การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

มีการตรวจและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมหลายอย่าง ในการทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม ส่วนใหญ่จะเป็นการทดสอบความสามารถทางสมอง (mental abilities) ของผู้ป่วย การตรวจเลือด และการสแกนสมอง

การทดสอบความสามารถทางสมองเพื่อวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคสมองเสื่อมมักถูกให้ทำแบบสอบถามเพื่อช่วยทดสอบความสามารถทางสมองของผู้ป่วย เพื่อดูความรุนแรงของปัญหาด้านความจำที่ผู้ป่วยอาจมี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แบบทดสอบที่นิยมใช้มากที่สุดคือ แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ (mini mental state examination (MMSE)

การตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อจะทำการประเมินความสามารถทางสมอง (สุขภาวะทางจิต) หลายประการ ได้แก่:

  • ความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว
  • ช่วงความสนใจ
  • ความมีสมาธิ
  • ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร
  • ความสามารถในการวางแผน
  • ความสามารถในการเข้าใจคำสั่ง

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อประกอบด้วยแบบทดสอบหลายชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดจะประกอบด้วยคะแนนเต็ม 30 คะแนน ได้แก่:

  • ให้จำรายการสิ่งของสั้นๆ และการทวนรายการสิ่งของนั้น
  • ให้เขียนประโยคสั้นๆ ให้ถูกตามหลักไวยากรณ์ เช่น สุนัขนั่งอยู่บนพื้นห้อง
  • ตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับเวลาให้ถูกต้อง เช่น การระบุวันในสัปดาห์ หรือวันที่ หรือ ปี

แบบการตรวจสุขภาวะทางจิตแบบย่อ ไม่ใช่การทดสอบเดียวเพื่อวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้มีประโยชน์ในการประเมินระดับของความบกพร่องทางสมองที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจเป็น

คะแนนการทดสอบอาจมีความแปรปรวนขึ้นกับระดับการศึกษาของผู้ทำการทดสอบ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ไม่สามารถอ่านหรือเขียนหนังสือได้ในระดับดี อาจมีคะแนนการทดสอบต่ำ ทั้งที่อาจจะไม่ได้เป็นโรคสมองเสื่อมก็ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงอาจทดสอบได้คะแนนสูง ทั้งที่ความจริงแล้วป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม

การตรวจเลือดสำหรับวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อมอาจได้รับการตรวจเลือดเพื่อตรวจเช็คสุขภาพโดยรวม การตรวจเลือดจะช่วยแยกโรคอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการที่ผู้ป่วยเป็น เช่น การตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน และการตรวจระดับวิตามินบี 12

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การสแกนสมอง

การสแกนสมองมักถูกใช้ในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเมื่อได้ทำการทดสอบอย่างง่ายเพื่อแยกโรคอื่นๆ ออกแล้ว การสแกนสมองมีความจำเป็นเพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยมีปัญหาอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการที่ผู้ป่วยเป็นหรือไม่ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกสมอง เป็นต้น

การทำซีที สแกน หรือการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerised tomography (CT) scan) จะถูกใช้เพื่อตรวจหาสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง หรือเนื้องอกในสมอง อย่างไรก็ตามการตรวจนี้ไม่เหมือนกับการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพราะการทำซีที สแกน ไม่สามารถบอกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างของสมองได้  ดังนั้นจึงมีคำแนะนำให้ทำการตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) จะให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นเลือดที่ได้รับความเสียหายในโรคสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (vascular dementia) รวมถึงบริเวณที่มีการหดตัวของสมอง

ในโรคสมองส่วนหน้าและส่วนขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) สมองส่วนหน้าและสมองส่วนขมับเป็นบริเวณหลักที่มีการหดตัวของสมองเกิดขึ้น

การสแกนอื่นๆ และวิธีการอื่นในการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

มีเทคนิคการสแกนอื่นๆ เช่น single photon-emission computed tomography (SPECT) scan หรือ positron emission tomography (PET) scan ที่อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม หากผลการตรวจด้วยซีที สแกน หรือ การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ยังให้ผลไม่ชัดเจน การสแกนนี้เพื่อดูการทำงานของสมองและสามารถตรวจพบความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดในสมองได้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/dementia#dementia-symptoms-and-diagnosis


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Diagnosis of Dementia. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/how-is-dementia-diagnosed-4121157)
Early Diagnosis of Dementia. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2001/0215/p703.html)
Early diagnosis of dementia. Dementia Australia National. (https://www.dementia.org.au/information/diagnosing-dementia/early-diagnosis-of-dementia)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป