หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่ากำลังเป็นโรคสมองเสื่อม แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ก็ไม่ควรหยุดทำสิ่งที่เคยทำ สิ่งที่ชอบ และที่สำคัญคุณควรพยายามใช้ชีวิตให้เป็นอิสระโดยพึ่งพาคนอื่นน้อยที่สุด มีคำแนะนำในการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวนมากซึ่งสามารถศึกษาได้จากรายละเอียดด้านล่างนี้
โรคสมองเสื่อมอาจส่งผลกระทบต่อทุกด้านของชีวิต รวมไปถึงครอบครัวของผู้ป่วย หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม หรือคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โปรดจำไว้ว่ามีคำแนะนำและการสนับสนุนที่พร้อมจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ดีได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แม้ว่าคุณจะสงสัยมาสักระยะหนึ่งแล้วว่าคุณหรือคนที่คุณรักอาจเป็นโรคสมองเสื่อม การได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อาจทำให้รู้สึกตกใจมากได้ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมไม่ควรหยุดทำสิ่งที่ชอบ แต่ควรพยายามใช้ชีวิตอย่างอิสระโดยไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้สนุกกับการทำกิจกรรมตามปกติ
อาการของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักจะค่อยๆ แย่ลง อาการจะแย่ลงเร็วหรือไม่ขึ้นกับสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยและขึ้นกับชนิดของโรคสมองเสื่อมที่ผู้ป่วยเป็นด้วย
เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะต้องการความช่วยเหลือขณะอยู่ที่บ้าน และอาจจำเป็นต้องได้รับการดูแลในบ้านพักคนชราในที่สุด เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอนาคตในภายภาคหน้า แต่อย่าลืมว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเอง หรือคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอยู่ก็ตาม
การดูแลสุขภาพตนเองหากคุณเป็นโรคสมองเสื่อม
การมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกๆ คน รวมถึงผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองเสื่อมด้วย การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และการออกกำลังกายคือสิ่งสำคัญสำหรับทุกๆ คน
อาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยประสบปัญหาในการสื่อสารเพื่อบอกความต้องการรับประทานอาหาร ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักลดและมีปัญหาโภชนาการไม่ดี
ยังคงเข้าสังคมอยู่เสมอแม้ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจรู้สึกว่าตนเองโดดเดียวได้ง่าย ดังนั้นแนะนำให้เข้าสังคมและติดต่อกับผู้อื่นเสมอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยกระฉับกระเฉงและได้รับการกระตุ้นอยู่เสมอ บางคนอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงโรคสมองเสื่อมของตนเองหรือของคนในครอบครัว หรืออาจต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่รู้จะต้องทำอย่างไร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวรู้สึกยากที่จะเริ่มพูดกับคุณ แนะนำให้คุณเป็นคนเริ่มต้นและให้บอกว่าคุณยังต้องการพบพวกเขาและบอกพวกเขาว่าพวกเขาสามารถช่วยเหลือคุณได้อย่างไร
คุณอาจต้องเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและครอบครัวของผู้ป่วยเหล่านี้ การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับคุณ คุณสามารถแชร์ประสบการณ์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับเคล็ดลับที่เป็นประโยชน์จากผู้อื่นที่กำลังประสบปัญหาหรือเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
เคล็ดลับในทางปฏิบัติที่จะช่วยเหลือคุณ หากคุณเป็นโรคสมองเสื่อม ได้แก่:
- เขียนบันทึกไดอารี่ประจำวันและเขียนสิ่งที่คุณต้องการจดจำไว้
- ติดตารางเวลาประจำสัปดาห์ไว้ที่ผนัง
- วางกุญแจไว้ที่บริเวณที่เห็นได้เด่นชัด เช่น ในโถขนาดใหญ่ที่อยู่ในห้องโถง
- บอกรับหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อเตือนว่าวันนี้คือวันอะไร วันที่เท่าไร
- ติดฉลากบนตู้หรือลิ้นชัก
- วางหมายเลขโทรศัพท์ที่เป็นประโยชน์ไว้ข้างๆ โทรศัพท์
- เขียนเตือนความจำตัวเอง เช่น เขียนโน้ตติดที่ประตูหน้าว่าอย่าลืมหยิบกุญแจ
- บันทึกชื่อและเบอร์โทรศัพท์ไว้ในโทรศัพท์ของคุณ
- ติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น เครื่องตรวจจับควัน
- ตั้งจ่ายค่าบริการต่างๆ อัตโนมัติผ่านบัญชีธนาคาร ดังนั้นคุณจะไม่ลืมจ่ายบิลค่าบริการต่างๆ อีกต่อไป
- ใช้ตลับจัดแบ่งเม็ดยา ซึ่งจะช่วยให้คุณจำได้ว่ายาใดควรใช้เมื่อใด
วิธีการต่อสู้กับปัญหาการนอนหลับในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักจะมีปัญหานอนไม่หลับ โดยอาจตื่นขึ้นกลางดึกหรือมีอาการกระสับกระส่าย อาการเหล่านี้จะแย่ลงเมื่อโรคมีการดำเนินไปมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจมีโรคที่มีอาการปวดด้วย เช่น ปวดข้อ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีปัญหานอนไม่หลับด้วย
ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนระหว่างวัน และรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืน สามารใช้ยานอนหลับอย่างระมัดระวังในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้ ดังนั้นแนะนำให้วัดคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยคือวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงจะต้องไม่มีอาการงีบหลับระหว่างวัน เข้านอนเป็นเวลา และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในเวลากลางคืน
อารมณ์และโรคสมองเสื่อม
ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ รู้สึกเศร้าหรือโกรธหรือกลัวและผิดหวังเมื่อโรคเป็นมากขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ถ้าคุณหรือสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อม คุณอาจรู้สึกยากที่จะคิดบวก แต่อย่าลืมว่าคุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวและยังมีการสนับสนุนช่วยเหลือต่างๆ คอยช่วยเหลือคุณอยู่ แนะนำให้คุณพูดกับใครซักคนเกี่ยวกับความกังวลของตัวคุณเอง ซึ่งอาจเป็นบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อน หรือกลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม หรือแม้แต่แพทย์ที่ดูแลคุณ ซึ่งจะแนะนำหรือส่งต่อคุณไปยังผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษากับคุณได้
หากคุณรู้สึกว่าจะต้องเผชิญกับความเครียด ความวิตกกังวล คุณอาจต้องขอรับความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง ถ้าคุณรู้สึกว่าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่กำลังดูแลมีอาการของภาวะซึมเศร้า ขอแนะนำให้แจ้งให้แพทย์ทราบหรือพาไปพบแพทย์
ใช้ชีวิตกระฉับกระเฉงอยู่เสมอแม้ว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อมก็ตาม
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมควรมีความสุขกับการทำงานอดิเรกและสิ่งที่ชื่นชอบต่อไป โดยให้ทำต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะกิจกรรมเหล่านี้อาจทำให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมตื่นตัวและได้รับการกระตุ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยยังรักษาสิ่งที่ชื่นชอบในชีวิตไว้ได้
อย่าขัดขวางการทำกิจกรรมเพียงเพราะคุณหรือบุคคลในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อม กิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออาการป่วยแย่ลง แต่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสามารถมีความสุขและควรที่จะสนุกกับกิจกรรมต่างๆ ในเวลาว่างของพวกเขา
ยังคงใช้ชีวิตอย่างอิสระปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่นเท่าที่จะเป็นไปได้
การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจะส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก คุณและคนในครอบครัวของคุณอาจกังวลว่าคุณจะดูแลตัวเองได้อีกนานแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณต้องอยู่คนเดียว ผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมสามารถมีชีวิตอิสระปราศจากการช่วยเหลือจากผู้อื่นต่อไปได้เป็นเวลานาน แต่เขาก็ต้องการการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนฝูงด้วย
การใช้ชีวิตที่บ้านเมื่อเป็นโรคสมองเสื่อม
ในระยะแรกๆ ของโรค ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหลายๆ คน สามารถดูแลบ้านของเขาได้เช่นเดียวกับตอนก่อนได้รับการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรคนี้จะมีอาการแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยดูแลบ้านของตนเองได้ยากขึ้น และอาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเมื่อต้องทำกิจกรรมต่างๆ ประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน และการช็อปปิ้ง บ้านของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมอาจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงบ้านส่วนเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างปลอดภัย สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย และใช้ชีวิตอย่างอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การใช้ชีวิตตัวคนเดียวขณะเป็นโรคสมองเสื่อม
เป็นเรื่องที่ดีที่จะให้ผู้ป่วยอยู่อย่างอิสระให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหลายคนยังสามารถดำเนินชีวิตด้วยตนเองต่อไปได้อีกเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่าโรคนี้จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และคุณจะต้องการการสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้คุณรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้ และจะดีกว่าจะได้รับการสนับสนุนตั้งแต่แรกๆ
ให้พูดคุยกับครอบครัว เพื่อนฝูง และบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลคุณเกี่ยวกับวิธีการที่พวกเขาจะช่วยเหลือคุณให้ใช้ชีวิตได้อย่างอิสระ พวกเขาสามารถให้คำแนะนำในการรับมือกับงานในทางปฏิบัติ เช่น การช็อปปิ้ง และแนะนำให้คุณค้นหาบริการสนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยคุณในการจัดการงานบ้าน เช่น บริการซักผ้า และการทำอาหาร
การทำงานเมื่อเป็นโรคสมองเสื่อม
การเผชิญหน้ากับปัญหาในที่ทำงานอาจเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมกังวล ดังนั้นคุณควรพูดกับนายจ้างของคุณทันทีที่รู้สึกว่าตัวเองพร้อม หากคุณตัดสินใจที่จะลาออกจากงาน ให้ขอคำแนะนำเกี่ยวกับเงินบำนาญและผลประโยชน์ที่จะได้รับก่อนการลาออก
คุณสามารถทำงานต่อไปได้หรือกลับไปทำงานได้ โดยขอให้นายจ้างของคุณปรับเปลี่ยนปริมาณงานที่กำลังต้องรับผิดชอบ
การขับรถ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมบางรายอาจต้องการหยุดขับรถเนื่องจากรู้สึกเครียด แต่คนอื่นๆ ยังคงต้องการขับรถอยู่
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมต้องเลิกขับรถเมื่ออาการของเขาไม่ดีพอที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยขณะขับรถ เพื่อปกป้องตัวเอง ผู้โดยสารและผู้ใช้ถนนคนอื่นจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น
เมื่อโรคสมองเสื่อมมีอาการแย่ลง จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับผู้อื่นเปลี่ยนแปลงไป
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจะรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยกจากคนอื่นได้ง่าย ดังนั้นการพบปะผู้คนและการเข้าสังคมจึงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยกระฉับกระเฉงและถูกกระตุ้นอยู่เสมอ
บางคนอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพูดถึงโรคสมองเสื่อมของตนเองหรือของคนในครอบครัว หรืออาจต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่รู้จะต้องทำอย่างไร ถ้าเพื่อนหรือคนในครอบครัวรู้สึกว่าการพูดกับคุณเป็นเรื่องยากแล้วละก็ อย่าปล่อยให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
อันดันแรกแนะนำให้คุณเป็นผู้เริ่มก่อน โดยพูดอธิบายไปเลยว่าคุณยังต้องการพบเจอหน้าพวกเขาอยู่ และพวกเขาสามารถช่วยเหลือคุณได้อย่างไร คุณอาจเข้าร่วมกลุ่มสัมพันธ์ที่ประกอบไปด้วยผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง
หากคุณเป็นโรคสมองเสื่อม สิ่งสำคัญที่สุดคือให้บอกครอบครัวและเพื่อนของคุณ เพราะพวกเขาจะเข้าใจคุณมากขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นกับคุณในตอนนี้ หากคุณรู้สึกว่าการพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวเป็นเรื่องยาก คุณสามารถปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการพูดคุยเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็นกับคนในครอบครัวของคุณ วิธีนี้จะเป็นวิธีที่เป็นประโยชน์เมื่อโรคของคุณมีอาการรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเพราะอะไรคุณถึงลืมเรื่องต่างๆ ได้ตลอดเวลา
ครอบครัว, เพื่อน และผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
ในฐานะที่คุณเป็นสมาชิกในครอบครัว หรือเป็นเพื่อนของผู้ป่วย คุณอาจพบว่าผู้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่สามารถทำงานหรือทำงานในหน้าที่ที่เคยทำได้ เช่น จัดการเกี่ยวกับการจ่ายบิล หรือการทำงานบ้านทั่วไป ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มวางแผนโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังได้รับการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
เราจำเป็นต้องมีการสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการ บอกสิ่งที่ชอบ และสิ่งที่ไม่ชอบ เพราะหากปล่อยให้ผู้ป่วยคิดคนเดียวอาจกลายเป็นปัญหา และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสิ้นหวัง ความรู้สึกนี้จะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีได้ และถ้าพฤติกรรมของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับในสิ่งที่ต้องการ พวกเขาจะยิ่งทำพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีกในอนาคต
หากคุณกำลังดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม คุณอาจรู้สึกเศร้า หรือรู้สึกสูญเสีย แม้ว่าคนที่คุณดูแลจะยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่มีชีวิตอยู่ได้จำกัด (มันจะหยุดคุณไม่ให้ทำในสิ่งที่เคยทำได้ตามปกติ และโรคนี้ไม่สามารถรักษาได้) หรือเป็นเพราะบุคลิกภาพของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นโรคนี้ จึงทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเศร้าหรือสูญเสีย
แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะพบกับอาการเศร้าโศก แต่ในคนที่รู้สึกเศร้าจะมีอารมณ์เศร้าคล้ายกับว่าคนที่คุณกำลังดูแลได้เสียชีวิตลงแล้วจริงๆ
การป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องหยุดสนุกสนานกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงชีวิตเรื่องเพศด้วย ในบางคู่พบว่าพวกเขายังคงมีเพศสัมพันธ์ได้อยู่แม้ว่าความสามารถด้านอื่นๆ จะลดลงแล้วก็ตาม แต่ในบางครั้งโรคสมองเสื่อมสามารถเพิ่มหรือลดความรู้สึกทางเพศได้ ซึ่งคุณหรือคู่ของคุณอาจรู้สึกเป็นทุกข์กับกรณีนี้ได้
ความสัมพันธ์, โรคสมองเสื่อม และบ้านพักคนชรา
การเข้าสู่การดูแลในบ้านพักคนชราถือเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากสำหรับทุกคน แม้ว่าจะยังไม่ได้คำนึงถึงอายุหรือระดับความทุพพลภาพที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลก็ตาม อย่างไรก็ตามการเข้ารับการดูแลในบ้านพักคนชราจะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ได้รับการปกป้องดูแล แต่ไม่สามารถหยุดความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ได้
ถ้าผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้เข้าสู่การดูแลของบ้านพักคนชรา พวกเขายังจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์ที่มีอยู่ให้มีอยู่ต่อไป แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันก็ตาม และผู้ป่วยอาจสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับผู้คนในบ้านพักคนชราด้วย
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมยังต้องมีความสัมพันธ์ด้านความรักกับคู่ของเขาต่อไป ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ก็ตาม ซึ่งความสัมพันธ์ด้านความรักนั้นจะไม่หยุดลงแม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม หรือแม้กระทั่งตอนที่เข้าไปอาศัยในบ้านพักคนชราก็ตาม