผู้อื่นมาดูแลแทน เมื่อสภาพร่างกายและจิตใจพร้อมแล้วก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลใหม่